Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการใช้อำนาจของอนุญาโตตุลาการในการดำเนินกระบวน พิจารณาฝ่ายเดียวเมื่อคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เข้าร่วมกระบวนพิจารณาตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 โดยศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการใช้อำนาจดังกล่าว เพื่อมิให้อนุญาโตตุลาการดำเนินกระบวน พิจารณามิชอบเนื่องจากขัดต่อหลักความยุติธรรมในการดำเนินกระบวนพิจารณา กล่าวคือ ต้องพิจารณาว่าคู่กรณีต้อง ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้าในการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหรือการพิจารณาอนุญาโตตุลาการโดยชอบ และคู่กรณีไม่เข้า ร่วมกระบวนพิจารณาโดยปราศจากเหตุอันสมควร จากการศึกษาผู้เขียนเห็นว่า มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มิได้บัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการใช้อำนาจของอนุญาโตตุลาการในการดำเนินกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวเหมือนดังเช่นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศของคณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และกฎหมายการอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ อาจทำให้อนุญาโตตุลาการใช้อำนาจดังกล่าวไปในทางที่ผิด ส่งผลให้คำชี้ขาดโดยขาดนัดนั้นถูกเพิกถอนหรือถูกปฏิเสธในการบังคับตามคำชี้ขาดในต่างประเทศ ฉะนั้นควรแก้ไขเพิ่มเติมถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างชัดเจน นอกจากนั้นยังมุ่งศึกษาถึงปัญหาที่มักเกิดขึ้นในวิธีพิจารณาอนุญาโตตุลาการโดยขาดนัด คือ พฤติการณ์ของคู่กรณีที่จะถือว่าจงใจปฏิเสธเข้าร่วมกระบวนพิจารณา และบทบาทและแนวทางของอนุญาโตตุลาการในการตัดสินข้อ พิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานของคู่กรณีฝ่ายที่เข้าร่วมกระบวนพิจารณาเพียงฝ่ายเดียว เพื่อให้อนุญาโตตุลาการ ใช้อำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง และเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับตาม คำชี้ขาดโดยขาดนัด รวมถึงศึกษาบรรทัดฐานของศาลในประเทศต่างๆที่ยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ ต่างประเทศโดยขาดนัดภายใต้อนุสัญญานิวยอร์ก ค.ศ. 1958 เพื่อศาลในประเทศไทยยึดเป็นแนวบรรทัดฐานในการบังคับ ตามคำชี้ขาดดังกล่าวให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาดังกล่าวที่ต้องการให้ประเทศต่างๆยึดถือหลักเกณฑ์ในการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศไปในแนวทางเดียวกัน