dc.contributor.author |
สุมาลี สังข์ศรี |
|
dc.contributor.author |
สมประสงค์ วิทยเกียรติ |
|
dc.contributor.author |
นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์ |
|
dc.contributor.author |
ศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ |
|
dc.contributor.author |
อาชัญญา รัตนอุบล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2008-04-21T10:20:11Z |
|
dc.date.available |
2008-04-21T10:20:11Z |
|
dc.date.issued |
2535 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6643 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไป ความคิดเห็น ความคาดหวัง และปัญหาอุปสรรคของนักศึกษา ในการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบโดยระบบการศึกษาทางไกล ตลอดจนประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับ และการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานหลังจากสำเร็จการศึกษาไปแล้ว การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะละ 1 ปี โดยระยะที่ 1 ทำการศึกษาจากนักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยระบบการศึกษาทางไกล ระยะที่ 2 ทำการศึกษาจากนักศึกษาที่จบการศึกษาไปแล้ว กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาระยะที่ 1 ได้แก่ นักศึกษาของหลักสูตรการศึกษานอกระบบทุกคนที่กำลังศึกษาอยู่ในช่วงปี 2532-2534 ซึ่งมีจำนวน 142 คน ส่วนการวิจัยระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บัณฑิตทุกคนของหลักสูตรวิชานี้ที่สำเร็จการศึกษาในช่วงปี 2534-2535 ซึ่งมีจำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลทั้ง 2 ระยะ ประกอบด้วย แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เพิ่มเติมและการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การจัดอันดับ ส่วนข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นั้นทำการวิเคราะห์และสรุปประเด็นที่สำคัญ ผลการวิจัย: 1. นักศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบส่วนใหญ่เป็นชาย (ร้อยละ 67) อายุระหว่าง 23-29 ปี (ร้อยละ 93) และร้อยละ 78 จบการศึกษาระดับอนุปริญญา 2. ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน คือ ปัจจัยส่วนตัว ปัจจัยเกี่ยวกับอาชีพการงาน ปัจจัยเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอน และปัจจัยเกี่ยวกับสังคมสิ่งแวดล้อมมีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตรการศึกษานอกระบบของนักศึกษา 3. นักศึกษาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) มีความคาดหวังว่าจะนำความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตรนี้ไปปรับปรุงอาชีพการงาน ไปช่วยพัฒนาชุมชนและพัฒนาความรู้ของตนเอง 4. ปัญหาที่พบในการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ โดยระบบการศึกษาทางไกลนั้น นักศึกษาประสบทั้งปัญหาส่วนตัว วิธีการเรียน สื่อและการวัดและประเมินผล 5. บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้ไปแล้วมีความคิดเห็นว่าสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ทั้งในด้านส่วนตัว ด้านอาชีพการงานและด้านการพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับความคาดหวังที่ตั้งไว้ก่อนจะเข้าศึกษา บัณฑิตส่วนใหญ่ไม่ได้นำวุฒิที่ได้รับไปปรับเงินเดือนหรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงาน เพราะส่วนใหญ่เงินเดือนสูงกว่าระดับปริญญาตรีแล้ว แต่วุฒิที่ได้รับช่วยสร้างความมั่นใจและการยอมรับในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ: 1. การพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ควรปรับให้ทันสมัย เนื้อหาไม่ซับซ้อน และให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับชุมชนได้มากยิ่งขึ้น 2. การจัดการเรียนการสอน ควรให้มีการพบปะทางวิชาการระหว่างอาจารย์และนักศึกษาบ้าง ควรให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบโดยตรง ได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. ระบบการจัดการของมหาวิทยาลัย ควรประชาสัมพันธ์การเปิดสอนหลักสูตรให้มากขึ้น ข้อมูลข่าวสารที่ส่งถึงนักศึกษาควรยึดหลักสะดวกและรวดเร็ว และ 4. การวิจัยที่ควรมีต่อไป ควรทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น ศึกษาวิธีการที่จะจูงใจให้มีผู้เข้าศึกษาหลักสูตรให้มากขึ้น ศึกษาความต้องการของหน่วยงานที่จะรับบุคลากรทางด้านการศึกษานอกระบบ ศึกษาสาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษาหลักสูตรนี้ ศึกษาแนวทางในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษานอกระบบ |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study was to obtain information about general background, opinions, expectations and problems of the students and also benefits they obtained from the NFE bachelor degree program through distance education. The study was divided into two phases, each taking one year. The first phase consisted of 142 samples which were learn from all students enrolled in the program in 1989 to 1991. The second phase's sample were all students (29 students) graduated from the program during 1992 to 1993. The instruments for data collection were questionnaires, interviews, and the analysis of relevant documents. Percentages, means, and ranking were employed in the analysis of questionnaire data. Major conclusion were also obtained from the analysis and generalization of data from interviews and documents. Findings: 1. Most of the students of this program were male (67%), aged between 23 and 39 (93%) and 78% have received diploma. 2. Four groups of factors: personal, occupational, social and environmental, and learning system, had influenced upon students on their decision to enter the program. 3. Most students (80%) expected to utilized knowledge obtained from the program to improve their efficiency at work, their ability to serve their communities, and self development. 4. Difficulties faced by the students during their study in this program were personal, curriculum, learning method, media and evaluation.5. Most graduates asserted that the quality of the program was at their expectations. Also, the knowledge obtained from the program was very useful for personal, occupational, social and environmental aspects. Since most of the students were already employed. They did not gain significant salary advantages or change their jobs after the graduation. However, they gained more self-confidence ad acceptance from their colleagues. Recommendations: 1. The curriculum for the MFE program should be improved and updated to prevent overlapping, and be more applicable to community development. 2. The instructional system should ensure more affective academic face to face interaction between students and instructors. Students who are not employed in the NFE field should be offered the opportunity to gain work experience from appropriate agencies. 3. STOU should improve its public relations so that the information on this and other program are up to date and accessible to all target groups. 4 Further studies on a broader range of NFE related issues should be carried out in the areas of motivation techniques to attract more target groups, needs of related agencies to employ personnel with an NFE background, drop-out problems in the NFE program, and guidelines for development of NFE personnel. |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
en |
dc.format.extent |
37017658 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การศึกษาทางไกล |
en |
dc.subject |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--นักศึกษา |
en |
dc.title |
ความคิดเห็นและความคาดหวังของนักศึกษาและผลที่ได้รับจากหลักสูตรการศึกษานอกระบบโดยระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : รายงานการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
Opinions and expectation of students and outcomes of nonformal education program laucnhced through distance education at Sukhothai Thammathirat Open University |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
edasssum@stou.ac.th |
|
dc.email.author |
edaswsom@stou.ac.th |
|
dc.email.author |
edastnar@stou.ac.th |
|
dc.email.author |
edastsas@stou.ac.th |
|
dc.email.author |
Archanya.R@chula.ac.th |
|