DSpace Repository

การพัฒนาแบบวัดการคิดวิจารณญาณตามแนวคิดของเดอโบโน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor พวงแก้ว ปุณยกนก
dc.contributor.author สุกัญญา ชาญพนา, 2520-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-01T19:12:50Z
dc.date.available 2020-04-01T19:12:50Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.issn 9741708467
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64592
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดการคิดวิจารณญาณตามแนวคิดของเดอโบโนและหาคุณภาพของแบบวัดการคิดวิจารณญาณที่สร้างขึ้นในด้านความตรง ความเที่ยงและสร้างปรกติวิสัยแบบเปอร์เซ็นต์ไทล์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544 สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 686 คน แบบวัดการคิดวิจารณญาณมีลักษณะแบบอัตนัยประยุกต์ (เอ็ม อี คิว) สร้างโดยใช้แนวคิดหมวกหกใบของเดอโบโน ได้แก่ หมวกสีขาว หมวกสีแดง หมวกสีเหลือง หมวกสีดำ หมวกสีเขียว และหมวกสีฟ้า แบบวัดนี้มี 5 สถานการณ์ มีคำถามทั้งหมด 55 ข้อ คะแนนเต็ม 300 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความตรงเชิงเนื้อหา ทุกข้อกระทงมีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.67-1.00 2. ความตรงเชิงโครงสร้าง โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.30 พบว่า โมเดลการคิดวิจารณญาณมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค – สแควร์เท่ากับ 1407.65 ที่องศาอิสระ 1352 มีความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.14 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.93 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.92 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.033 3. ความเที่ยงของแบบวัดการคิดวิจารณญาณ โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.83 4. มีความเป็นปรนัยในการตรวจ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของผู้ตรวจ 3 ท่าน จำแนกเป็นแต่ละสถานการณ์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าตั้งแต่ 0.538 – 0.844 มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to construct, develop a De Bono critical thinking test for mathayomsuksa one students. The qualities of critical thinking test in terms of validity and reliability were investigated and percentile norm was constructed. The sample consisted of 686 mathayomsuksa one students in 2001 academic year from the school under the Department of General Education, Bangkok. The type of the critical thinking test was Modified Essay Question (MEQ) using the concept of De Bono six thinking hats. They were white hat, red hat, yellow hat, black hat, green hat and blue hat. This test was composed of five situations with 55 items and the total score was 300 The research findings were as follows: 1. The item objective congruence (IOC) of each item was in the range of 0.67 - 1.00. 2. The construct validity was confirmed by using the second order confirmatory factor analysis through LISREL version 8.30. The results indicated that the critical thinking model was fit to the empirical data. The results of the model validation indicated that the chi - square test goodness of fit was 1407.65, df = 1352, p = 0.14, GFI = 0.93, AGFI = 0.92 and RMR = 0.033 3. The reliability of critical thinking test estimated by Alpha Cronbach coefficient was 0.83 4. The objectivity in scoring from 3 raters indicated by the correlation coefficients ranged from 0.538 - 0.844 with 0.01 level of significance
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.732
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เดอ โบโน, เอ็ดเวิร์ด, 1933- en_US
dc.subject ความคิดอย่างมีวิจารณญาณในเด็ก en_US
dc.subject การศึกษา -- แบบทดสอบ en_US
dc.subject De Bono, Edward, 1933- en_US
dc.subject Critical thinking in children en_US
dc.title การพัฒนาแบบวัดการคิดวิจารณญาณตามแนวคิดของเดอโบโน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 en_US
dc.title.alternative A development of the De Bono critical thinking test for mathayomsuksa one students en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การวัดและประเมินผลการศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Puangkaew.P@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2002.732


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record