Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: 1. เพื่อสร้างรูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา 2. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาที่สร้างขึ้นเปรียบเทียบกับการใช้รูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาที่ใช้กันอยู่ตามปกติ 3. เพื่อนำผลที่ได้จากการทดลองมาสรุปและปรับปรุงสร้างรูปแบบการเผยแพร่ที่มีประสิทธิภาพต่อไป สมมติฐานการวิจัย: การเผยแพร่นวัตกรรมแบบใช้การบังคับใช้ ประกอบกับการจัดการอบรมให้ความรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับด้านนวัตกรรมและการใช้นวัตกรรม ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กันโดยทั่วไป ไม่มีผลต่อการยอมรับใช้นวัตกรรมที่แท้จริง แต่รูปแบบการเผยแพร่แบบผสมที่สร้างขึ้นจากทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา มีผลต่อการยอมรับใช้นวัตกรรมที่แท้จริง วิธีดำเนินการวิจัย: 1. ศึกษาทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และรูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา จากตำรา งานวิจัย เอกสารต่าง ๆ และศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างและใช้ชุดการสอน ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในงานวิจัยครั้งนี้ 2. สร้างรูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาแบบผสม 3. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 3.1 แบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้ารับการเผยแพร่นวัตกรรมที่ดัดแปลงมาจากแบบสังเกตพฤติกรรมของ Wisconsin Bahavior Rating Scale (WBRS) 3.2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำให้นวัตกรรมเป็นที่ยอมรับของประชากรแบบสอบถามนี้สร้างขึ้นตามแบบตารางประเมินค่าของ B.W. Tuckman 3.3 สร้างแนวการสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ขณะติดตามผลในขั้นการย้ำการยอมรับนวัตกรรม 4. เตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการเผยแพร่ขั้นการทำให้นวัตกรรมเป็นที่ยอมรับของประชากร 5. ประชุมบุลากรที่จะต้องทำหน้าที่เผยแพร่นวัตกรรม เพื่อทบทวนหลักการและวัตถุประสงค์ของการวิจัย ตลอดจนแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการเผยแพร่และเก็บข้อมูล 6. เลือกตัวอย่างประชากร โดยวิธีการเลือกอย่างเจาะจงได้ตัวอย่างประชากรจากโรงเรียน 16 โรง จากจำนวน 1147 โรง 7. เผยแพร่การสร้างและใช้ชุดการสอน โดยวิธีการเผยแพร่แบบผสมขั้นที่ 1, 2 และ 3 8. แยกกลุ่มตัวอย่างประชากรตามความเป็นไปได้ของการยอมรับนวัตกรรม โดยใช้แบบวัด WBRS และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ได้ตัวอย่างประชากร 2 กลุ่ม ๆ ละ 8 โรง แล้วจึงใช้การสุ่มเลือกตัวอย่างประชากรจากทั้งสองกลุ่ม เพื่อแยกเป็นกลุ่มที่ได้รับการเผยแพร่ในขั้นการย้ำการยอมรับและกลุ่มที่ไม่ได้รับการเผยแพร่ในขั้นการย้ำการยอมรับ โดยที่กลุ่มแรกมี 4 โรง และกลุ่มที่สอง มี 12 โรง 9. ใช้การเผยแพร่แบบผสมในขั้นที่ 4 (การย้ำการยอมรับนวัตกรรม) กับกลุ่มที่ได้รับเผยแพร่แบบผสมในขั้นที่ 4 ในระยะ 1, 3 และ 5 เดือน หลังการอบรม 10. เก็บข้อมูลลักษณะการยอมรับใช้นวัตกรรมของกลุ่มที่ไม่ได้รับการเผยแพร่แบบผสมในขั้นที่ 4 ระยะเดือนที่ 5 หลังจากการอบรม 11. เปรียบเทียบข้อมูลลักษณะการยอมรับใช้นวัตกรรมระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเผยแพร่แบบผสมในขั้นที่ 4 กับกลุ่มที่ไม่ได้รับการเผยแพร่แบบผสมในขั้นที่ 4 การเก็บการเปรียบเทียบข้อมูลนี้ใช้วิธีการ Natural Study ผลการวิจัย: 1. โรงเรียนที่ได้รับการเผยแพร่แบบผสม จะมีการยอมรับใช้ชุดการสอนดีกว่า โรงเรียนที่ได้รับการเผยแพร่แบบปกติ 2. โรงเรียนที่ได้รับการเผยแพร่แบบเดียวกัน (แบบการเผยแพร่แบบผสมหรือแบบการเผยแพร่แบบปกติ) จะมีการยอมับใช้นวัตกรรมต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของ contexts ของโรงเรียนนั้น ๆ ซึ่งได้แก่ฐานะทางเศรษฐกิจของโรงเรียน ลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมของครูและนักเรียน การศึกษาของครู สถานที่ตั้งของโรงเรียน ลักษณะการสนับสนุนของผู้บริหาร และจำนวนของครูผู้เข้ารับการอบรม 3. รูปแบบการเผยแพร่แบบผสมที่สร้างขึ้นนั้น จะต้องได้รับการปรับปรุงในขั้น 3.1 การศึกษาปัญหาในชุมชน 3.2 การทำให้นวัตกรรมเป็นที่ยอมรับของประชากร 3.3 การย้ำการยอมรับนวัตกรรม