DSpace Repository

การเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้โปรแกรมการสนับสนุนอิสระด้วยตนเอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ
dc.contributor.author วัชรินทร์ อินทร์นุ่ม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-09-14T03:09:17Z
dc.date.available 2019-09-14T03:09:17Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63372
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากการใช้โปรแกรมการฝึกการสนับสนุนอิสระด้วยตนเองที่มีต่อความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง มีรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบแผนการทดลอง แบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design : CRD) นักศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน  70 คน ถูกสุ่มเพื่อเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน โดยมีเครื่องมือในการวิจัยคือ โปรแกรมฝึกการสนับสนุนอิสระด้วยตนเอง และแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) จากนั้นการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างช่วงเวลาของการวัดค่าเฉลี่ยของคะแนนของความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one-way repeated measures ANOVA) และสถิติทดสอบทีแบบอิสระ (Independent sample t – test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาในระยะหลังการฝึกและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการได้รับฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F (2,136) = 69.30 , p =.00, ηp 2 = .421)  และ 2) ในระยะหลังการฝึกและระยะติดตามผลกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t (68) = 8.35, p = .00, d = 1.65, t (68) = 7.85, p = .00, d = 1.55 ตามลำดับ)
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to investigate effects of using autonomy support program on undergraduate student engagement. Participants are first year undergraduate students in the second semester of academic year 2018, from national university. The method is experimental research: completely randomized design: CRD. 70 students were randomly assigned into an experimental and a control group, which each group consisting of 35 students. Research instruments included the autonomy support program and a student engagement questionnaire. Data were analyzed by Mean, Standard deviation, One-way repeated measures ANOVA and Independent sample t – test. Findings were as follows : 1) An experimental group gained higher post-test and delayed post-test scores than pre-test scores at .05 level of significance (F (2,136) = 69.30 , p = .00, ηp 2 = .421) 2) At the posttest and delayed posttest phase, an experimental group gained their student engagement scores significantly higher than did the control group (t (68) = 8.35, p =.00, d = 1.65, t (68) = 7.85, p =.00, d = 1.55, accordingly)
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.763
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Psychology
dc.title การเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้โปรแกรมการสนับสนุนอิสระด้วยตนเอง
dc.title.alternative Enhancing Undergraduate Student Engagement Using Autonomy Support Program
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยาการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Piyawan.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.763


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record