DSpace Repository

ผลของการเชื่อมโยงแบบข้อความและแบบภาพในการเรียนการสอนผ่านเว็บ วิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความคงทนในการจำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor บุญเรือง เนียมหอม
dc.contributor.author ปวีณา แช่มช้อย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-25T04:31:01Z
dc.date.available 2020-05-25T04:31:01Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740312608
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65986
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคงทนในการจำของนักเรียนที่มีรูปแบบการคิดต่างกันที่ใด้รับการเรียนการสอนผ่านเว็บที่มีการเชื่อมโยงแบบข้อความและแบบภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการให้นักเรียนทั้งหมดทำแบบทดสอบเดอะ กรุปเอมเบดเดดฟิเกเกอร์เทสท์ (The Group Embedded Figures Test : GEFT) ของโอลท์แมน แรสกินและวิทกิน เพื่อแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฟิล์ดดิเพนเดนท์(Field Dependent : FD) และกลุ่มฟิล์ดอินดิเพนเดนท์ (Field Independent : Fl) มากลุ่มละ 40 คนจนได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองจำนวนทั้งสิ้น 80 คน แล้วจึงแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน ดังนี้ 1) ผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FD เรียนจากบทเรียนที่มีการเชื่อมโยงแบบข้อความ 2) ผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FD เรียนจากบทเรียนที่มีการเชื่อมโยงแบบภาพ 3) ผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FI เรียนจากบทเรียนที่มีการเชื่อมโยงแบบข้อความ 4) ผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FI เรียนจากบทเรียนที่มีการเชื่อมโยงแบบภาพ นำผลที่ได้จากการทดลองมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิ เคราะห์ความ แปรปรวนสองทาง (Two - Way AN OVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน เมื่อเรียนด้วยเว็บวิชาวิทยาศาสตร์มีความคงทนในการจำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. นักเรียนที่เรียนด้วยเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีการเชื่อมโยงต่างกันมีความคงทนในการจำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดต่างกันเมื่อเรียนด้วยเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีการเชื่อมโยงต่างกันไม่มีผลร่วมกันต่อความคงทนในการจำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study the retention of the students with different cognitive styles after learning from web - based instruction with text links and image links. The samples of this research were mathayom suksa two students in Suwannaramwitthayakom School in Bangkok, which were examined by The Group Embedded Figures Test (GEFT) and were randomized from students with Field Dependent group and students with Field Independent group, each group consisted of 40 students. The samples were divided into four experimental groups, each group consisted of 20 students as follows : 1) students with FD studying from text links, 2) students with FD studying from image links, 3) students with FI studying from text links, and 4) students with FI studying from image links. The data were analyzed by using Two - Way ANOVA. The results were as follows : 1. There was significant different upon retention of students with different cognitive styles learning from web - based instruction in science subject at 0.05. 2. There was significant different upon retention of students learning from web – based instruction เท science subject with different links at 0.01. 3. There was no interaction between cognitive styles and links in web - based instruction in science subject upon retention at 0.05.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การเรียนการสอนผ่านเว็บ en_US
dc.subject แบบการคิด en_US
dc.subject การรู้จำ (จิตวิทยา) en_US
dc.subject Web-based instruction
dc.subject Cognitive styles
dc.subject Recognition ‪(Psychology)‬
dc.title ผลของการเชื่อมโยงแบบข้อความและแบบภาพในการเรียนการสอนผ่านเว็บ วิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความคงทนในการจำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน en_US
dc.title.alternative Effects of text links and image links in Web-bases instruction in science subject upon retention of mathayom suksa two students with different cognitive styles en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline โสตทัศนศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Boonruang.N@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record