dc.contributor.author |
สำลี ทองธิว |
|
dc.contributor.author |
สมเชาว์ เนตรประเสริฐ |
|
dc.contributor.author |
สมพงษ์ จิตระดับ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2008-04-17T10:11:45Z |
|
dc.date.available |
2008-04-17T10:11:45Z |
|
dc.date.issued |
2527 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6604 |
|
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: 1. เพื่อสร้างรูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา 2. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาที่สร้างขึ้นเปรียบเทียบกับการใช้รูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาที่ใช้กันอยู่ตามปกติ 3. เพื่อนำผลที่ได้จากการทดลองมาสรุปและปรับปรุงสร้างรูปแบบการเผยแพร่ที่มีประสิทธิภาพต่อไป สมมติฐานการวิจัย: การเผยแพร่นวัตกรรมแบบใช้การบังคับใช้ ประกอบกับการจัดการอบรมให้ความรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับด้านนวัตกรรมและการใช้นวัตกรรม ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กันโดยทั่วไป ไม่มีผลต่อการยอมรับใช้นวัตกรรมที่แท้จริง แต่รูปแบบการเผยแพร่แบบผสมที่สร้างขึ้นจากทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา มีผลต่อการยอมรับใช้นวัตกรรมที่แท้จริง วิธีดำเนินการวิจัย: 1. ศึกษาทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และรูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา จากตำรา งานวิจัย เอกสารต่าง ๆ และศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างและใช้ชุดการสอน ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในงานวิจัยครั้งนี้ 2. สร้างรูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาแบบผสม 3. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 3.1 แบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้ารับการเผยแพร่นวัตกรรมที่ดัดแปลงมาจากแบบสังเกตพฤติกรรมของ Wisconsin Bahavior Rating Scale (WBRS) 3.2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำให้นวัตกรรมเป็นที่ยอมรับของประชากรแบบสอบถามนี้สร้างขึ้นตามแบบตารางประเมินค่าของ B.W. Tuckman 3.3 สร้างแนวการสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ขณะติดตามผลในขั้นการย้ำการยอมรับนวัตกรรม 4. เตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการเผยแพร่ขั้นการทำให้นวัตกรรมเป็นที่ยอมรับของประชากร 5. ประชุมบุลากรที่จะต้องทำหน้าที่เผยแพร่นวัตกรรม เพื่อทบทวนหลักการและวัตถุประสงค์ของการวิจัย ตลอดจนแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการเผยแพร่และเก็บข้อมูล 6. เลือกตัวอย่างประชากร โดยวิธีการเลือกอย่างเจาะจงได้ตัวอย่างประชากรจากโรงเรียน 16 โรง จากจำนวน 1147 โรง 7. เผยแพร่การสร้างและใช้ชุดการสอน โดยวิธีการเผยแพร่แบบผสมขั้นที่ 1, 2 และ 3 8. แยกกลุ่มตัวอย่างประชากรตามความเป็นไปได้ของการยอมรับนวัตกรรม โดยใช้แบบวัด WBRS และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ได้ตัวอย่างประชากร 2 กลุ่ม ๆ ละ 8 โรง แล้วจึงใช้การสุ่มเลือกตัวอย่างประชากรจากทั้งสองกลุ่ม เพื่อแยกเป็นกลุ่มที่ได้รับการเผยแพร่ในขั้นการย้ำการยอมรับและกลุ่มที่ไม่ได้รับการเผยแพร่ในขั้นการย้ำการยอมรับ โดยที่กลุ่มแรกมี 4 โรง และกลุ่มที่สอง มี 12 โรง 9. ใช้การเผยแพร่แบบผสมในขั้นที่ 4 (การย้ำการยอมรับนวัตกรรม) กับกลุ่มที่ได้รับเผยแพร่แบบผสมในขั้นที่ 4 ในระยะ 1, 3 และ 5 เดือน หลังการอบรม 10. เก็บข้อมูลลักษณะการยอมรับใช้นวัตกรรมของกลุ่มที่ไม่ได้รับการเผยแพร่แบบผสมในขั้นที่ 4 ระยะเดือนที่ 5 หลังจากการอบรม 11. เปรียบเทียบข้อมูลลักษณะการยอมรับใช้นวัตกรรมระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเผยแพร่แบบผสมในขั้นที่ 4 กับกลุ่มที่ไม่ได้รับการเผยแพร่แบบผสมในขั้นที่ 4 การเก็บการเปรียบเทียบข้อมูลนี้ใช้วิธีการ Natural Study ผลการวิจัย: 1. โรงเรียนที่ได้รับการเผยแพร่แบบผสม จะมีการยอมรับใช้ชุดการสอนดีกว่า โรงเรียนที่ได้รับการเผยแพร่แบบปกติ 2. โรงเรียนที่ได้รับการเผยแพร่แบบเดียวกัน (แบบการเผยแพร่แบบผสมหรือแบบการเผยแพร่แบบปกติ) จะมีการยอมับใช้นวัตกรรมต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของ contexts ของโรงเรียนนั้น ๆ ซึ่งได้แก่ฐานะทางเศรษฐกิจของโรงเรียน ลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมของครูและนักเรียน การศึกษาของครู สถานที่ตั้งของโรงเรียน ลักษณะการสนับสนุนของผู้บริหาร และจำนวนของครูผู้เข้ารับการอบรม 3. รูปแบบการเผยแพร่แบบผสมที่สร้างขึ้นนั้น จะต้องได้รับการปรับปรุงในขั้น 3.1 การศึกษาปัญหาในชุมชน 3.2 การทำให้นวัตกรรมเป็นที่ยอมรับของประชากร 3.3 การย้ำการยอมรับนวัตกรรม |
en |
dc.description.abstractalternative |
