Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. เพื่อประสิทธิภาพของกิจกรรมการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มที่พัฒนาขึ้น 3. เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่จะใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม เมื่อนำรูปแบบไปใช้อย่างต่อเนื่องจนครบขั้นตอน การดำเนินการวิจัย ขั้นที่ 1 : การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้ดำเนินการโดยศึกษาทฤษฎี แนวคิด หรือหลักการเรื่องกระบวนการกลุ่ม ศึกษาสภาพการณ์จริง และปัญหาในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนขาดทักษะการเป็นหัวหน้ากลุ่ม 31 รายการ จากทั้งหมด 36 รายการ และขาดทักษะการเป็นสมาชิกกลุ่ม 10 รายการ จากทั้งหมด 24 รายการ ขั้นที่ 2 : การพัฒนารูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม ได้ดำเนินการโดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อกำหนดหลักการในการพัฒนารูปแบบ และได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติอีกเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง ต่อจากนั้นจึงได้นำชุดกิจกรรมทั้ง 27 กิจกรรม ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 ห้องเรียน แล้วได้ปรับปรุงชุดกิจกรรมอีกครั้งให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขั้นที่ 3 : การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพ ได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือซึ่งประกอบในแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม และแบบบันึ่กผลการใช้ชุดกิจกรรมโดยให้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวัดและประเมิน และคณะผู้วิจัยได้ร่วมกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เครื่องมือทั้ง 3 ชุด มีความตรงทางเนื้อหา พร้อมทั้งกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพ ขั้นสุดท้าย เป็นการสรุปรูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม ผลการวิจัย รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ขั้น ดังนี้ 1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 1.1 ศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิดเรื่องกระบวนการกลุ่ม 1.2 สำรวจสภาพการณ์จริงเกี่ยวกับการทำงานกลุ่มของนักเรียนระดับประถมศึกษา 1.3 ศึกษาสภาพปัญหาในการทำงานกลุ่มของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2. หลักการ 2.1 ควรสอนทั้งทางด้านความเข้าใจมโนทัศน์ และฝึกให้เกิดทักษะโดยใช้ชุดกิจกรรม สอนมโนทัศน์ และกิจกรรมฝึกทักษะตามมโนทัศน์ที่สอน 2.2 ชุดกิจกรรมสอนและฝึกควรครอบคลุมกระบวนการทำงานกลุ่มทั้งกระบวนการในการสอนและฝึกควรเน้นทักษะที่นักเรียนขาดโดยใช้เวลาฝึกให้มากขึ้น 2.3 ชุดกิจกรรมสามารถนำไปปรับและประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ คือ 1) จัดสอนมโนทัศน์การทำงานกลุ่มติดต่อกันทั้งชุด แล้วฝึกรวมไปกับการสอนกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ 2) สอนและฝึกโดยสอดแทรกเข้าไปในหลักสูตรเป็นช่วงๆ 3) กลุ่มประสบการณ์ที่เหมาะในการใช้ชุดกิจกรรมคือ กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย 3. โครงสร้างและเนื้อหา โครงสร้างและเนื้อหาประกอบด้วยกิจกรรม 5 หมวด คือ หมวดความเข้าใจพื้นฐานในการทำงานกลุ่ม ซึ่งมีเนื้อหา 4 หัวข้อ หมวดทักษะที่จำเป็นในการทำงานกลุ่มมีเนื้อหา 7 หัวข้อ หมวดกระบวนการทำงาน มีเนื้อหา 9 หัวข้อ หมวดบทบาทหัวหน้ากลุ่ม มีเนื้อหา 4 หัวข้อ และหมวดบทบาทสมาชิกกลุ่ม มีเนื้อหา 3 หัวข้อ 4. กิจกรรม 4.1 ส่วนประกอบของกิจกรรม 1) กิจกรรมการสอน ประกอบด้วยชื่อ รหัส คำชี้แจง จุดมุ่งหมาย แนวคิด สื่อ เวลาที่ใช้ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม การประเมินผล และภาคผนวก 2) กิจกรรมฝึก ประกอบด้วย ชื่อ รหัส คำชี้แจง ระยะเวลาฝึกกิจกรรมเสนอแนะ สำหรับการฝึกกิจกรรมเสนอแนะสำหรับการฝึก 4.2 ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วยขั้นนำ ขั้นกิจกรรม ขั้นอภิปราย ขั้นสรุป และขั้นประเมินผล 4.3 วิธีสอน วิธีฝึก และการประเมินผล 1) วิธีสอน ในการสอนควรยึดหลักสำคัญดังต่อไปนี้ 1.1) การสอนควรเป็นแบบอุปมาน (Inductive Method) 1.2) เน้นให้ผู้เรียนมีโอกาสร่วมในกิจกรรมต่างๆ อย่างทั่วถึง และให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 1.3) ใช้กิจกรรมผสมผสาน ซึ่งมีหลายๆ ประเภท 1.4) เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 1.5) เน้นกระบวนการเรียนรู้ และให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ด้วย 2) วิธีฝึก ในการฝึกควรยึดหลักสำคัญ ดังต่อไปนี้ 2.1) อิงมโนทัศน์หรือเนื้อหาด้านการทำงานกลุ่ม 2.2) การฝึกจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจมโนทัศน์หรือเนื้อหามากขึ้น 2.3) ควรฝึกอย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นทักษะและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 2.4) การฝึกจะเน้นเป็นพิเศษ โดยจัดเป็นกิจกรรมฝึกพิเศษในทักษะที่นักเรียนส่วนมากขาด ส่วนทักษะอื่นๆ นั้นควรจัดฝึกเรื่อยๆ ตามโอกาส 3) การประเมินผล 3.1) การสังเกตความร่วมมือและการแสดงออกของนักเรียน 3.2) การประเมินโดยตัวนักเรียนเอง 3.3) การใช้แบบทดสอบประจำกิจกรรม 5. การประเมินประสิทธิภาพ 5.1 วิธีการประเมิน 1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจ มโนทัศน์ หรือเนื้อหาด้านกระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียนระดับประถมศึกษา ก่อนเรียน ขณะเรียน และหลังเรียน 2) ประเมินทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนระดับประถมศึกษา ก่อนและหลังฝึก 3) ประเมินผลการใช้ชุดกิจกรรมของครู 5.2 เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพ 1) เกณฑ์ 80/80 สำหรับการทดสอบความรู้ความเข้าใจ 2) การทดสอบคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการประเมินทักษะหลังฝึกต้องสูงกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) เมื่อครูศึกษาชุดกิจกรรมแล้ว 80% ของจำนวนครูที่ศึกษาชุดมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยเฉลี่ยตั้งแต่ 60% ขึ้นไป