Abstract:
ในปัจจุบัน ตัวเร่งเชิงแสง มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์สารอินทรีย์เนื่องจากเป็นวิธีที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและใช้ได้อย่างยั่งยืน เราจึงใช้โรสเบงกอลและสังเคราะห์ โบดิพี 4 ชนิดคือ I-GB, I-RB, 3I-GB และ Di-GB เพื่อนำมาใช้เป็นตัวเร่งเชิงแสงในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ไดซัลไฟด์จากไทออล โดยตรวจสอบโครงสร้าง โบดิพีทั้ง 4 ชนิดด้วยเทคนิค NMR สเปกโตรสโกปี และศึกษาสมบัติเชิงแสงโดยใช้ UV-visible สเปกโตรสโคปี และฟลูออเรสเซนต์สเปกโตรสโคปี เราสามารถหาสภาวะที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาได้คือ ใช้โรสเบงกอล 5 % โมลเป็นตัวเร่งเชิงแสง ตัวทำละลายคือ 2-โพรพานอล ให้แสงด้วย LED แสงขาว และใช้เวลา 6 - 15 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้องในการเปลี่ยน 4-คลอโรไทโอฟีนอลให้เป็นไดซัลไฟด์ได้สมบูรณ์ แล้วสามารถใช้สภาวะนี้ สังเคราะห์ไดซัลไฟด์จากไทออลต่างๆ ที่มีหมู่อะลิฟาติก อะโรมาติก หรือเฮเทอโรไซคลิก ให้ร้อยละผลได้ที่ดี 75 - 94 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งข้อดีของการใช้โรสเบงกอลเป็นตัวเร่งคือ ไม่ใช้โลหะหนักที่เป็นพิษ ใช้สภาวะไม่รุนแรง และ แยกผลิตภัณฑ์ออจจากปฏิกิริยาได้โดยการสกัดอย่างง่าย