DSpace Repository

การสื่อสารกับการพัฒนาประชาคมตลาดน้ำตลิ่งชัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปาริชาต สถาปิตานนท์
dc.contributor.author ปิยนุช พุทธรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-22T08:00:19Z
dc.date.available 2020-04-22T08:00:19Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741721013
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65453
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2545 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อพัฒนาการของประชาคมตลาดน้ำตลิ่งชัน และกระบวนการสื่อสารของประชาคมตลาดน้ำตลิ่งชันใน 3 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์ทั่วไป สถานการณ์ที่มีความ ขัดแย้ง และสถานการณ์ที่เป็นกิจกรรมเชิงรุก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่เอื้อต่อพัฒนาการของประชาคมตลาดน้ำตลิ่งชัน ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ ลักษณะเฉพาะของแกนนำริเริ่ม มุมมองของสมาชิกต่อท้องถิ่น การกระตุ้นจากบุคคลภายนอก ลักษณะของช่องทางการสื่อสารประเด็นการสื่อสารภายในตลาดน้ำตลิ่งชัน และนโยบายของรัฐเปิดโอกาสให้คนมีส่วนร่วม 2. กระบวนการสื่อสารของประชาคมตลาดน้ำตลิ่งชันใน 3 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์ทั่วไป สถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง และสถานการณ์ที่เป็นกิจกรรมเชิงรุก พบว่า 2.1 สถานการณ์ทั่วไป ได้แก่ การแจ้งประกาศของประชาคม การชี้แจงทำความเข้าใจกับสมาชิกประชาคม การเลือกตั้งคณะกรรมการประชาคม และการประจุมระดมสมอง โดยมีแกนนำประชาคมเป็นผู้สื่อสารกับสมาชิกประชาคมในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไปของประชาคม โดยใช้การสื่อสารระหว่างบุคคลแบบปากต่อปาก การประชุมกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ การใช้สื่อบุคคล และการใช้สื่อเฉพาะกิจ 2.2 สถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง ได้แก่ ผู้ค้าตลาดน้ำทะเลาะวิวาทกันเอง ผู้ค้าตลาดน้ำทะเลาะกับนักท่องเที่ยว คำร้องเรียนจากนักท่องเที่ยว และผู้ค้าไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของประชาคม โดยแกนนำประชาคมทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกประชาคมและนักท่องเที่ยว โดยใช้การสื่อสารระหว่างบุคคลแบบตัวต่อตัว การประกาศตักเตอนผ่านเครื่องกระจายเสียง และการติดรายชื่อประจานที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ 2.3 สถานการณ์ที่เป็นกิจกรรมเชิงรุก ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ตลาดน้ำตลิ่งชัน การจัดทำตลิ่งชันทัวร์และการจัดงานเทศกาลและประเพณีประจำปีของเขตตลิ่งชัน โดยแกนนำประชาคมประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์สำนักงานเขตตลิ่งชัน ในการกำหนดประเด็นข่าวสารที่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กับสาธารณชน โดยใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ได้แก่ สื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ และสื่ออินเทอร์เนต
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to study the factors which affect the development of civic group of Talingchan floating market and communication process of civic group of Talingchan floating market by means of qualitative research. Non - participation observation and in-depth interview with 20 key informants were used in this study. The results of the research are as follows : 1. There are 6 communication factors that support the development of civic group of Talingchan floating market. Those factors can be categorized as follows : (1) The specific characteristics of the leaders; (2) The idea of members to their community; (3) Motivation of outsiders; (4) The nature of communication channels; (5) communication issues in Talingchan floating market; (6) Government policy that give a chance for people participation. 2. The communication process of civic group of Talingchan floating market is based on 3 kinds of situations, which are “general situation” “conflict situation” and “promotion situation”. 2.1 General situation is about informing notices of civic group; making understanding with civic group's members; electing of civic group's committee; and brainstorming. Leaders communicate with members about general situation of civic group by using interpersonal communication, group meetings, individual media, and specific media. 2.2 Conflict situation is about quarrel among merchants; quarrel between merchants and tourists; tourists’ complaints; and merchants’ regulation deviation. Leaders take a role of a reconciliator and a problem - solver by using interpersonal communication, warning notification through community broadcasting tower, and posting on board names of the merchants who do not obey regulations. 2.3 Promotion situation is about public relations on Talingchan floating market, management of Talingchan tour, and management of Talingchan district’s festival and annual tradition. Leaders coordinate with district public relations authorities in order to set news agenda to be publicized. They use various communication channels which are mass media, individual media, specific media, and the internet. Subject การสื่อสาร
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.507
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การสื่อสาร en_US
dc.subject การพัฒนาชุมชน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน en_US
dc.subject การประชาสัมพันธ์ en_US
dc.subject ตลาดน้ำตลิ่งชัน (กรุงเทพฯ) en_US
dc.subject Communication en_US
dc.subject Public relations en_US
dc.subject Community development -- Citizen participation en_US
dc.subject Talingchan floating market (Bangkok) en_US
dc.title การสื่อสารกับการพัฒนาประชาคมตลาดน้ำตลิ่งชัน en_US
dc.title.alternative Communication and development of civic group of Talingchan floating market en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิเทศศาสตรพัฒนาการ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Parichart.S@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2002.507


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record