DSpace Repository

การเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 : ศึกษาเฉพาะกรณีมาตรา 40(1)

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิชัยศักดิ์ หรยางกูร
dc.contributor.author บุตรี จันทร์แจ่ม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-08-19T07:09:27Z
dc.date.available 2020-08-19T07:09:27Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741735219
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67609
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องการเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 เฉพาะกรณีมาตรา 40(1)โดยจะศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญและหลักการของการเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ หลักพื้นฐานในการพิจารณาความสงบเรียบร้อยในการเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและแนว ทางการวินิจฉัยเหตุแห่งการเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ การเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นการที่ศาลเข้ามามีบทบาทในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยคู่ความซึ่งได้รับผลกระทบจากคำชี้ขาดนั้นจะดำเนินการคัดค้านคำชี้ขาดต่อศาลที่ทำการอนุญาโตตุลาการเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด ซึ่งการเพิกถอนคำชี้ขาดมีหลักมาจากการตรวจสอบคำชี้ขาดของศาลอันมีที่มาจากการใช้อำนาจรัฐควบคุมและกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการอนุญาโตตุลาการที่เกิดขึ้นในเขตอำนาจหรือในดินแดนของรัฐ ทั้งนี้การแทรกแซงของศาลในการอนุญาโตตุลาการจะต้องเป็นไปในลักษณะของการสร้างสมดุลระหว่างเสรีภาพของคู่สัญญาและการควบคุมความยุติธรรมของกระบวนการอนุญาโตตุลาการ นอกจากนี้ การเพิกถอนคำชี้ขาดยังมีหลักการสำคัญมาจากหลักความสงบเรียบร้อยซึ่งเป็นหลักที่ศาลใช้ควบคุมกระบวนการอนุญาโตตุลาการอันประกอบไปด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนาและมาตรฐาน ทางสังคมของรัฐใดรัฐหนึ่งที่แต่ละรัฐต้องการปกปักรักษาไว้ ดังนั้น หลักความสงบเรียบร้อยจึงมีความไม่แน่นอนจาก ปัจจัยสนับสนุนสองประการ ได้แก่ ปัจจัยด้านความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา สังคม หรือระบบ กฎหมายที่แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ และปัจจัยด้านเวลา กล่าวคือ คุณค่าและมาตรฐานของชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาได้ง่ายตามสภาพสังคมหรือผู้นำสังคม ความสงบเรียบร้อยที่ศาลใช้ในการควบคุมกระบวนการอนุญาโตตุลาการแบ่งได้สองประเภท ได้แก่ ความสงบ เรียบร้อยภายในประเทศ อันเป็นหลักสำคัญในการปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ และหลักความสงบเรียบร้อยระหว่าง ประเทศอันเป็นหลักความสงบเรียบร้อยภายในประเทศที่ใช้ในความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศเพื่อตอบสนอง ความต้องการทางการค้าระหว่างประเทศของคู่สัญญา ดังนั้น ความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศจึงมีแนวคิดที่จำกัดกว่าความสงบเรียบร้อยภายในประเทศโดยจะจำกัดที่การละเมิดแนวคิดพื้นฐานของกฎหมายด้านความยุติธรรมและศีลธรรม เช่น สิทธิที่จะได้รับฟังข้อมูลที่มีผลต่อการทำคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ การปฏิบัติต่อคู่สัญญาที่เท่าเทียมกัน ความเป็นกลางของอนุญาโตตุลาการ และความประพฤติชอบในการอนุญาโตตุลาการ en_US
dc.description.abstractalternative This thesis studies the setting aside of arbitral award under arbitration act B.E. 2002 on a case study of article 40(1). The thesis addresses the importance and principles of setting aside of arbitral award, public policy involvement and the ground of setting aside. Setting aside of arbitral award is the interference of competent court to resolve the damage from wrongful arbitral decision. Challenge of an arbitral award may be made a motion for setting aside to the competent court. The interference of the court must weigh between freedom of the parties and fairness of arbitration. In addition, court may use public policy to control arbitration resulted in setting aside of the award. The aspects of public policy concerning the arbitration are economy, society, politic, religion, and social standard. Public policy renders instability because: (1) the difference in economy, politic, religion, society, and law systems in each state, and (2) the timing, since value and social standard can change and evolve according to social situation and leaders at times. There are two types of public policy used by court to control arbitration which are domestic and international public policy. Domestic public policy plays a vital role in protecting state interests. International public policy is a domestic public policy applied in an international commercial relation. International public policy is more limited than domestic public policy as a result of fundamental of law in justice and good moral, such as the right to be heard, equal treatment, impartiality of arbitrator, and rightful conduct. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject อนุญาโตตุลาการ en_US
dc.subject อนุญาโตตุลาการ -- ไทย en_US
dc.subject พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 en_US
dc.subject Arbitrators en_US
dc.subject Arbitrators -- Thailand en_US
dc.title การเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 : ศึกษาเฉพาะกรณีมาตรา 40(1) en_US
dc.title.alternative Setting aside of the arbitral award under arbitration act B.E. 2002 : a case study of article 40(1) en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Phijaisakdi.H@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record