DSpace Repository

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC

Show simple item record

dc.contributor.advisor อัมพร ม้าคนอง
dc.contributor.advisor สิริพร ทิพย์คง
dc.contributor.author สุณิสา สุมิรัตนะ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-11-07T09:57:25Z
dc.date.available 2019-11-07T09:57:25Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63870
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (2) เพื่อศึกษาคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนจากผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน แนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้คณิตศาสตร์ คือ แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิและนำไปทดลองใช้นำร่อง และศึกษาคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนโดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา จำนวน 104 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 52 คน และกลุ่มควบคุม 52 คน ใช้เวลาในการทดลอง 45 ชั่วโมง หรือ 15 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดการรู้คณิตศาสตร์ แบบสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาบริบทชีวิตจริง แบบประเมินคุณภาพภาระงาน แบบรายงานความรู้สึกและประเมินตนเอง แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีหลักการสำคัญ คือ (1) หลักการใช้บริบทชีวิตจริงและการเข้าใจปัญหา (2) หลักการคิดค้นคณิตศาสตร์และการสร้างความรู้ (3) หลักการใช้วิธีการแก้ปัญหาที่สร้างขึ้นเองจากการประเมินสถานการณ์ปัญหา (4) หลักการมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสารแลกเปลี่ยนแนวคิดกับผู้อื่น และ (5) หลักการประยุกต์ใช้การแก้ปัญหาที่หลากหลาย ขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นกำหนดปัญหาในบริบทชีวิตจริง (2) ขั้นคิดค้นและลงมือปฏิบัติแก้ปัญหา (3) ขั้นนำเสนอและอภิปรายแลกเปลี่ยน (4) ขั้นสร้างความเป็นแบบแผน และ (5) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้คณิตศาสตร์ 2. ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนพบว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีการรู้คณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีการรู้คณิตศาสตร์ด้านสมรรถนะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนกลุ่มควบคุมมีการรู้คณิตศาสตร์ด้านสมรรถนะหลังเรียนไม่แตกต่างจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการการรู้คณิตศาสตร์ด้านความรู้และด้านสมรรถนะในทิศทางที่ดีขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative This was a research and development study. The main purposes of this study were to (1) develop an instructional process for enhancing mathematical literacy among students in lower-secondary school and (2) study the quality of the developed instructional process on mathematical literacy. Realistic mathematics education and DAPIC problem solving process were used as the conception for developing the instructional process for enhancing mathematical literacy. The developed instructional process was then verified by experts and tried out. The pretest-posttest control group design was used to investigate its effectiveness on mathematical literacy. The sample consisted of 104 ninth grade students from Nawaminthrachinuthit Bodindecha School, Bangkok; 52 students in the experimental group and another 52 in the control group. The experiment took 15 weeks long. Research instruments were tests of mathematical literacy, observation form for realistic problem solving behavior, task assessment form, self-assessment form, and questionnaire for opinions about the instructional process. Data were analyzed through arithmetic mean, standard deviation, t-test, and content analysis. The findings were as follows: 1. Principles of the developed instructional process were (1) using real life problems and understanding the problems, (2) reinventing and constructing the knowledge, (3) assessing problem situations and using self developed model, (4) interacting and communicating with others, and (5) applying of problem solving in various problem situations. Five steps of the instructional process were (1) posing real life problems, (2) solving problems individually or in group, (3) presenting and discussing, (4) developing formal mathematics, and (5) applying knowledge. 2. The results of implementing the developed instructional process were: (1) the mathematical literacy of students in the experimental group after learning through instructional process was significantly higher than that of students in the control group at .05 level of significance, (2) the mathematical literacy of students in the experimental group after learning through instructional process was significantly higher than that of before at .05 level of significance, (3) the mathematical literacy of students in the control group after learning was not difference from that of before at .05 level of significance, and (4) the mathematical literacy of students in the experimental group was improved in positive direction. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) en_US
dc.subject การแก้ปัญหา en_US
dc.subject Mathematics -- Study and teaching (Secondary) en_US
dc.subject Problem solving en_US
dc.title การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC en_US
dc.title.alternative Development of an instructional process for enhancing mathematical literacy of lower-secondary school students by using realistic mathematics education and DAPIC problem solving process en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Aumporn.M@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record