DSpace Repository

รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประกอบ กรณีกิจ
dc.contributor.author วรรนิสา หนูช่วย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-02-26T13:40:01Z
dc.date.available 2019-02-26T13:40:01Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61406
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพและความต้องการคือ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 154 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพและความต้องการในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และแบบประเมินรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แบบวัดเจตคติด้านสิ่งแวดล้อม แบบวัดพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และแบบประเมินความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) สื่อสังคมออไลน์ที่ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใช้งานมากที่สุดสามอับดับได้แก่ Youtube (X = 2.71, S.D = 0.56) Facebook Messenger (X = 2.69, S.D. = 0.57) และ Facebook (X = 2.62, S.D. = 0.62) 2) องค์ประกอบของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน กิจกรรมการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน สื่อสังคมออนไลน์ และ การประเมินผล 3) ขั้นตอนของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมการ การอภิปรายประเด็นสิ่งแวดล้อมในชุมชนบริเวณรอบโรงเรียน การวางแผนดำเนินโครงงาน การดำเนินโครงงาน และ การประเมินผล 4) ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ารูปแบบฯ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (X= 4.77, SD.=0.33) 5) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยเจตคติด้านสิ่งแวดล้อม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7) ผลการศึกษาพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดีมาก (X = 2.76, S.D = 0.50) และ 8) ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในระดับมาก (X = 4.37, S.D = 0.52)
dc.description.abstractalternative This study aimed to (1) explore online social media usage among high school students, (2) to develop a learning model using project-based learning with social media and (3) to study the effects of the created learning model using project-based learning with social media approach to improve environmental literacy. The samples were 154 high school students and 7 experts and the subject in model experiment were 20 high school students. The research instruments included a questionnaire on the current situation and needs of high school students in using online social media and a model evaluation form and the data gathering instruments consisted of environmental knowledge test, environmental attitude test, environmental behavior test and student’ s satisfaction toward the model test questionnaire. A summary of the findings is as follows: (1) the top three online social media that the high school students use most often were Youtube (X = 2.71, S.D = 0.56) Facebook Messenger (X = 2.69, S.D. = 0.57) และ Facebook (X = 2.62, S.D. = 0.62); (2) the learning model consisted of 5 components, including instructors, learners, project-based activities, online social media and evaluation; (3) the learning model was composed of 5 steps, namely preparation, discussion, project planning and operation, and evaluation; (4) the experts rated the model’s suitability at the highest level (X = 4.77, SD = 0.33); (5) the experimental result indicated that the subjects had higher environmental knowledge mean scores on the post-test than the pre-test at .05 level of significance; (6) the experimental result indicated that the subjects had higher environmental attitude mean scores on the post-test than on the pre-test at .05 level of significance; (7) the experimental result indicated that the subjects’ environmental behavior was rated at the high level (X = 2.76, S.D = 0.50), and (8) the students’ satisfaction toward the model was found at the high level ( X= 4.37, S.D = 0.52).
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.592
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การสอนแบบโครงงาน
dc.subject สื่อสังคมออนไลน์
dc.subject สิ่งแวดล้อมศึกษา
dc.subject Project method in teaching
dc.subject Social media
dc.subject Environmental education
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.title.alternative Project-based learning with online social media model to enhance environment literacy of upper secondary school students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword การเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
dc.subject.keyword สื่อสังคมออนไลน์
dc.subject.keyword การรู้สิ่งแวดล้อม
dc.subject.keyword project-based learning
dc.subject.keyword online social media
dc.subject.keyword environmental literacy
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.592


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record