DSpace Repository

ค่านิยมของวัยรุ่นไทยเกี่ยวกับความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
dc.contributor.advisor สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
dc.contributor.author ศิริพิชญ์ กฤษณะเศรณี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-27T04:39:49Z
dc.date.available 2020-05-27T04:39:49Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741758804
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66033
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาค่านิยมของวัยรุ่นไทยเกี่ยวกับความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน และเปรียบเทียบค่านิยมระหว่างวัยรุ่นไทยที่มีช่วงวัยและเพศที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร และในต่างจังหวัดทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวนทั้งสิ้น 540 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็แบบสอบถาม มาตราประเมินค่า (Rating Scale) ในเรื่องค่านิยมของวัยรุ่นไทยเกี่ยวกับความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที่ (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และสถิตทดสอบความแปรปรวนแบบสองทาง (Twoway ANOVA) ระหว่างตัวแปรเพศและช่วงวัย ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ในเรื่องค่านิยมด้านความรัก วัยรุ่นเห็นด้วยกับข้อความที่ว่า คนรักอาจมาจากการเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันมาก่อนเป็นอันดับแรก แต่ไม่ด้วยเป็นอันดับแรก คือ การมีเพศสัมพันธ์กับคนรักแสดงถึงความรักแท้ส่วนในเรื่องของคู่ครอง เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า การเลือกคู่ครองควรมาจากความรัก ความเข้าใจเป็นอันดับแรก แต่ที่ไม่เห็นด้วยเป็นอันดับแรก คือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไปด้วยกันได้เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการใช้เวลาคบหาก่อนแต่งงาน และในด้านการแต่งงาน เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า การแต่งงานที่ดีควรมาจากความรัก ความเข้าใจ และการยินยิมทั้งสองฝ่าย เป็นอันดับแรก แต่ที่ไม่เห็นด้วยเป็นอันดับแรก คือ การอยู่ก่อนแต่งเป็นสิ่งที่ทันสมัยของวัยรุ่นปัจจุบัน 2. ค่านิยมเกี่ยวกับความรัก คู่ครอง และการแต่งงานของวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวัยรุ่นหญิงมีค่านิยมด้านความรัก คู่ครอง และการแต่งงานสูงกว่าวัยรุ่นชาย 3. ค่านิยมเกี่ยวกับความรัก ระหว่างวัยรุ่นตอนต้นและตอนกลาง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวัยรุ่นตอนกลางมีค่านิยมด้านความรักสูงกว่าวัยรุ่นตอนต้น 4. ค่านิยมเกี่ยวกับคู่ครองและการแต่งงานระหว่างวัยรุ่นตอนกลางและวัยรุ่นตอนต้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผลการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและช่วงวัย ในค่านิยมเกี่ยวกับความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน พบว่า เฉพาะค่านิยมในเรื่องคู่ครองที่มีปฏิสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ในช่วงวัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นหญิงมีค่านิยมสูงกว่าวัยรุ่นชายและปริมาณความแตกต่างดังกล่าว เพิ่มขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนกลาง
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were to examine the values of Thai adolescents concerning love, spouse and marriage, and compare the values of adolescents with different age and gender. The researcher conducted the study by collecting data from 540 students selected from sampling groups of students studying in junior high school and senior high school เท Bangkok area and another provinces in four regions of Thailand. A questionnair contained Likert seal to assess values concerning love, spouse and marriage were used. Data analysis was calculated by t-test and two-way ANOVA. The research findings were as follow: 1. In case of values of love, the adolescents agreed with the context that' love could be develop from friendship but strongly disagreed that if any adolescent has perspective that having a love affair is demonstrating the true love. In case of values of spouse, the adolescents agreed with the context that' to select the spouse should be a fruit of love and understanding' and strongly disagreed that if any spouse has perspective that getting along well with love affair of each other is more important than having good times together before marriage. In case of values of marriage: the adolescents agreed with the context that’ good marriage should be fruitful of love and understanding including submission from each side' and strongly disagreed that living together before marriage is a mordern life style. 2. The study found that values of love, spouse and marriage were significantly different at .05 level between female and male adolescents. The female adolescents had higher values of love, spouse and marriage higher than male adolescents. 3. The values of love between the adolescents at early and middle stages was significantly different at .05 level. The middle stage had values of love higher than the early stage. 4. There were no significantly different between adolescents at early and middle stage on values of spouse and marriage. 5. The interaction between sex and age level on values concerning spouse was significantly at .05 level. At the early stage, The female adolescents had higher values than the male adolescents, and the difference was greater at the middle age level.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ค่านิยม en_US
dc.subject ความรักในวัยรุ่น en_US
dc.subject คู่สมรส en_US
dc.subject การสมรส en_US
dc.subject Values en_US
dc.subject Love in adolescence en_US
dc.subject Spouses en_US
dc.subject Marriage en_US
dc.title ค่านิยมของวัยรุ่นไทยเกี่ยวกับความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน en_US
dc.title.alternative Values of Thai adolescents concerning love, spouse and marriage en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาการศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor Suwatana.S@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record