DSpace Repository

การเปรียบเทียบอัตราการตอบกลับ ความเร็วในการตอบกลับและความสมบูรณ์ในการตอบกลับระหว่างวิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีวิธีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าต่างกัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวิมล ว่องวาณิช
dc.contributor.author ธรรมรส ช่างไม้งาม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-08-06T07:22:24Z
dc.date.available 2020-08-06T07:22:24Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.issn 9743467378
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67401
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตอบกลับ ความเร็วในการตอบกลับ และความสมบูรณ์ในการตอบกลับแบบสอบถามระหว่างวิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าต่างกันโดยศกษากับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาที่ต่างกัน 4 สาขาวิชา (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ และสาขาวิชามนุษยศาสตร์) กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตจุฬาลงกรณ์ที่เช้าศกษาในปีการศึกษา 2541 จำนวน 3,114 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.กลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามทางไปรษณีย์มีอัตราการตอบกลับ (34.40%) สูงกว่ากลุ่มทีได้รับแบบสอบถามทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (7.66%) ประมาณ 4.5 เท่า 2. กลุ่มที่ได้รับการแจ้งให้ทราบทางไปรษณีย์มีอัตราการตอบกลับ (27.66%) สูงกว่ากลุ่ม ที่ได้รับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (20.53%) และสูงกว่ากลุ่มที'ไม่ได้รับการแจ้งให้ทราบล่างหน้า (14.89%) 3. กลุ่มที่ศึกษาอยู่ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (26.01%) มีอัตราการตอบกลับสูงกว่ากลุ่มที่ศึกษาอยู่ในสาขามนุษยศาสตร์ (22.22%) สูงกว่าสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (19.27%) และสาชาวิชาสังคมศาสตร์ (18 43%) 4. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการล่งแบบสอบถามกับสาขาวิชาต่ออัตราการตอบกลับ โดยพบว่าสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพน้อยกว่าสาขาอื่นในเรื่องอัตราการตอบกลับทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (29.1%) กับทางไปรษณีย์ (70.9%) 5. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการแจ้งให้ทราบล่วงหน้ากับสาขาวิชาต่ออัตราการตอบกลับ โดยพบว่าในทุกสาขาวิชามีอัตราการตอบกลับในกลุ่มที่ได้รับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทางไปรษณีย์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มที่ไม่ได้รับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ยกเว้นในสาขามนุษยศาสตร์ที่กลุ่มที่ไม่ได้รับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้ามีอัตราการตอบกลับสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทางไปรษณีย์ 6. วิธีการล่งแบบสอบถามล่งผลต่อความเร็วในการตอบกลับแบบสอบถาม โดยในกลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (ประมาณ 4 วัน) มีอัตราการตอบกลับสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (ประมาณ 8 วัน) 7. วิธีการส่งแบบสอบถาม รูปแบบการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และสาขาวิชา ไม่ส่งผลต่อความสมบูรณ์ในการตอบกลับแบบสอบถาม en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this research was to compare the response rate, response speed, and response completeness between questionnaires sending through mail and E-mail with different pre-notification method. The study was conducted with graduate students in 4 fields of study (bio-science, physical science, social science and humanity). The sample were 3,114 Chulalongkorn University graduate students Results of the study were as follows : 1. The response rate of sending through mail (34.40%) was higher than sending by E-mail (7.66%) about 4.5 times. 2. The response rate of sending through mail with pre-notification (27.66%) was higher than sending by E-mail with pre-notification (20.53%), and with non pre-notification (14.89%). 3. The response rate of students in physical science (26.01%) was higher than those of the students in humanity (22.22%), bio science (19.27%), and social science (18.43%), respectively. 4. There was the interaction between the sending methods and the field of study on the response rate. The difference of the response rate of sending through E-mail (29.1%) and mail (70.9%) of the students in physical science was less than the others. 5. There was the interaction between the pre-notification methods and the field of study on the response rate. The response rate of sending through mail with pre-notification in every field was higher than sending by Email with pre-notification and sending with non pre-notification, except for the response rate of sending with non pre-notification of the students in humanity was higher than sending by E-mail and mail with pre-notification and was higher than sending by mail one. 6. The sending method affected the speed of response. The response rate of sending by E-mail (about 4 days) was higher than sending by mail (about 8 days). 7. There was no interaction among the sending methods, the pre-notification methods, and the field of study on response completeness. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject แบบสอบถาม -- อัตราการตอบรับ en_US
dc.subject ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ -- อัตราการตอบรับ en_US
dc.subject การสำรวจทางไปรษณีย์ -- อัตราการตอบรับ en_US
dc.subject Questionnaire -- Response rate en_US
dc.subject Electronic mail systems -- Response rate en_US
dc.subject Mail surveys -- Response rate en_US
dc.title การเปรียบเทียบอัตราการตอบกลับ ความเร็วในการตอบกลับและความสมบูรณ์ในการตอบกลับระหว่างวิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีวิธีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าต่างกัน en_US
dc.title.alternative A comparison of response rate, response speed and response completeness between questionnaires sending methods via mail and E-mail with different pre-notification methods en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิจัยการศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Suwimon.W@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record