DSpace Repository

ผลของการทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครูระดับประถมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
dc.contributor.author บุณยาพร ฉิมพลอย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-16T08:44:42Z
dc.date.available 2020-04-16T08:44:42Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9741704933
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65336
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษากระบวนการและผลลัพธ์ของการทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีต่อการพัฒนาครูระดับประถมศึกษา เปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอนภายในห้องเรียนของครูนักวิจัยและครูที่ไม่ใช่ครูนักวิจัยในโรงเรียนประถมศึกษา ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครูหลังจากทำวิจัยในชั้นเรียน และอธิบายสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธิวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (informal interview) และแบบเจาะลึก (indept interview) และการวิเคราะห์เอกสาร (documentary analysis) จากกรณีศึกษา 4 กรณีศึกษา แล้วดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การลดทอนข้อมูล และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนเริ่มต้นจากการกำหนดปัญหาวิจัย การวิเคราะห์ปัญหา ออกแบบการวิจัย ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และเขียนรายงานผลการวิจัย ซึ่งผลลัพธ์ของการทำวิจัยในชั้นเรียนจะช่วยให้ครูเกิดการพัฒนากระบวนการคิดหาเหตุผลถึงที่มาของปัญหาต่าง ๆ อันจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้ครูมีความเข้าใจนักเรียน เข้าใจพฤติกรรมของนักเรียน ทำให้ครูมีความสนิทสนมกับนักเรียนมากขึ้น สามารถให้คำแนะนำและส่งเสริมให้นักเรียนแสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการ และความถนัดของนักเรียน โดยครูนักวิจัยจะมีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ วางแผนการสอนจากการวิเคราะห์หลักสูตร ผู้เรียน และบริบทของท้องถิ่น แล้วศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และจึงเขียนแผนการสอน ใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่สนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ ความต้องการพัฒนานักเรียน ความต้องการพัฒนาตนเอง การมีทัศนคติที่ดีต่อการวิจัย มีความประทับใจในการสอนของครูในอดีต การสั่งสมประสบการณ์จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความภาคภูมิใจในผลงาน การได้รับการส่งเสริมจากบุคคลต่าง ๆ ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ ครูขาดความรู้ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และการเขียน ประกอบกับครูไม่มี เวลาทำวิจัยในชั้นเรียน เนื่องมีภาระงานที่รีบผิดชอบมาก ผลของการทำวิจัยในชั้นเรียนยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่าง ๆ ของครู ได้แก่ วางแผนการสอนอย่างเป็นระบบ เปลี่ยนบทบาทจากครูเป็นผู้สอนมาเป็นผู้ร่วมเรียนรู้กับศิษย์ พัฒนานวัตกรรมและสื่ออยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงวิธีการวัดและประเมินผล พัฒนาตนเองทางด้านวิชาการอย่างสมํ่าเสมอ และเป็น กัลยาณมิตรกับศิษย์ สาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพราะจากการทำวิจัยทำให้ครูเกิดการเปลี่ยนเปลงกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล จากข้อมูลและการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล ก่อให้เกิดมุมมองใหม่และมีความเข้าใจนักเรียนและตนเองมากขึ้น
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to study the process aid results of conducting classroom action research on behavioral change of elementary school teachers, compare classroom instructional arrangement between researcher-teachers and non-researcher teachers, study factors affecting conduction of the classroom action research, and analyze behavioral change of researcher-teachers and its rational. The qualitative research approach was used through the process of participant observation, informal interview, indepth interview, and documentary analysis from four case studies. The data were analized by the method of content analysis, reduction of data and inductive method. The research results were as follow. The process of classroom action research began from focusing in a problem, analyzing the problem , designing the research procedure, solving the problem through data collection, data analysis, and writing to report research results. The research results supported teachers to develop their thinking process of problems and causes which effecting quality of students and their instruction. Therefore, the teachers were better understood students’ behaviors and able to support effective learning according to aptitude and interest of their students. Consequently, the researcher-teachers provided systematically instruction. They analyzed curriculum, students, and local context. They studied and wrote the teaching plan. They used the process of action research as a mean for developing their working effectively. The supported factors were needs to developing students and oneselfs, the positive attitude toward research, good impression of their former teachers, learning experience, pride in research output and supports from colleques. The obstracle factors were lack of time and knowledge about research and development innovation. The results of conducting classroom action research effected the behavioral change of teachers toward systematic planning, participatory learning, mentors’ roles, innovation development, authentic assessment, and professional development. The important causes for the teacher behavioral change were the changes in the teachers’ thinking system that expanded their understanding about their student’s learning and them self.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject วิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา
dc.subject ครูประถมศึกษา
dc.subject Action research in education
dc.subject Elementary school teachers
dc.title ผลของการทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครูระดับประถมศึกษา en_US
dc.title.alternative Results of conducting classroom action research on behavioral change of elementary school teachers en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิจัยการศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record