DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ ด้วยการเรียนแบบร่วมมือแบบกรณีศึกษา เพื่อการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับพยาบาลวิชาชีพ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิชุดา รัตนเพียร
dc.contributor.advisor อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
dc.contributor.author วรนุช เนตรพิศาลวนิช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-27T10:47:57Z
dc.date.available 2020-03-27T10:47:57Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740316972
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64469
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
dc.description.abstract วัตถุประสงค์การวิจัยเพี่อ (1) พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บด้วยการเรียนแบบร่วมมือ แบบกรณีศึกษาเพี่อการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับพยาบาลวิชาชีพ (2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บด้วยการเรียนแบบร่วมมือแบบกรณีศึกษา (3) ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นวิธีดำเนินการวิจัยประกอบ ด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการฝึกอบรม ประกอบด้วย 1) การศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 2) กำหนดกรอบแนวคิด 3) ออกแบบและสร้างรูปแบบการฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการฝึกอบรมโดย 1) ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และ 2) ทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรม และขั้นตอนที่ 4 ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง คือ พยาบาลวิชาชีพจากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ และวชิรพยาบาล ที่มีประสบการณ์ทางการพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 8 กลุ่มๆละ 5 คน 6 กลุ่ม และ6 คน2 กลุ่ม ทดลองฝึกอบรมตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็น ระยะเวลา 10 สัปดาห์ ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1 ) องค์ประกอบการฝึกอบรม 10 องค์ประกอบ ได้แก่ เป้าหมาย ชนิดการเรียนรู้ หลักสูตร บทบาทผู้เข้ารับการอบรม บทบาทผู้ดำเนิน การอบรม บทบาทผู้เชี่ยวชาญและผู้สนับสนุนการฝึกอบรม คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บ ปัจจัยสนับสนุน และ การประเมินผล 2) วิธีการฝึกอบรม ประกอบด้วย การปฐมนิเทศ การฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ การประเมินผลการฝึกอบรม และระบบปฏิบัติการที่เป็นแนวทางปฏิบัติในการใช้รูปแบบการฝึกอบรม 3 ) กิจกรรมการอบรม ประกอบด้วย 3.1) กิจกรรมผ่านเว็บด้วยเครื่องมือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กระดานข่าว การพูดคุย สนทนา การค้นหาบนเครือข่าย การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล และ 3.2) กิจกรรมในขั้นเรียน ประกอบด้วย การอภิปราย และการแกปฏิบัติทักษะคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรม ที่พัฒนาขึ้น พบว่า หลังการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพมี การคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มตัวอย่างร่วมมือทำงานกลุ่มผ่านเว็บในสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่ 10 ของการฝึกอบรมในระดับปานกลาง และ ไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรม ที่พัฒนาขึ้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับมาก ในเรื่อง 1) การจัดกิจกรรมการร่วมมือ 2) การปฏิสัมพันธ์กลุ่มผ่านเว็บ 3) การออกแบบรูปแบบการฝึกอบรม และ 4) ความพร้อมของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เนต ในหน่วยงาน
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were (1) to develop the web-based training model with case-based cooperative learning for critical thinking for professional nurses; (2) to study the effects of using the WBT model; and (3) to identify the opinions of the subjects about the WBT model. The research methods comprised of four steps: step 1 : develop the prototype of the WBT model 1) study and analyze the relevant factors 2) Identify model framework 3) design and develop the WBT prototype model , step 2 : determine the quality of the prototype 1) examining the content validity 2) testing the effectiveness of the prototype , step 3 : try-out the model and step 4 : identify subjects’ opinions about the WBT model. The volunteered samples were 42 professional nurses with at least 1 year of nursing experience working at Bangkok Metropolitan Administration Medical College And Vajira Hospital. They were divided into eight groups; six groups with five members and two groups with six members. The subjects participated in the developed Web-Based Training for 10 weeks. The research findings were as follows: 1. The model comprised of three profiles. 1) Training factors include 10 components: goal; learning type; curriculum; role of trainee; role of trainer; role of expert / training facilitator; computer and internet; interaction on web;support factor : and training evaluation. 2) Training methods include: orientation; workshop; training evaluation ; and operating system for implementing training model. 3) Training activities are divided into two parts. They include : 3.1) activities on the web encompass e-mail, webboard 1 chat, search , link, file transfer; and 3.2) activities in the class encompass discussion and practice on computer and internet skills. 2. The try out of the developed WBT indicated that the critical thinking of the subjects after learning from WBT was found statistically significant higher than before learning from WBT at .05 level. The subjects involved in cooperative learning on the web were in moderate level. There was no significant difference between cooperative learning on WBT of the subjects in the first week and the tenth week. 3. The opinions of the subjects about the WBT model indicated that they were highly satisfied with 1) cooperative activities 2) group interactions on web 3) design of the WBT model and 4) the availability of computer and Internet.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การฝึกอบรม -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
dc.subject ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
dc.subject การทำงานกลุ่มในการศึกษา
dc.subject กรณีศึกษา
dc.subject พยาบาล
dc.subject Training -- Computer-assisted instruction
dc.subject Critical thinking
dc.subject Group work in education
dc.subject Case method
dc.subject Nurse
dc.title การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ ด้วยการเรียนแบบร่วมมือแบบกรณีศึกษา เพื่อการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับพยาบาลวิชาชีพ
dc.title.alternative Development of web-based training model with case-based cooperative learning for the developing critical thinking for professional nurses
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record