DSpace Repository

การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีมตามแนวคิดการทำโครงการสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
dc.contributor.author พัชรินทร์ ฮั่นพิพัฒน์
dc.date.accessioned 2020-06-24T06:12:27Z
dc.date.available 2020-06-24T06:12:27Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9745310131
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66559
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) คิกษาสภาพ ความต้องการ และปัญหาเกี่ยวกับการ'รกอบรมในงานการเรียนรู้เป็นทีม และการทำโครงการของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีมตามแนวคิดการทำโครงการของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 3) นำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีมตามแนวคิดการทำโครงการของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยนักเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 265 คน และ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 31 คนผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และเทคนิคเดลฟาย 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า 1. การฝึกอบรมในงานของนักเทคโนโลยีการศึกษาที่พบ คือ มีการให้คำปรึกษาส่วนผู้ที่คอยช่วยเหลือ ชี้แนะเมื่อมีปัญหากับงานจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และมีปัญหา ของการฝึกอบรมในงานที่ไม่เป็นระบบ การฝึกอบรมถูกขัดจังหวะทำให้ไม่ต่อเนื่อง นักเทคโนโลยีการศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการตามแผน ศึกษาค้นคว้าเลือกเรื่องหรือปัญหา และนำเสนอผลงานโดยการรายงานปากเปล่า นักเทคโนโลยีการศึกษานั้น มีการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์กัน มีการแบ่งงานกันทำตามบทบาทหน้าที่ โดยมีปัญหาของการทำงานทีม คือ นักเทคโนโลยีการคิกษามีภารกิจอื่นมาก และมีเวลาไม่ตรงกัน ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน รวมทั้งสมาชิกในทีมมีบุคลิกภาพที่ขัดแย้งกันและนักเทคโนโลยีการศึกษาต้องการให้มีบรรยากาศในการทำงานที่อบอุ่น มีอิสระ เป็นกันอง 2. ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกับข้อความของรูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีมตามแนวคิดการทำโครงการ จำนวน 314ข้อ จากจำนวน 315ข้อ 3. รูปแบบของการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีมตามแนวคิดการทำโครงการสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย 3.1 องค์ประกอบของรูปแบบ 7 องค์ประกอบ คือ (1) นโยบายการฝึกอบรม (2) บรรยากาศการทำงาน (3) แหล่งวิทยาการ (4) บทบาทหัวหน้างาน (5) บทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษา (6) กิจกรรมสนับสนุนการทำโครงการ (7) ประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม 3.2 ขั้นตอนการฝึกอบรม 7 ขั้นตอน คือ (1) เตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกอบรม (2) นำเข้าสู่การฝึกอบรมและสร้างความเข้าใจร่วมกัน (3) เลือกเรื่องหรือปัญหาในการทำโครงการ (4) วางแผนการดำเนินงาน เขียนโครงการและนำเสนอโครงการ (5) ลงมือปฏิบัติทำโครงการ (6) นำเสนอผลงานและประเมินโครงการ (7) ประเมินทักษะการเรียนรู้เป็นทีม
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to study status, needs and problems of educational technologists concerning on- the- job training and project activity of educational technologists 2) to obtain specialists' opinions concerning on-the-job training model for developing team learning skills based on project for educational technologists , and 3) to propose on-the-job training model for developing team learning skills based on project for educational technologists in higher education institutions . The samples of this research consisted of two-hundred and sixty-five educational technologists and thirty-one specialists. The data were collected by means of questionnaires and three-rounds of Delphi instruments. The data were analyzed by percentage, median and interquartile range. The results indicated that : 1. On-the-job training of educational technologists were based on consultation and supervision by peers and supervisors. The problems found most were unsystematic and uncontinuous on-the-job training. The educational technologists involved in conducting the projects according to plan. They studied and selected topics or problems for their projects and orally presented the final report. They also shared knowledge and experiences, performed tasks based on roles and responsibilities. The problems related to team working were overload tasks, inconsistent time for sharing ideas, and conflict personalities. They needed warm, friendly and free working climate. 2. The 314 statements from 315 statements of specialists final consensus were considered for on-the-job training model for developing team learning skills based on the project. 3. The on-the-job training model for developing team learning skills based on the project consisted of : 3.1 Seven training components : 1 ) training policies, 2) working climate 3) learning resources 4) supervisors’ roles 5) educational technologists’ roles 6) training activities 7) evaluation and follow-up. 3.2 Seven training steps : 1) prepare a training, 2) propose a training project and conduct mutual understanding 3) select topics or problems for a project 4) plan, write a project and present a proposal 5) conduct a project 6) present a project and evaluate a project, and 7) evaluate team learning skills.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.911
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject นักเทคโนโลยีทางการศึกษา -- การฝึกอบรมในงาน en_US
dc.subject การเรียนรู้เป็นทีม --ไทย en_US
dc.subject In-service training en_US
dc.subject Team learning approach in education -- thailand en_US
dc.title การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เป็นทีมตามแนวคิดการทำโครงการสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา en_US
dc.title.alternative A proposed on-the-job training model for developing team learning skills based on the project for educational technologists in higher education institutions en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline โสตทัศนศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Onjaree.N@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2004.911


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record