DSpace Repository

การพัฒนาคู่มือการประเมินและพัฒนาตนเองด้านภาวะผู้นำแบบชื่นชมตนเองของผู้บริหารโรงเรียน

Show simple item record

dc.contributor.advisor พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
dc.contributor.advisor สุวิมล ว่องวาณิช
dc.contributor.author ณัชนัน ศุภสิริสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-08-25T08:49:21Z
dc.date.available 2020-08-25T08:49:21Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67709
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ (1) เพื่อกำหนดองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบชื่นชมตนเองสำหรับใช้ในการพัฒนาเครื่องมือประเมินตนเอง (2) เพื่อพัฒนาวิธีการพัฒนาตนเอง และ (3) เพื่อพัฒนาคู่มือการประเมินและพัฒนาตนเองด้านภาวะผู้นำแบบชื่นชมตนเองสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาวิธีวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ระยะการวิจัย ได้พัฒนาคู่มือการประเมินและพัฒนาตนเอง โดยใช้การวิจัยเอกสารเพื่อกำหนดองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบชื่นชมตนเอง เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเครื่องมือประเมิน และออกแบบวิธีการพัฒนาตนเอง และใช้การวิจัยสำรวจเพื่อวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือประเมินด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ และวิเคราะห์ระดับของภาวะผู้นำแบบชื่นชมตนเองในกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งได้ให้ข้อมูลในการวิจัยนี้จำนวน 499 คน ระยะการพัฒนา นำคู่มือการประเมินและพัฒนาตนเองไปทดลองใช้โดยใช้การวิจัยกรณีศึกษา กรณีศึกษาเป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้าร่วมในการวิจัยด้วยความสมัครใจจำนวน 8 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติภาคบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนเปอร์เซ็นไทล์ สถิติภาคสรุปอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวน และการวิเคราะห์ไขว้ ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาคู่มือการประเมินและพัฒนาตนเอง จากการวิจัยเอกสารสามารถกำหนดองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบชื่นชมตนเองตามองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพผสมกับองค์ประกอบของบุคลิกภาพด้านภาวะชื่นชมตนเองได้ 5 องค์ประกอบ คือ คุณลักษณะการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์แบบชื่นชมตนเอง พฤติกรรมการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์แบบชื่นชมตนเอง การสร้างแรงบันดาลใจแบบชื่นชมตนเอง การกระตุ้นทางปัญญาแบบชื่นชมตนเอง และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลแบบชื่นชมตนเอง เครื่องมือประเมินตนเองที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยข้อรายการแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหาจากการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 16 คน ผลการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือพบว่ามีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.7741-0.8868 ค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในทั้งฉบับเท่ากับ 0.9782 มีความตรงเชิงโครงสร้างจากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และมีการสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยโดยใช้คะแนนเปอร็เซ็นไทล์สำหรับแปลผลระดับภาวะผู้นำแบบชื่นชมตนเองของผู้บริหารโรงเรียนจากกลุ่มตัวอย่าง 499 คนที่ได้จากการสำรวจด้วยแบบสอบถาม ผลการทดลองใช้คู่มือจากการวิจัยกรณีศึกษาพบว่าวิธีการพัฒนาตนเองด้านภาวะผู้นำแบบชื่นชมตนเองที่ใช้แนวคิดการกำกับตนเองด้วยวิธีการบันทึกอนุทินในการวิจัยนี้ได้ผลน่าพอใจ ข้อมูลจากการสะท้อนตนเองของกรณีศึกษาในสมุดบันทึกพฤติกรรมประมาณ 1-2 เดือน ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของภาวะผู้นำแบบชื่นชมตนเอง ประมาณร้อยละ 23.05 โดยเฉพาะในองค์ประกอบด้านการกระตุ้นทางปัญญา ผลการตรวจสอบคุณภาพของคู่มือจากผู้ทรงคุณวุฒิและกรณีศึกษาพบว่ามีความเหมาะสมมาก en_US
dc.description.abstractalternative Three objectives of this research were (1) to determine the components of narcissistic leadership and develop self-evaluation instruments; (2) to develop self-development method; and (3) to develop a manual for self-evaluation and development in narcissistic leadership for school administrators. The study used research and development method. At the research phase, the manual was developed by using documentary research to determine and construct narcissistic leadership components, evaluation instruments, and development method. Survey research was used to examine the quality of the evaluation instruments based on empirical data, analyze narcissistic leadership level of 499 school administrators from the office of basic education commission. At the development phase, case study research was employed to pilot the developed manual with 8 voluntary school administrators. Qualitative data were analyzed using content analysis. Quantitative data were analyzed through use of descriptive statistics, i.e. frequencies, mean, standard deviations, percentile; and inferential statistics using t-test, ANOVA, and cross-tabulation analysis. The results of the research phase study based on documentary analysis presented five component of narcissistic leadership based on transformational leadership theory integrated with narcissistic personality characteristics. The five subcomponents included idealized influence attributes, idealized influence behaviors, inspirational motivation, intellectual stimulation, and individualized consideration. The developed self-evaluation instruments consisted of 20 five-rating scale items. The content validity of the instruments was determined by 16 experts in the related fields. Based on quantitative analysis, it was found that item discriminations of the instruments ranged between 0.7741-0.8868. Internal consistency reliability was 0.9782. The instruments also had construct validity as a result of factor analysis. Percentile norm was developed for interpreting narcissistic leadership level of the school administrators based on 499 samples from the questionnaire survey. The pilot study based on the case study research showed that self-development method using self-regulation approach through diary method yielded satisfactory results. Within 1-2 months, data reflected in diary recording forms of the case studies indicated the increased changes in narcissistic leadership (23.05%), particularly in intellectual stimulation component. Result also showed that the developed manual was appropriate based on the opinions of experts and case studies en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.780
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาวะผู้นำ en_US
dc.subject ผู้บริหารโรงเรียน en_US
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.subject Leadership en_US
dc.subject School administrators en_US
dc.title การพัฒนาคู่มือการประเมินและพัฒนาตนเองด้านภาวะผู้นำแบบชื่นชมตนเองของผู้บริหารโรงเรียน en_US
dc.title.alternative Development of a manual for self evaluation and development in narcissistic leadership of school administrators en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline บริหารการศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor pruet.s@chula.ac.th
dc.email.advisor wsuwimon@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.780


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record