Abstract:
การวิจัยเรื่อง การศึกษาการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกฎหมายสำหรับสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกฎหมายสำหรับสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเยน เรื่องกฎหมายใน 7 เรื่อง คือ การหมั้น เงื่อนไขการแต่งงาน สินสมรส การหย่า บุตรนอกกฎหมาย บุตรบุญธรรม และมรดร ของสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องกฎหมายในเนื้อหา การนำเสนอ และการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ สตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีซึ่งอาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยนี้เป็นจำนวน 52 คน โดยมีเครื่องมือในการวิจัย 3 ประเภท คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง กฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ข้อสอบคู่ขนานแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกก่อนเรียนและหลังเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 10 ข้อ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกฎหมายในเนื้อหา การนำเสนอ และการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลได้นำเสนอใน 4 ส่วนคือ 1) ภูมิหลังของสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา 2) การทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้เกี่ยวกับคะแนนข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบค่า t-test 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง กฎหมายในเนื้อหา การนำเสนอและการเรียนรู้โดยใช้ค่าร้อยละ 4) คะแนนที่เพิ่มขึ้นหลังจากใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ค่าร้อยละ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนทดสอบหลังบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานในการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง กฎหมายของสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี มีดังนี้ 1) เนื้อหา 1.1 สตรีส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า เนื้อหาในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีความชัดเจนปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 73.1 1.2 สตรีส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า จำนวนคำถามที่ใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีความเหมาะสมมาก คิดเป็นร้อยละ 63.5 2) การนำเสนอ 2.1 สตรีส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ตัวหนังสือที่แสดงบนจอของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความชัดเจนมาก คิดเป็นร้อยละ 96.2 2.2 สตรีส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า รูปภาพที่แสดงบนจอของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความชัดเจนมาก คิดเป็นร้อยละ 80.8 3)การเรียนรู้ 3.1 สตรีส่วนใหญ่ เคยใช้คอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 67.3 3.2 สตรีส่วนใหญ่มีความสนใจมากต่อการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง กฎหมาย คิดเป็นร้อยละ 69.2 3.3 สตรีส่วนใหญ่ มีความเข้าใจในระดับมาก ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คิดเป็นร้อยละ 50.0 และเข้าใจในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 48.1 ตามลำดับ 3.4 สตรีส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างของการเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการเรียนรู้จากครูโดยตรง คิดเห็นร้อยละ 88.5 3.5 สตรีส่วนใหญ่ มีความรู้สึกชอบต่อการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คิดเป็นร้อยละ 82.7 3.6 สตรีส่วนใหญ่ ได้ใช้เวลาในระดับปานกลางในการเข้าใจบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คิด ประมาณ 30.45 นาที คิดเป็นร้อยละ 50 และใช้เวลาประมาณ 50 นาทีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 48.1 ตามลำดับ 3.7 สตรีส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป คิดเป็นร้อยละ 100 3. จากผลของการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและนำไปใช้กับสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน พบว่า มีค่าร้อยละของคะแนนที่เพิ่มขึ้น (Gain Score) ร้อยละ 23.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยสตรีมีคะแนนเฉลี่ยของคะแนนก่อนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่ากับ 7.00 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่ากับ 8.60