DSpace Repository

สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาปฐมวัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร
dc.contributor.author ปิยวรรณ คงวัดใหม่
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-08T07:25:47Z
dc.date.available 2020-05-08T07:25:47Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741758464
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65679
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาปฐมวัย ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดสังกัดกรมการศาสนา และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนที่จัดการศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารและครูอนุบาล กลุ่มละ 280 คน ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดและผู้บริหารและครูอนุบาล กลุ่มละ 17 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน รวมทั้งสิ้น 594 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต จากผลการวิจัย พบว่า 1. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดสังกัดกรมการศาสนา 1) ด้านปรัชญาและเป้าหมายสถานศึกษา เพื่อพัฒนาเด็ก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความดีตามหลักพุทธธรรม 2) ด้านนโยบายการจัดการศึกษา มุ่งเตรียมความพร้อมของเด็กทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา 3) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ยึดหลักการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม 4) ด้านการเตรียมบุคลากร พิจารณาครูที่ปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่เด็ก 5) ด้านการจัดการเรียนการสอน เน้นกิจกรรมที่เด็กได้ฝึกคิดพิจารณาฝึกสมาธิ และลงมือปฏิบัติจริง 6 )ด้านการใช้ สื่อการเรียนการสอน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 7) ด้านการวัคและประเมินผล ใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรม 8) ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยการนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นวิทยากร และพระสงฆ์มีบทบาทเป็นสื่อกลางระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ปัญหาที่พบคือ ผู้บริหารไม่สามารถดำเนินการตามปรัชญาและเป้าหมายสถานศึกษาและนโยบายการจัดการศึกษาได้ทั้งหมด สถานศึกษาขาดงบประมาณในการปรับปรูงสภาพแวดล้อม ขาดวิทยากรที่มีความรู้ในการจัดการศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนา ขาดงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการจัดหาสื่อการเรียนการสอน ผู้ปกครองไม่มีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล และชุมชนไม่เข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนา 2. โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนที่จัดการศึกษาตามแนวพระพุทธคาสนา 1) ด้านปรัชญาและเป้าหมายสถานศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กทังร่างกายและจิตใจนำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 2) ด้านนโยบายการจัดการศึกษา มุ่งเตรียมความพร้อมของเด็กทุกด้าน ทังด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา 3) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ยึดหลักการจัดที่สะอาด สงบ และปลอดโปร่ง 4) ด้านการเตรียมบุคลากร พิจารณาครูที่มีความเป็นกัลยาณมิตรกับเด็ก 5) ด้านการจัดการเรียนการสอน เน้นกิจกรรมที่พัฒนาเด็ก ทั้งกาย วาจา และใจ 6) ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ใช้สื่อที่ช่วยพัฒนาเด็กครบทุกด้าน 7) ด้านการวัดและประเมินผล ใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมและการสนทนา 8) ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน นำชุมชนเช้ามามีส่วนร่วมโดยการนิมนต์พระสงฆ์มาแสดงธรรมเทศนาในโรงเรียน ปัญหาที่พบคือ ผู้บริหารไม่สามารถดำเนินการตามปรัชญาและเป้าหมายสถานศึกษาและนโยบายการจัดการศึกษาได้ทังหมด ปัญหาส่วนน้อยที่พบคือ สถานศึกษาขาดงบประมาณในการปรับปรูงสภาพแวดล้อม ครูขาดแหล่งความรู้ในการพัฒนาตนเอง ไม่สามารถประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธ ศาสนาเข้ามาใช้ในกิจกรรมประจำวันได้ ขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนที่จำเป็นในการจัดกิจกรรม ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวัดและประเมินผล และชุมชนไม่มีเวลาให้กับโรงเรียน
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study state and problems of Buddhism-based educational practice in early childhood institutions in the preschool child care centers in temples under the jurisdiction of the Department of Religious Affairs and in schools under the jurisdiction of the Office of Private Education Commission of Buddhism-based educational practice. The samples of this research were administrators and preschool teachers under the preschool child care centers in temples, each of 280 ; and administrators and preschool teachers in schools under the jurisdiction of the Office of Private Education Commission each of 17 ; the total of 594 subjects. The research tools were questionnaire, interview and observation forms. From the research, it was found that : 1. Concerning the preschool child care centers in temples under the jurisdiction of the Department of Religious Affairs : 1) Philosophy and goals were to develop the child based on innately good Buddhist concepts. 2) Educational policy was to prepare readiness in all areas of body, mind, social, and intelligence. 3) Environmental arrangement concerned the enhancement of moral and ethics. 4) Personnel preparation considered the teachers who cultivated good character in both moral and ethics to the child. 5) Instructional organization was to emphasize the activities for the child to think wisely, meditate arid practice. 6) Implementation of instructional media considered individual differences. 7) Assesment and evaluation used behavioral-observing method. 8) Developing relationships with community was to involve community into partnership by inviting monks as resource persons, and the monks had a role as mediator among home, temple, and school. Problems found included : Administrators were unable to follow the whole philosophy and goals of the institution and its educational policy, institutions were lack of budget for organizing environment, instructional organization and provision of instructional media, and lack of resource persons who were knowledgeable and competence ; parents lacked of involvement in assesment and evaluation, and community were lack of an understanding on Buddhism- based educational practice. 2. Concerning the schools under the jurisdiction of the Office of Private Education Commission of Buddhism-based educational practice : 1) Philosophy and goals were to develop the child both body and mind to be a perfect human. 2) Educational policy was to prepare readiness in all areas of body, mind, social and intelligence. 3) Environmental arrangement concerned cleanliness, calm and spacious. 4) Personnel preparation considered the teachers with Kalyanamittara. 5) Instructional organization was to emphasize activities for the development of body, speech and mind. 6) Implementation of instructional media was to develop the child in all areas. 7) Assesment and evaluation used behavioral-observing method, and discussion. 8) Developing relationships with community was to involve community into partnership by inviting the monks to give a sermon in schools. Problems found included : Administrators were unable to follow the whole philosophy and goals of the institution and its educational policy. Minor problems found included : Institutions were lack of budget for environmental improvement, teacher were lack of resources for self improvement, unable to apply the Buddhist concepts for daily activities, had not enough necessary instructional media in arranging activity, were lack of knowledge and understanding in assessment and evaluation, and community had no time for schools.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject พุทธศาสนา en_US
dc.subject การศึกษาปฐมวัย en_US
dc.subject พุทธศาสนากับการศึกษา en_US
dc.subject Buddhism en_US
dc.subject Early childhood education en_US
dc.subject Buddhism and education en_US
dc.title สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาปฐมวัย en_US
dc.title.alternative State and problems of Buddhism-based educational practice in early childhood institutions en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การศึกษาปฐมวัย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Udomluck.K@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record