Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมและระยะเวลาในการอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือทำงานในประเทศไทย โดยเปรียบเทียบนโยบายนำเข้าแรงงานไร้ฝีมือของประเทศ สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาในการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือโดยเฉพาะกรณีของแรงงานพม่า รวมทั้งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดระยะเวลาการจ้างงานละค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมของนายจ้างซึ่งเลือกกรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร วิธีการศึกษามีทั้งการวิเคราะห์เชิงพรรณนาการคำนวณต้นทุนผลได้จากการย้ายถิ่น รวมถึงต้นทุนแรงงานที่มิใช้ค่าจ้าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ระยะเวลาคุ้มทุน การคำนวณหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า การนำเข้าแรงงานไร้ฝีมือของสิงคโปร์และไต้หวันอยู่ในรูปแบบของสัญญาจ้าง และใบอนุญาตทำงานจะกำหนดระยะเวลาที่แน่นนอนในการอยู่ทำงานในประเทศทั้งสองอย่างชัดเจน เพื่อหลีกเหลี่ยงการอยู่อาศัยอย่างถาวร ในขณะที่ประเทศไทยมีการออกใบอนุญาตทำงานรายปี มิได้จำกัดจำนวนครั้งในการต่ออายุ และมิได้กำหนดระยะเวลาที่แรงงานต่างด้าวสามารถอยู่ทำงานในประเทศไทยที่แน่นอนชัดเจน ในส่วนของแรงงานพม่า จากการสำรวจพบว่า การทำงานในจังหวัดสมุทรสาคร ทำให้แรงงานพม่าได้รับผลไต้มากกว่าต้นทุนจากการย้ายถิ่นโดยเฉลี่ย ทั้งในรูปที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เมื่อวิเคราะห์กระแสของผลได้ต้นทุนจากการย้ายถิ่น พบว่า แรงงานพม่าในทุกประเภทกิจการได้รับความคุ้มทุนภายในปีแรกของการทำงาน และถ้าแรงงานพม่าทำงานครบ 3 ปี จะมีมูลค่าปัจจุบันของผลได้สุทธิจากการย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในกิจการประมง, ต่อเนื่องประมง, งานบ้าน และกิจการอื่นๆ มีค่าเท่ากับ 49,789 บาท 23,723 บาท 68,442 บาท และ 42,038 บาทตามลำดับ ในส่วนของนายจ้างพบว่า ต้นทุนการใช้แรงงานต่างด้าวของนายจ้างมี 2 ส่วนคือ ต้นทุนในรูปค่าจ้างและผลประโยชน์อื่นๆ และ ต้นทุนที่มิใช้ค่าจ้าง โดยต้นทุนที่มีใช้ค่าจ้าง ประกอบด้วย ต้นทุนในการหาคนงานต้นทุนในการฝึกอบรม และต้นทุนในการนำแรงงานมาขึ้นทะเบียน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของต้นทุนที่มิใช้ค่าจ้าง อันเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดระยะเวลาการจ้างงาน นายจ้างกลุ่มตัวอย่างในแต่ละกิจการมีต้นทุนซึ่งสามารถคำนวนได้เป็นตัวเงินในส่วนนี้ค่อนข้างต่ำ ส่วนหนึ่งเนื่องจากนายจ้างสามารถผลักภาระต้นทุนให้แก่แรงงานต่างด้าว ซึ่งความคิดเห็นของนายจ้างต่อระยะเวลาขั้นต่ำในการขึ้นทะเบียนแรงงานที่เหมาะสมในแต่ละครั้ง คือประมาณ 2 ปี ความคิดเห็นต่อค่าธรรเนียม 3,800 บาทต่อคนในปัจจุบัน โดยมิได้เรียกเก็บเงินค่าประกันตัวแรงงานนายจ้างในทุกประเภทกิจการ ยกเว้น นายจ้างกิจการประมง เห็นว่ามีความเหมาะสมแล้ว และถ้าจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน นายจ้างส่วนใหญ่เห็นว่าภาครัฐควรคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายของนายจ้างเป็นสำคัญ รองลงมาคือ การแบ่งจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นรายงวดได้ แต่กรณีที่คิด แต่กรณีที่คิดค่าธรรมเนียมในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน นายจ้างส่วนใหญ่ค่อนข้างไม่เห็นด้วย เนื่องจากอาจเกิดปัญหาการจดทะเบียนแรงงานนอกพื้นที่ ที่ทำงานจริง เพื่อหลีกเหลี่ยงค่าธรรมเนียมที่มีอัตราสูง