DSpace Repository

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมองด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์
dc.contributor.author กิตติ ละออกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-05T07:08:35Z
dc.date.available 2020-04-05T07:08:35Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64755
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมองด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และ 2) ศึกษาผลของการใช้ รูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมองด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอนและด้านการรู้ดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การทดลอง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ ชุดกิจกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการรู้ดิจิทัล และแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ  วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมองด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สื่อการสอน (2) ผู้สอน (3) การระดมสมอง (4) อินโฟกราฟิกส์ และ (5) การวัดและประเมินผล มีขั้นตอน 5 ขั้นได้แก่ (1) กิจกรรมการเรียนการสอน และ กระตุ้นด้วยคำถาม (2) กิจกรรมระดมสมองภายในกลุ่ม เพื่อตอบคำถาม (3) กิจกรรมแชร์คำตอบ ค้นหาข้อสรุป (4) กิจกรรมระดมสมองเพื่อ สร้าง และ แชร์ ผลงาน และ (5) สรุปและประเมิน ผลการทดลองใช้รูปแบบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการรู้ดิจิทัลหลังเรียนของกลุ่ม ตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purposes of this study/research were as follows: (1) to create learning package and (2) to study the result from using the learning package. The sample group working with the learning package development consisted experts; instructional media production experts and digital literacy experts. The sample consisted of 43 secondary education students. The employed research instrument were expert interview form, learning package assessment form, learning package, lesson plan, digital literacy skill test, questionnaire about opinions on leaning using the package. Data were analyzed using sample mean, standard deviation and t-test. The findings showed that the learning package consist of 5 compositions: (1) instruction media (2) instructor (3) brainstorming (4) infographics and (5) measurement and assessment in 5 steps as follow: (1) learning activities and encouraging with questions (2) group brainstorming activities (3) activities involving answer sharing and finding conclusions (4) brainstorming activities to create and share works and (5) conclusion and assessment. The secondary school students experienced the learning package using brainstorming techniques through interactive infographics designed had statistically significant higher digital  literacy  skill posttest scores than pretest scores at the 0.05 level. 
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.592
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมองด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
dc.title.alternative Development of a digital literacy learning package using brainstorming technique through interactive infographics design for secondary school students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Pornsook.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.592


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record