DSpace Repository

การศึกษากับการแก้ปัญหาความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author พร้อมพรรณ อุดมสิน
dc.contributor.author จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
dc.contributor.author น้อมศรี เคท
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-04-18T01:57:04Z
dc.date.available 2008-04-18T01:57:04Z
dc.date.issued 2533
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6611
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและเสนอแนวทางการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในการแก้ปัญหาความล้าหลังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการวิเคราะห์เอกสารและการสำรวจข้อมูลภาคสนาม การวิเคราะห์เอกสารได้วิเคราะห์นโยบายของรัฐ หลักสูตรระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และวิเคราะห์หนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ การสำรวจภาคสนามดำเนินการในกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนระดับประถมศึกษา มโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจิตคติต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเเรียนระดับมัธยมศึกษารวมทั้งศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับปัญหาและแนวการจัดการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ได้มีการกำหนดนโยบายในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) ส่วนในด้านการศึกษาพบว่ามีการกำหนดนโยบายในการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไว้ทั้งในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) และแผนปฏิบัติการของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2531-2534) อย่างสอดคล้องกัน 2. ในด้านหลักสูตรพบว่าได้กำหนดให้มีการพัฒนาความสามารถของนักเรียนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไว้ในหลักการและจุดประสงค์ของหลักสูตร ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย และพบว่าในหนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสอดแทรกไว้ในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ทุกเล่ม 3. ในด้านความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนประถมศึกษาพบว่า นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความสนใจหัวข้อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ปรากฏอยู่ในหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ทุกหัวข้อ 4. ในด้านมโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลายที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีมโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับต่ำมาก 5. ในด้านเจตคติต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพบว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงนิมานในระดับไม่สูง 6. ในด้านปัญหาการจัดการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ายังมีปัญหาในด้านการจัดการเรียนการสอนที่ผู้สอนส่วนใหญ่ยังไม่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาความสามารถของนักเรียนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนตัวหลักสูตรนั้นผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่าได้เน้นในด้านการพัฒนานักเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหมาะสมแล้ว 7. แนวการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในการแก้ปัญหาความล้าหลังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นมีดังนี้ 7.1 การจัดหลักสูตรมี 3 แบบคือ แบบสอดแทรกเทคโนโลยีไว้ในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ หรือเพิ่มบทเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีในวิชาวิทยาศาสตร์ หรือจัดวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแยกเป็นวิชาหนึ่ง 7.2 ในกระบวนการเรียนการสอน ให้เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ การประเมินผลทั้งทางด้านมโนทัศน์ทักษะและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7.3 จัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่ส่งเสริมความสามารถของนักเรียนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในลักษณะต่างๆ 7.4 ในด้านการบริหารให้มีการพัฒนาความสามารถของครูในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ en
dc.description.abstractalternative The purposes of this research are to study the problems and to propose the educational guidelines for the solution of science and technology lag at the elementary and secondary education levels. The documentary research technique and field survey type are employed. The documentary analysis covers the National policies, elementary and secondary school curriculum and science textbooks. The field survey study conducted only in Bangkok Metropolis includes the interests in science and technology of elementary school students, concepts and attitudes towards science and technology of secondary school students, as well as the authorities' opinions concerning problems and educational guidelines for the solution of science and technology lag. The findings are as follows : 1. There are policies concerning science and technology development in the Sixth National Economic and Social Development Plan (B.E. 2530-2534). In the aspect of education, it is found that the science and technology development plan are relevantlyset both in the Sixth National Education Plan (B.E. 2530-2534) and the working plan of Ministry of Education (B.E. 2531-2534). 2. In the aspect of curriculum, it is found that the development of students' competency in science and technology is set as the rationales and objectives of the science curriculum at both elementary and secondary education levels. It is also found that the content of science and technology is integrated in all science textbooks at both lower and upper secondary education levels. 3. In the aspect of interests in science and technology of elementary school students, it is found that the sample are interested in all topics concerning science and technology appeared in the elementary curriculum B.E. 2521. 4. In the aspect of concepts concerning science and technology, it is found that the concepts of science and technology of the sample which are lower and upper secondary school students are very low. 5. In the aspects of attitudes towards science and technology, it is found that the sample which are lower and upper secondary school students have positives attitudes towards science and technology at the low level. 6. In the aspect of educational management concerning science and technology, most of the authorities state that there are some problems in instructional management. Most science teachers do not emphasize science process skills which are the fundamental skills in developing students' competency in science and technology. However, the authorities agree that the curriculum has emphasized the development of students in science and technology appropriately. 7. The educational guidelines for the solutions of science and technology lag are as follows : 7.1 Three types of science curriculum are proposed : the integration of technology in science content ; the expansion of technology units in science subject ; or the segregation of science and technology as one subject. 7.2 Science process skills, science project activities, and the evaluation of science and technology concepts, skills and attitudes should be emphasized in the instructional process. 7.3 Extra curriculum activities promoting the students' competency in science and technology should be variously organized. 7.4 In the aspect of school administration, teachers' competency in science and technology should be developed in various forms. en
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปี 2532 en
dc.format.extent 26710418 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) en
dc.subject เทคโนโลยี -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) en
dc.subject วิทยาศาสตร์ -- หลักสูตร en
dc.subject วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) en
dc.title การศึกษากับการแก้ปัญหาความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : รายงานการวิจัย en
dc.title.alternative Education and the solution of science and technology lag en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Prompan.U@chula.ac.th
dc.email.author Chanpen.C@Chula.ac.th
dc.email.author Normsri.C@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record