dc.contributor.author | สุวิมล ว่องวาณิช | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2008-05-06T03:30:51Z | |
dc.date.available | 2008-05-06T03:30:51Z | |
dc.date.issued | 2542 | |
dc.identifier.isbn | 9743342583 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6813 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในวิทยานิพนธ์ของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยวิทยานิพนธ์ที่ใช้เทคนิคการประเมนิความต้องการจำเป็นของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ทำขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2507-2540 จำนวนทั้งสิ้น 233 เรื่อง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูล มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2541 ผลการวิจัยพบว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นมีปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2507-2534 โดยในช่วง 2525-2534 มีงานวิจัยเฉลี่ยปีละ 13 เรื่อง จากเดิมที่เคยทำก่อนหน้านั้นเฉลี่ยปีละ 2-3 เรื่อง แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2535-2540 เริ่มมีปริมาณลดลงเล็กน้อยเฉลี่ยปีละ 12 เรื่อง แต่ใน ภาควิชาที่ทำวิจัยเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ภาควิชาโสตทัศนศึกษา (ร้อยละ 25) รองลงมาเป็นภาควิชาบริหารการศึกษา (ร้อยละ 19) และภาควิชาพลศึกษา (ร้อยละ 18) นอกจากนี้ยังพบว่ามีการศึกษาในเนื้อหาที่เกี่ยวกับระดับมัธยมศึกษามากที่สุด (ร้อยละ 31) รองลงมาเป็นการศึกษาความต้องการจำเป็นในองค์กร ชุมชน หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานต่าง ๆ (ร้อยละ 22) และการศึกษาในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 20) งานวิจัยส่วนใหญ่ให้นิยามความต้องการจำเป็นว่าเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงซึ่งหากไม่ได้รับการสนองตอบจะทำให้เกิดสภาวะที่ไม่พึงประสงค์ โดยมีถึงร้อละ 90 งานวิจัยเหล่านี้มีการใช้คำในวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่าเป็นการศึกษา "ความต้องการ" มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52 รอลงมาเป็นการศึกษา "ปัญหากับความต้องการ" (ร้อยละ 16) และการศึกษา "สภาพปัญหา ความต้องการ" (ร้อยละ 15) สำหรับงานวิจัยใช้คำว่าเพื่อศึกษา "ความต้องการจำเป็น" (needs) มีเพียง 7 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 3 เท่านั้น ในด้านเนื้อหาสาระที่มีการวิจัยนั้นพบว่ามีการศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด (ร้อยละ 25) รองลงมาเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร (ร้อยละ21) การนิเทศการสอน (ร้อยละ 19) และการพัฒนาองค์กร (ร้อยละ 10) ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาความต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการ (service provider) รวมทั้งหมดประมาณร้อยละ 76 โดยเป็นความต้องการของครูอาจารย์มากที่สุด (ร้อยละ 75) ผู้บริหารการศึกษา (ร้อยละ 15) และศึกษานิเทศก์ (ร้อยละ 4) และสำหรับการศึกษาความต้องการจำเป็นของกลุ่มผู้รับบริการ (service receiver) มีร้อยละ 30 โดยเป็นความต้องการจำเป็นของนักเรียน (ร้อยละ 13) ผู้ปกครอง (ร้อยละ 5) และประชาชนทั่วไป (ร้อยละ 12) งานวิจัยที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นความต้องการจำเป็นระดับกลุ่มบุคคล (ร้อยละ 79) และระดับองค์กร (ร้อยละ 21) นอกจากนี้งานวิจัยประมาณร้อยละ 73 ศึกษาความต้องการด้านกระบวนการและปัจจัย (quasi needs) ที่เหลือร้อยละ 27 เป็นการศึกษาความต้องการด้านผลผลิต (real needs) ผลการวิจัยพบว่างานวิจัยส่วนใหญ่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจด้วยแบบสอบถาม (ร้อยละ 96) รองลงมาใช้วิธีสัมภาษณ์ (ร้อยละ 