DSpace Repository

รูปแบบการพัฒนานักศึกษาพยาบาลด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธิดารัตน์ บุญนุช
dc.contributor.advisor ไพลิน นุกูลกิจ
dc.contributor.author วิบูลย์ลักษณ์ ปรียาวงศากุล
dc.date.accessioned 2020-06-21T09:41:29Z
dc.date.available 2020-06-21T09:41:29Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741764081
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66514
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบการพัฒนานักศึกษาพยาบาลด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้คือ 1) ศึกษาระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาพยาบาล 2) สร้างรูปแบบการพัฒนานักศึกษาพยาบาลด้วยกิจกรรมที่ ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเพิ่มความ สามารถในการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนานักศึกษาพยาบาลด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในการศึกษาระดับ SDLR ของนักศึกษาพยาบาลใช้เครื่องมือกัดระดับ SDLR Scale ของ Fisher, King and Tague (2001) ประชากร เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข32 สถาบันทั่วประเทศ จำนวน 1,670 คน กลุ่มตัวอย่างในการทดลองรูปแบบเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ปีการศึกษา 2546 จำนวน 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คนรูปแบบการส่งเสริม SDLR เน้นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกิจกรรม การอบรมและพัฒนานักศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 เป็นการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและการศึกษาดูงาน ระยะที่ 2 ฝึกปฏิบัติบทบาทการเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ระยะที่ 3 ระยะติดตาม เสริมแรงให้กำลังใจนักศึกษาที่มีระดับ SDLR ตํ่า เพิ่มความสามารถในการจัดการตนเอง ความปรารถนาต่อการเรียนรู้ และการควบคุมตนเอง และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ ผลการวิจัย พบว่า : 1. ระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระดับปานกลาง (X_ = 3.70 S.D. = 0.38) 2. ผลจากการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า นักศึกษากลุ่มทดลอง มีระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีความสามารถในบทบาทผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า รูปแบบการพัฒนานักศึกษาพยาบาลด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้พัฒนานักศึกษาพยาบาล 3. องค์ประกอบของความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ การจัดการตนเองความปรารถนาต่อการเรียนรู้ และการควบคุมตนเองของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลอง สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r = .873 P-value = .001)
dc.description.abstractalternative This study focused on processing a nursing student development model with activities enhancing self-directed learning readiness for increase learning ability. The objectives of this study were 1) To study the degree of SDLR of nursing students. 2) To establish a nursing student development model with activities enhancing SDLR for increase learning ability. 3) To experiment the established model. 4) To study the correlation between their SDLR and G.P.A. The SDLR degree was measured by SDLR Scale of Fisher, King and Tague (2001). The population were 1,670 senior nursing students from 32 nursing colleges within Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health, Thailand. The sample size for experiment into programme activities and the experimental group were 90 random subjects divided 45 each for control group and treatment group, selected from volunteers in Boromarajonani college of nursing Nopparat Vajira and Chonburi. The SDLR model emphasized authentic activities divided into 3 phases: First, the students were trained about critical thinking process. Second, the students were trained to be facilitators. Finally, the student with low SDLR were reinforcement by increasing self management, the desire for learning, self-controling and learning abilities. The study finding showed that : 1. The readiness for self-directed learning of nursing students within Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health were moderated level of SDLR (X - 3.70 S.D. = 0.38). 2. The outcomes of the experimental group had higher degree of SDLR, G.P.A., facilitator's role after training than before training significantly at .05. The results concluded the proposed model was appropriateness for nursing student development. 3. The correlation between G.P.A. and the components of SDLR were significant (r =.873 P-value = .001).
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.711
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง -- ไทย en_US
dc.subject กิจกรรมการเรียนการสอน -- ไทย en_US
dc.subject ความสามารถในการเรียนรู้ -- ไทย en_US
dc.subject นักศึกษาพยาบาล -- ไทย en_US
dc.subject Self-managed learning -- Thailand en_US
dc.subject Activity programs in education -- Thailand en_US
dc.subject Learning ability -- Thailand en_US
dc.subject Nursing students -- Thailand en_US
dc.title รูปแบบการพัฒนานักศึกษาพยาบาลด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ en_US
dc.title.alternative A nursing student development model with activities enhancing self-directed learning readiness for increase learning ability en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline อุดมศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Thidarat.B@chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2004.711


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record