Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยศึกษาพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ.2510- 2548 โดยแบ่งเป็น 4 ปริบททางการมือง ได้แก่ ปริบทแรกสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึง เหตุ การณ์ 14 ตุลาคม 2516 ปริบทที่สองสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ จนถึง เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ปริบทที่สามสมัยหลังเหตุการณ์ ตุลาคม 2519 จนถึง รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และปริบทที่สี่ สมัยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยศึกษาจากเอกลารขอสำนักราชเลขาธิการ และเอกสารอื่น ๆ วิธีการ วิจัยเป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ตัวบท ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดสำคัญของพระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษานั้น มีสัดส่วนและประเด็นที่แตกต่างกันตามปริบทของบ้านมือง โดยพระ ราชดำรัสทั้งหมดตั้งแต่ พ.ศ. 2510- 2548 นั้น มีสัดส่วนของแนวคิดสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้ พระราช กรณียกิจ ร้อยละ 30.93 คุณธรรม ร้อยละ 27.84 เหตุการณ์บ้านมือง ร้อยละ 14.42 สถาบันพระมหา กษัตริย์ ร้อยละ 10.31 สถาบันชาติ และสถาบันศาสนา ร้อยละ 4.12 ในด้านกลวิธีการสื่อสารนั้น สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมีกลวิธีในการสื่อสารแนวคิดสำคัญอย่างมีวาทศิลป์ โดยทรงใช้วิธี การที่หลากหลาย ทรงใช้การสื่อสารที่บางส่วนเน้นอารมณ์ และบางส่วนอ้างอิง ซึ่งถือเป็นการสื่อสารแบบ ผสมผสาน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามปริบทบ้านเมือง สรุปได้วพระราชดำรัสของพระองค์ เนื่องในวัน เฉลิมพระชนมพรรษา สะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้นวาทศิลป์ และบทบาทหน้าที่ของพระ องค์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงสอดคล้องไปตามปริบทของบ้านเมืองได้อย่างเหมาะสม สมเป็นราชินีนักปกครอง แห่ง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อย่างแท้จริง