Abstract:
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกลยุทธ์ในการโน้มน้าวใจที่หลวงวิจิตร- วาทการใช้ในการสื่อสารผ่านบทละคร ในสมัยในจอมพล ป. พิบูลสงครามทั้งนี้ผู้วิจัยได้ กำหนด วัตถุประสงค์การวิจัยไว้ 5 ประการ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยทางปริบทที่มีผลต่อประดิษฐการ (invention) ในบทละครของหลวงวิจิตรวาทการ เพื่อศึกษาแนวคิดและค่านิยมหลักในละครที่ได้รับความนิยมสูงสุดในละครของหลวงวิจิตรวาทการ เพื่อศึกษาถึงกระบวนการสร้างค่านิยมผ่านบทละครให้กับคนไทยในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม รวมทั้งศึกษากลวิธีการสื่อสารผ่านค่านิยมและหาข้อสรุปว่า กลวิธีใดสามารถโน้มน้าวใจเป็นที่ระลึกจดจำของผู้รับสารได้มากที่สุด งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิเคราะห์โครงสร้างของละครโดยการสัมภาษณ์อย่างเจาะลึก (Indepth Interview) และการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางปริบทที่มีผลต่อประดิษฐการ (invention) ในบทละคร ของหลวงวิจิตรวาทการมากที่สุดคือ ปัจจัยทางการเมืองการปกครอง บทละครที่ได้รับ ความนิยมสูงสุดของหลวงวิจิตรวาทการมีแนวคิดหลักในการปลูกฝังค่านิยมรักชาติ บท ละครประสบความสำเร็จในการสร้างค่านิยมด้วยการสร้างความสะเทือนใจก่อน แล้วจึง ตามด้วยสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการ หรือในบางเรื่องอาจใช้ความบันเทิงและเหตุผลเป็นตัวนำใน การส่งสาร โดยสื่อสารค่านิยมเหล่านี้ผ่าน ฉากหน้าม่าน บทสนทนา เนื้อเรื่อง บุคลิกของ ตัวละครและบทเพลงเป็นส่วนใหญ่ ผู้รับสารที่ได้ชมละครจะประทับใจและจดจำเพลงที่ใช้ ประกอบละครได้มากที่สุด