DSpace Repository

การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้คำศัพท์ ด้วยวิธีเน้นคำศัพท์เป้าหมาย และวิธีเน้นคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่าน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุจิตรา สวัสดิวงษ์
dc.contributor.author ปิยรัตน์ จินารัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-15T13:44:53Z
dc.date.available 2020-04-15T13:44:53Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740306853
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65323
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจความรู้ความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีเน้นคำศัพท์เป้าหมายและวิธีเน้นคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่าน กลุ่มตัวอย่างประชาากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จำนวน 88 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีเน้นคำศัพท์เป้าหมาย จำนวน 44 คน และ กลุ่มที่เรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีเน้นคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่าน จำนวน 44คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เอกสารเพื่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2) แบบฝึกความรู้ความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษท้ายชั่วโมง 3) แบบสอบวัดความรู้ความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 ค่าระดับความยากอยู่ในช่วง 0.26-0.67 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.22-0.65 4) แบบสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 ค่าระดับความยากอยู่ในช่วง 0.31-0.80 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.21-0.52 วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบความแตกต่างของค่ามัชณิมเลขคณิตด้วยค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe/ Method) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีเน้นคำศัพท์เป้าหมาย และวิธีเน้นคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่าน มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีเน้นคำศัพท์เป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สูงกว่านักเรียนที่ได้เรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีเน้นคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ ระดับ .05 3. นักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีเน้นคำศัพท์เป้าหมาย มีความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สูงกว่านักเรียนที่ใด้เรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีเน้นคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to compare English reading comprehension ability, English vocabulary knowledge, and English vocabulary retention of mathayom suksa five students between groups learning vocabulary through focus oriented method and context oriented method. The samples were 88 mathayom suksa five students studying at Samsen Wittayalai School. They were divided into two groups: each with 44 students learning vocabulary through focus oriented method and context oriented method. The research instruments were 1) English vocabulary learning worksheets 2) English vocabulary knowledge exercises 3) English vocabulary knowledge test with reliability of 0.86, difficulty levels of 0.26-0.67 and discrimination levels of 0.22-0.65 4) English reading comprehension test with reliability of 0.86, difficulty levels of 0.31-0.80 and discrimination levels of 0.21-0.525 The obtained data were analyzed by means of t-test, one-way analysis of variance, and Scheffe method The results of this study were as follows : 1. Mathayom suksa five students who learned vocabulary through focus oriented method and through context oriented method had no significant differences in English reading comprehension ability at .05 level. 2. Mathayom suksa five students who learned vocabulary through focus oriented method had English vocabulary knowledge higher than those learned vocabulary through context oriented method at .05 level of significance. 3. Mathayom suksa five students who learned vocabulary through focus oriented method had English vocabulary retention higher than those learned vocabulary through context oriented method at .05 level of significance.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ภาษาอังกฤษ -- คำศัพท์
dc.subject ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject ภาษาอังกฤษ -- การอ่าน
dc.subject การอ่านขั้นมัธยมศึกษา
dc.subject English language -- Vocabulary
dc.subject English language -- Study and teaching (Secondary)
dc.subject English language -- Reading
dc.title การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้คำศัพท์ ด้วยวิธีเน้นคำศัพท์เป้าหมาย และวิธีเน้นคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่าน
dc.title.alternative Comparison of English reading comprehension ability and English vocabulary retention of mathayom suksa five students between groups learning vocabulary through focus oriented method and context oriented method
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record