DSpace Repository

การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์สำหรับชาวนาไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรชุลี อาชวอำรุง
dc.contributor.advisor เกษมศักดิ์ แสนโภชน์
dc.contributor.author ปานจิต โรจนวณิชชากร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2020-08-17T09:39:39Z
dc.date.available 2020-08-17T09:39:39Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741437862
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67545
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยที่ยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งชาวนาไทยและผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ให้ปลอดภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาหลักสูตรสำหรับชาวนาให้พลิกผันการทำนาเคมีให้เป็นการทำนาอินทรีย์อันเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญที่สุดในเมืองไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี 25 มิถุนายน 2548 เกี่ยวกับนโยบายปรับโครงสร้างการผลิตผลทางการเกษตร เพื่อให้ความยากจนหมดไปและแปลงภูมิปัญญาพื้นบ้านที่แฝงอยู่ในเรื่องวัฒนธรรมข้าวไทย สู่ความรู้ที่ชัดเจนเป็นสาธารณะ ข้อมูลในการวิจัยได้จากเอกสารที่ประมวลทั้งในภาคสนามและในหลักสูตรการ เกษตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวมทั้ง โครงการพัฒนาบุคลากรทางการเกษตร ซึ่งสนับสนุนโดยกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจและแบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ วิเคราะห์สาระร่วมกับการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัย พบว่า (1) การทำเกษตรอินทรีย์ในชุมชนที่สัมพันธ์กับบริการวิชาการท้องถิ่นและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จัดการอบรมให้แก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้นำชุมชนในท้องถิ่น เป็นลักษณะดั้งเดิม คือ การบรรยาย การอบรม และการประชุมวิชาการ (2) วัฏจักรการทำเกษตรอินทรีย์ชั้นเลิศในการทำนาข้าวเน้นความรู้วัฒนธรรมข้าวไทย การเสริมสร้างความรู้เกษตรกรในหมู่บ้าน และการให้ความสำคัญต่อการจัดการการตลาดและการเพิ่มพูนผลผลิต (3) กระบวนการทำเกษตรอินทรีย์ชั้นเลิศที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมข้าวไทย คือ ภูมิปัญญาไทย ความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับชาวนาไทย วิถีชีวิตพึ่งพาตนเอง พึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประเพณีต้านทานการดูดกลืนโดยเมือง การพัฒนาที่ดินและแหล่งน้ำและเทคโนโลยีสมัยใหม่ (4) หลักสูตรการฝึกอบรมการทำเกษตรอินทรีย์สำหรับชาวนาไทยพัฒนามาจากสาระ 4 ชุดวิชา คือ การผลิต การเข้าถึงแหล่งทุนและการจัดการการเงิน การตลาดเพื่อเพิ่มพูนผลผลิตจากการจัดการครบวัฏจักร และ วัฒนธรรมข้าวไทย ส่วนด้านการพัฒนาการสอนได้แนวทาง 5 ด้าน คือ 1) นโยบายปรับโครงสร้างการเกษตร 2) การประเมินตามสภาพที่แท้จริง 3) บูรณาการสาระข้าวอินทรีย์และวัฒนธรรมข้าวไทย 4) การสอนและการประเมินรูปโดยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล และ 5) การประเมินรวมโดยเน้นการเรียนรู้แบบนำตนเอง และ (5) การทดลองใช้หลักสูตรการสอนการฝึกอบรมโดยชาวนาเคมี จำนวน30 คน ที่มูลนิธิอีสานพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยผลการทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 01 และมีการติดตามผลสัมฤทธิ์ของชาวนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลัง 1 เดือน พบว่า มีการนำผลการอบรมไปประยุกต์ ใช้อย่างต่อเนื่องและได้ผลระดับเตรียมการ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ ควรมีการจัดหลักสูตรการสอนเกษตรอินทรีย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏให้ครบ วัฏจักรสำหรับนักศึกษาปกติและนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมให้คนระดับรากหญ้า และสร้างความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกับกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการวิจัยและพัฒนาตามวาระแห่งชาติต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative This research aimed at alleviating both Thai farmers' lifestyles and the organic rice consumers in safety. The objective was to develop a curriculum for rice farmers in shifting paradigm from chemical to organic farming which is the national agenda declared by the Thai cabinet on June 23, 2005, regarding policies on reconstructing agricultural produce to eradicate poverty and to make implicit local wisdom in Thai rice culture into explicit knowledge. Data collected were documents from both agricultural field studies and curricula in Rajabhat Universities, human resource development programs for agricultural staff sponsored by the Ministry of Agriculture and Corporatives. Instruments used were interview schedules, survey instruments and questionnaires. Data were analyzed by content analysis and factor analysis. Results of the study were: (1) Organic farming related to community service by Rajabhat Universities were directed to students and community leaders in traditional delivery by lecture, training programs and academic conferences. (2) Best practices in organic rice farming exphasized Thai rice cultural knowledge, improvement of agricultural knowledge in villages and stressing priorities in management, marketing and productivity. (3) Best practices in accordance with Thai rice culture were Thai local wisdom, attachment between the monarch as an institution and Thai rice farmers, self-contained lifestyles, reliance on the supranaturals and resistance to urban domination, land and water sources development and modern technology. (4) The curriculum for training Thai farmers in organic rice farming was developed from factor analysis resulting in 4 modules, namely, production, funding, marketing to increase productivity from the total cycle management and Thai rice culture. As for instruction, five approaches were laid bare, namely, agricultural reconstruction policies, authentic assessments, integration of organic rice farming with the Thai rice culture, differential learning in formative evaluation and self-directed summative evaluation. (5) A quasi-experimental study was conducted to test viability of the curriculum with thirty chemical rice farmers as subjects. The training was conducted at the Northeasten Development Foundation, Amphur Muang, Surin Province. The pretest and posttest scores of subjects were statistically significant at 01. After one month, a follow-up study was conducted and discovered continuous concrete application of the training in terms of preparation. Among recommendations suggested were development of a curriculum with the total cycle in Rajabhat Universities for regular students and application to train grassroot occupations. Furthermore, a consortium between Rajabhat Universities and relevant ministries in research and development according to the national agenda was encouraged. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.280
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การฝึกอบรม en_US
dc.subject การวางแผนหลักสูตร en_US
dc.subject เกษตรอินทรีย์ en_US
dc.subject ชาวนา -- ไทย en_US
dc.subject สถาบันอุดมศึกษา en_US
dc.subject สถาบันราชภัฏ en_US
dc.subject Training en_US
dc.subject Curriculum planning en_US
dc.subject Organic farming en_US
dc.subject Rice farmers -- Thailand en_US
dc.subject Universities and colleges en_US
dc.title การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์สำหรับชาวนาไทย en_US
dc.title.alternative Development of Rajabhat Universities' training curriculum on organic agriculture for Thai farmers en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline อุดมศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pornchulee.A@Chul.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2005.280


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record