Objectives: 1. To construct and Educational-Innovation Diffusion Model 2. To study and compare the results of the using of the constructed Educational-Innovation Diffusion Model in diffusing an innovation to the selected schools in Ayuthaya Province with the results of the using of the common-used Educational-Innovation Diffusion Model 3. To give the suggestions to the improvement of the constructed Educational -Innovation Diffusion Model. Hypothesis: The common0used innovation diffusion strategies which include the power-coercive techniques and the user's recognition of the knowledge concerning the innovation itself cannot promote the actual acceptance and stabilization of the innovation among the users. Whereas the using of the Eclectic Process of Change (EPCM) which include the Local Problem Diagnosis Stage; the Acquiring and Choosing Relevant Solutions to the Problem Stage; the Gaining Acceptance among the Users Stage; and the Innovation Stabilization Stage can promote the actual acceptance and stabilization of the innovation among the users. Procedures: 1. Obtained knowledge concerning the theories of change; innovation diffusion models; and the information on how to constitute an instructional package from texts; research studies ; documents; and articles. 2. Constructed the Eclectic Process of Change Model. 3. Constructed the following data collecting instruments: 3.1 Behavioral Observation Table which was adapted from the Wisconsin Behavioral Rating Scale (WBRS). 3.2 A set of questionnaires which was used during the Gaining Acceptance Stage. These questions were emphasized upon the opinions of the users on the appropriateness of the manner in carrying out this stage. 3.3 The Guideline -lists which were used during the interview and observation at the Stabilization Stage. 4. Prepared instructional materials and other materials necessary during the Gaining Acceptance Stage 5. Clarified the principles and main objectives of this study to the researchers and the assistance in order to reconfirm the understanding of the study. 6. Obtained 64 teachers in 16 schools from the total number of 114 schools in Ayuthaya Province, by means of selective sampling technique. 7. Applied the innovation-diffusion strategies stages 1,2 and 3 to these selected samples. 8. By means of stratified random sampling techniques, the selected samples (the teachers from 16 schools) were classified into 2 groups fased on the possibility of the innovation acceptance and stabilization among the users. The Stabilization Stage was then applied to the 4 randomly selected schools. Whereas the other schools were not given this treatment. 9.Applied the Stabilization to the samples group I during the first, third, and fifth month after the Gaining Acceptance Stage. Collected data. 10. Observed and Recorded the details of adoption among the samples in groups II during the fifth month after the Gaining Acceptance Stage. 11. Compared the details of adoption between the samples group 1 and 2. Research Finding: 1. In comparing the common-used innovation-diffusion strategies with the Eclectic Process of change model in diffusing in innovation to the 16 selected schools in Ayuthaya Province, the EPCM model can better promote the acceptance and stabilization among the users. 2. The schools that were given the same innovation-diffusion strategies may not indicate the same details of adoption. The details of adoption were based upon each school contexts. The specific contexts that facilitated the perpetuation of the innovation can be described as its economic, socio-economics of the teachers and students, the level of Education of the teachers, the schools location, the attitudes of the administrators concerning the adoption of the innovation, and the numbers of the teachers in the Gaining Acceptance Stage. 3. There must be improvement at some stages of the EPCM: 3.1 The Local Problem Diagnosis Stage: The second level of the local problem concerning elements necessary inn promoting the adoption should also be diagnosed. These elements are, for instance, the level of innovation acceptance among the school administrators; the economic background of the potential users. The change agent should not concentrate only upon the need for specific innovation among the users. 3.2 The Gaining Acceptance Stage: Each group of users should be encouraged to constitute the educational innovation of their actual interest instead of constructions the innovation of the majority interest only. 3.3 The Innovation Stabilization Stage: The group leaders, selected from the school (S) that advocates the adoption of the innovation should be established after the change-agent withdraw. And these leaders should receive contact from the change-agent periodically. |
en |
dc.description.sponsorship |
เงินทุนงบประมาณแผ่นดิน ปี 2526 |
en |
dc.format.extent |
5318497 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
นวัตกรรมทางการศึกษา--ไทย |
en |
dc.subject |
การสอนด้วยสื่อ |
en |
dc.title |
รูปแบบการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา : รายงานการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
The educational - innovation diffusion model in sixteen selected schools in Ayuthaya province |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
feduslt@chulkn.chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Somchaw.n@chula.ac.th |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|