DSpace Repository

ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล
dc.contributor.author สุวิมล สาสังข์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-05T07:08:38Z
dc.date.available 2020-04-05T07:08:38Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64761
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม  3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ปีการศึกษา 2561 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมีที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมแบ่งเป็น แผนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมรวมกับเทคนิคการใช้คำถาม จำนวน 10 แผน และแผนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพียงอย่างเดียว จำนวน 10 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง ไม่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to compare the problem-solving ability of grade 3 students before and after the experiment of the experimental group. 2) to compare the problem-solving ability of grade 3 students before and after the experiment of the control group. And 3) to compare the ability to solve problems of grade 3 students between the experimental group and the control group. The subjects were third grade students of a public school. There were 25 students in the experimental groups and another 25 students in the control groups. The research instruments were STEM educational activity using engineering design process include questioning techniques plans and STEM educational activity using engineering plans. The data-collecting instruments were the pretest and posttest of the problem-solving ability test. The collected data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test. The results of the study showed that 1) the problem-solving ability of the student in the experimental group were higher after the students in the control group at a .05 level of significance; 2) the problem-solving ability of the student in the experimental group were higher after the experiment at a .05 level of significance; and 3) the problem-solving ability of students in the experiment group and the control group weren't different.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.970
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษา
dc.title.alternative Effects of stem-education using engineering design process on ploblem solving ability of elementary students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ประถมศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Yurawat.K@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.970


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record