Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของประชาชนในด้านการการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยวิเคราะห์ (1) การเปิดรับข่าวสารทั่วไป (2) การแสวงหาข่าวสาร (3) การติดต่อสื่อสารกับสื่อบุคคล (4) ความตระหนักในปัญหาการกัดเซาะ นอกจากนี้ยังศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ศักยภาพของผู้นำชุมชนตามทัศนะของประชาชน หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรกับศักยภาพของประชาชนและการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล หาความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพของประชาชนกับการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และ หาความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพของผู้นำชุมชนตามทัศนะของประชาชนกับการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 402 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่า t-test , ค่า f-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) ผลการวิจัยพบว่า : (1) ประชาชนมีการเปิดรับข่าวสารทั่วไป การแสวงหาข่าวสารและการติดต่อสื่อสารกับสื่อบุคคลอยู่ในระดับปานกลางและมีความตระหนักในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลระดับสูง (2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอยู่ในระดับตํ่า (3) ในทัศนะของประชาชน ผู้นำชุมชนมีศักยภาพในระดับปานกลาง (4) ประชาชนที่มีตำแหน่งในชุมชนต่างกัน มีการ เปิดรับข่าวสารทั่วไปแตกต่างกันโดยผู้มีตำแหน่งผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนมีการเปิดรับข่าวสารมากกว่าประชาชนที่ไม่มี ตำแหน่งใดๆ (5) ประชาชนที่มีเพศ, ระดับการศึกษา, ตำแหน่งในชุมชนและอาชีพแตกต่างกัน มีการแสวงหาข่าวสารแตกต่างกัน (6) ประชาชนที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีกาติดต่อสื่อสารกับสื่อไม่แตกต่างกัน (7) ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความตระหนักในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแตกต่างกัน โดยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมีความตระหนักในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ทะเลมากที่สุด (8) ประชาชนที่มีเพศ, อายุ, ตำแหน่งในชุมชนและระยะห่างระหว่างบ้านกับชายฝั่งทะเลแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแตกต่างกัน โดยผู้ชายมีส่วนร่วมมากกว่าผู้หญิง ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 41-50 ปีและมีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีส่วนร่วมมากกว่าประชาชนที่มีอายุ 20-30 ปี ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมมากกว่าประชาชนกลุ่มอื่น และประชาชนที่มีบ้านอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่าประชาชนที่มีบ้านห่างจากชายฝั่งกลุ่มอื่น (9) การเปิดรับข่าวสารทั่วไปมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (10) การแสวงหาข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (11) การติดต่อสื่อสารกับสื่อบุคคลในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (12) ความตระหนักในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (13) ศักยภาพของผู้นำชุมชนตามทัศนะของประชาชนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (14) ตัวแปรที่สามารถอธิบายการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลได้ดีที่สุด คือ การติดต่อสื่อสารกับสื่อบุคคล ศักยภาพของผู้นำชุมชนตามทัศนะของประชาชนและการเปิดรับข่าวสารทั่วไป ตามลำดับ