dc.contributor.author | อาชัญญา รัตนอุบล | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2008-04-25T04:59:07Z | |
dc.date.available | 2008-04-25T04:59:07Z | |
dc.date.issued | 2542 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6711 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง การศึกษาการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกฎหมายสำหรับสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกฎหมายสำหรับสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเยน เรื่องกฎหมายใน 7 เรื่อง คือ การหมั้น เงื่อนไขการแต่งงาน สินสมรส การหย่า บุตรนอกกฎหมาย บุตรบุญธรรม และมรดร ของสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องกฎหมายในเนื้อหา การนำเสนอ และการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ สตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีซึ่งอาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยนี้เป็นจำนวน 52 คน โดยมีเครื่องมือในการวิจัย 3 ประเภท คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง กฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ข้อสอบคู่ขนานแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกก่อนเรียนและหลังเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 10 ข้อ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกฎหมายในเนื้อหา การนำเสนอ และการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลได้นำเสนอใน 4 ส่วนคือ 1) ภูมิหลังของสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา 2) การทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้เกี่ยวกับคะแนนข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบค่า t-test 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง กฎหมายในเนื้อหา การนำเสนอและการเรียนรู้โดยใช้ค่าร้อยละ 4) คะแนนที่เพิ่มขึ้นหลังจากใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ค่าร้อยละ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนทดสอบหลังบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานในการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง กฎหมายของสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี มีดังนี้ 1) เนื้อหา 1.1 สตรีส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า เนื้อหาในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีความชัดเจนปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 73.1 1.2 สตรีส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า จำนวนคำถามที่ใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีความเหมาะสมมาก คิดเป็นร้อยละ 63.5 2) การนำเสนอ 2.1 สตรีส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ตัวหนังสือที่แสดงบนจอของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความชัดเจนมาก คิดเป็นร้อยละ 96.2 2.2 สตรีส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า รูปภาพที่แสดงบนจอของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความชัดเจนมาก คิดเป็นร้อยละ 80.8 3)การเรียนรู้ 3.1 สตรีส่วนใหญ่ เคยใช้คอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 67.3 3.2 สตรีส่วนใหญ่มีความสนใจมากต่อการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง กฎหมาย คิดเป็นร้อยละ 69.2 3.3 สตรีส่วนใหญ่ มีความเข้าใจในระดับมาก ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คิดเป็นร้อยละ 50.0 และเข้าใจในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 48.1 ตามลำดับ 3.4 สตรีส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างของการเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการเรียนรู้จากครูโดยตรง คิดเห็นร้อยละ 88.5 3.5 สตรีส่วนใหญ่ มีความรู้สึกชอบต่อการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คิดเป็นร้อยละ 82.7 3.6 สตรีส่วนใหญ่ ได้ใช้เวลาในระดับปานกลางในการเข้าใจบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คิด ประมาณ 30.45 นาที คิดเป็นร้อยละ 50 และใช้เวลาประมาณ 50 นาทีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 48.1 ตามลำดับ 3.7 สตรีส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป คิดเป็นร้อยละ 100 3. จากผลของการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและนำไปใช้กับสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน พบว่า มีค่าร้อยละของคะแนนที่เพิ่มขึ้น (Gain Score) ร้อยละ 23.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยสตรีมีคะแนนเฉลี่ยของคะแนนก่อนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่ากับ 7.00 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่ากับ 8.60 | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to 1) construct the Computer Assisted Instruction (CAI) Program concerning "the law" for women who attended non-formal education activities at the Association for the Promotion of the Status of Women; 2) study the Law achievement in seven parts: the engagement, the wedding condition, the couples' assets, the divorce, the illegal child, the adopted child and the heritage; and 3) study opinions of women who attended non-formal education activities at the Association for the Promotion of the Status of Women concerning the usage of the CAI program in three aspects : the contents, the presentation and the outcome of learning from the CAI program.. The samples were fifty-two women who attended Non-Formal Education activities at the Association for the Promotion of the Status of Women and Volunteered to participate in this research project. The three instruments using in this research were: firstly, the CAI program of law which was developed by a researcher, secondary, ten questionswith four choices of paralleled pre-test and post-test and thirdly, questionnaire of opinions concerning the usage of the CAI program of Law in three aspects: the contents, the presentation and the outcome of learning. The analysis of data was divided into four parts. Firstly, descriptive statistics was used to analyze the demographic background of women who attended Non-Formal Education activities at the Association for the Promotion of the Status of Women. Secondly, t-test was used to test the null hypotheses concerning scores of pre-test and post-test. Thirdly, the percentage was used to analyzed opinions concerning the utilization of the CAI program of Law in three aspects: the contents, the presentation and the out come of Learning Fourthly, the percentage was used to analyze the gain scores of women. The major findings of this study were summarized as follows: 1. The result of this study found that the pre-test scores before using the CAI program and the post-test scores after using the CAI program, by women who attended non-formal education activities at the Association for the Promotion of the Status of Women were significant differences which accepted the research hypotheses setting. Specifically, scores of post-test after women learned from the CAI program were higher than the scores of pre-test. 2. Opinions concerning the usage of the CAI program of Law were as follows:- 1) the contents aspect 1.1 women were mostly thought that the explanation of the contents was understandable; 1.2 women mostly agreed that the number of questions for the pre-test and post-test were appropriate(63.5%) 2) the presentation aspect 2.1 women mostly liked the precision of letters (96.2%) ; 2.2 women mostly liked pictures on the screen (80.8%) ; 3) the learning outcome aspect 3.1 women had been previously used computer - users (67.3%) ; 3.2 women were mostly interested in learning "the law" from the CAI program (69.2%) ; 3.3 women mostly understood the CAI program at the highest level (50.0%), and some understood from teachers (88.5%); 3.5 women mostly liked learning from the CAI program (82.7%); 3.6 women mostly spent time on learning the CAI program at the idle level, approximately 30-45 minutes (50%) and some spent time on learning the CAI program approximately 50 minutes and more (48.1%; 3.7 women were mostly thought that learning from the CAI program was suitable to learn some other topics further more (100%). 3. After developing the CAI program and using to the women, gain score of women was 23.14% which was higher than the setting criteria score this research. The average score of pre test and post test were 7.00 and 8.60 | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัย สถิต-สุรัตน์ ชันซื่อ | en |
dc.format.extent | 31245080 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สตรี | en |
dc.subject | การพัฒนาสตรี | en |
dc.subject | คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน | en |
dc.subject | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | en |
dc.title | การศึกษาการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกฎหมาย สำหรับสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน | en |
dc.title.alternative | A study of utilization of computer-assisted instructionn in law for women who attended non-formal education activities at the Association for the Promotion of the status of women | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | Archanya.R@chula.ac.th |