DSpace Repository

ศักยภาพกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ปากแม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรีถึงปากแม่น้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนวดี บุญลือ
dc.contributor.author วรารัตน์ ตรีธนวัต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-27T14:27:39Z
dc.date.available 2020-03-27T14:27:39Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9741704615
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64475
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของประชาชนในด้านการการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยวิเคราะห์ (1) การเปิดรับข่าวสารทั่วไป (2) การแสวงหาข่าวสาร (3) การติดต่อสื่อสารกับสื่อบุคคล (4) ความตระหนักในปัญหาการกัดเซาะ นอกจากนี้ยังศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ศักยภาพของผู้นำชุมชนตามทัศนะของประชาชน หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรกับศักยภาพของประชาชนและการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล หาความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพของประชาชนกับการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และ หาความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพของผู้นำชุมชนตามทัศนะของประชาชนกับการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 402 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่า t-test , ค่า f-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) ผลการวิจัยพบว่า : (1) ประชาชนมีการเปิดรับข่าวสารทั่วไป การแสวงหาข่าวสารและการติดต่อสื่อสารกับสื่อบุคคลอยู่ในระดับปานกลางและมีความตระหนักในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลระดับสูง (2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอยู่ในระดับตํ่า (3) ในทัศนะของประชาชน ผู้นำชุมชนมีศักยภาพในระดับปานกลาง (4) ประชาชนที่มีตำแหน่งในชุมชนต่างกัน มีการ เปิดรับข่าวสารทั่วไปแตกต่างกันโดยผู้มีตำแหน่งผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนมีการเปิดรับข่าวสารมากกว่าประชาชนที่ไม่มี ตำแหน่งใดๆ (5) ประชาชนที่มีเพศ, ระดับการศึกษา, ตำแหน่งในชุมชนและอาชีพแตกต่างกัน มีการแสวงหาข่าวสารแตกต่างกัน (6) ประชาชนที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีกาติดต่อสื่อสารกับสื่อไม่แตกต่างกัน (7) ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความตระหนักในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแตกต่างกัน โดยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมีความตระหนักในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ทะเลมากที่สุด (8) ประชาชนที่มีเพศ, อายุ, ตำแหน่งในชุมชนและระยะห่างระหว่างบ้านกับชายฝั่งทะเลแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแตกต่างกัน โดยผู้ชายมีส่วนร่วมมากกว่าผู้หญิง ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 41-50 ปีและมีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีส่วนร่วมมากกว่าประชาชนที่มีอายุ 20-30 ปี ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมมากกว่าประชาชนกลุ่มอื่น และประชาชนที่มีบ้านอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่าประชาชนที่มีบ้านห่างจากชายฝั่งกลุ่มอื่น (9) การเปิดรับข่าวสารทั่วไปมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (10) การแสวงหาข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (11) การติดต่อสื่อสารกับสื่อบุคคลในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (12) ความตระหนักในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (13) ศักยภาพของผู้นำชุมชนตามทัศนะของประชาชนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (14) ตัวแปรที่สามารถอธิบายการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลได้ดีที่สุด คือ การติดต่อสื่อสารกับสื่อบุคคล ศักยภาพของผู้นำชุมชนตามทัศนะของประชาชนและการเปิดรับข่าวสารทั่วไป ตามลำดับ
dc.description.abstractalternative The objectives of this survey research were to examine people’s potentials to participate in community problems solving by measuring information exposure, information seeking, communication with interpersonal media and awareness in coastal erosion problem solving. It is also to investigate people’s participation in coastal erosion problem solving; community leader’s potential; to identify the correlation between the demographic factors and people’s potentials and people participation in coastal erosion problem solving; to identify correlation between the people’s potentials and people participation in coastal erosion problem solving and to identify correlation between the community leader’s potentials and people participation in coastal erosion problem solving. Questionnaires were used for data collecting from a total of 402 samples. Frequency, percentage, mean, t-test, f-test, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficients and Multiple Regression Analysis were the statistical techniques used to analyze the data. The results are as follows: (1) Information exposure, information seeking and communication with interpersonal media for coastal erosion problem solving among people are moderate. Awareness toward coastal erosion problem solving is high. (2) People participation in coastal erosion problem solving is low. (3) A potential of the community leader is perceived as moderate. (4) People with different role in the community are significantly different in information exposure. (5) People with different age, educational attainment, role in the community and occupation are significantly different in information seeking. (6) People with different demographic characteristics are not significantly different in communication interpersonal. (7) People with different age are significantly correlated with awareness. (8) People with different sex, age, role in the community and distance between house and coastal are significantly correlated with people participation toward coastal erosion problem solving. (9) information exposure is positively correlated with people participation in coastal erosion problem solving. (10) Information seeking is positively correlated with people participation toward coastal erosion problem solving. (11) Communication with personal media is positively correlated with people participation in coastal erosion problem solving. (12) Awareness is positively correlated with people participation toward coastal erosion problem solving. (13) Community leader’s potential is positively correlated with people participation in coastal erosion problem solving. (14) The variables able to describe the people participation in coastal erosion problem solving are communication with personal media - especially community leaders, potentials of opinion leaders and information exposure.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การป้องกันชายฝั่ง (ชลศาสตร์) -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.subject ชายฝั่ง -- แง่สิ่งแวดล้อม
dc.subject Shore protection -- Citizen participation
dc.subject Coasts -- Environmental aspects
dc.title ศักยภาพกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ปากแม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรีถึงปากแม่น้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
dc.title.alternative People's potentials and participation in coastal erosion problem solving from Petchburi river mouth to Pranburi river mouth
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตรพัฒนาการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record