14) และใช้กระบวนการกลุ่ม (group process) มีร้อยละ 1 ทั้งนี้มีงานวิจัยหลายเรื่องใช้วิธีการเก็บข้อมูลมากกว่าหนึ่งวิธี เครื่องมือที่ใช้มากที่สุดในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม (ร้อยละ 91) รองลงมาเป็นแบบสัมภาษณ์ (ร้อยละ 18) รูปแบบของเครื่องมือในงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นแบบการตอบสนองเดี่ยว (single-response format) (ร้อยละ 81) รองลงมาเป็นแบบการตอบสนองคู่ (duel-response format) (ร้อยละ 10) รูปแบบการตอบของเครื่องมือในการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นแบบมาตรประมาณค่า (ร้อยละ79) รองลงมาเป็นชนิดปลายเปิด (ร้อยละ 60) และที่เป็นแบบสำรวจรายการ (ร้อยละ 31) ในด้านประเภทของข้อมูลในงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ (ร้อยละ 60) งานวิจัยเพียงจำนวน 4 เรื่องเท่านั้น (ร้อยละ 2) ที่ทำการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ ส่วนงานวิจัยที่ทำการศึกษาข้อมูลแบบผสมระหว่างเชิงคุณภาพและปริมาณ มีจำนวน 90 เรื่อง (ร้อยละ 39) ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าส่วนใหญ่ทำการแยกวิเคราะห์ข้อมูลตามธรรมชาติของข้อมูล กล่าวคือ เครื่องมือวิจัยแบบตอบสนองเดี่ยว (single-response format) ซึ่งเป็นมาตรประมาณค่า วิเคราะห์โดยใช้สถิติภาคบรรยาย ได้แก่ การใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากที่สุด (ร้อยละ 43) การวิเคราะห์โดยการรายงานค่าความถี่และร้อยละมีประมาณร้อยละ 17 และที่ใช้ลักษณะผสมคือมีทั้งร้อยละ และค่าเฉลี่ยมีประมาณร้อยละ 29 สำหรับรูปแบบแบบสอบถามปลายเปิดจะใช้การวิเคราะห์โดยวิธีการบรรยาย ด้านการนำเสนอข้อมูลพบว่าร้อยละ 69 ของงานวิจัยนำเสนอข้อมูลโดยการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และมีงานวิจัยที่ไม่ได้มีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นร้อยละ 31 โดยงานวิจัยกลุ่มนี้นำเสนอแต่ค่าสถิติ เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อยละ แต่อย่างเดียว ปริมาณงานวิจัยที่เกี่ยวกับการศึกษาความต้องการจำเป็นของแต่ละภาควิชาในแต่ละช่วงปีมีแนวโน้มที่ไม่เหมือนกัน ผลการวิจัยพบว่าภาควิชาบริหารการศึกษา ประถมศึกษา โสตทัศนศึกษา และสารัตถศึกษา จะมีปริมาณงานวิจัยที่เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นไม่คงที่แน่นอน ในขณะที่งานวิจัยของงานภาควิชาอุดมศึกษาและการศึกษานอระบบโรงเรียนจะมีปริมาณค่อนข้างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา สำหรับงานวิจัยของภาควิชาวิจัยการศึกษา มัธยมศึกษาและศิลปศึกษา มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่งานสิจัยของภาควิชาภลศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าเนื้อหาสาระที่ทำการศึกษาในแต่ละช่วงปีมีลักษณะไม่แน่นอน ทุกภาควิชาจะทำการศึกษาความต้องการของกลุ่มครูอาจารย์เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นภาควิชาการศึกษานอกระบบ จะทำการศึกษาความต้องการจำเป็นของกลุ่มประชาชนมากกว่า ภาควิชาประถมศึกษา มีงานวิจัยที่ศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและการพัฒนาบุคลากร สำหรับภาควิชามัธยมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรและการนิเทศการศึกษา ส่วนภาควิชาวิจัยการศึกษาและโสตทัศนศึกษามีการทำวิจัยด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สำหรับภาควิชาบริหารการศึกษาส่วนใหญ่ทำวิจัยเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา ในขณะที่ภาควิชาพลศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบโรงเรียนมีการทำวิจัยกระจายในเนื้อหาสาระที่หลากหลาย เมื่อพิจารณาวิธีการที่ใช้ในการศึกษาความต้องการจำเป็นพบว่าไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยของภาควิชาใด ทำในช่วงปีใด ส่วนใหญ่ใช้วิธีการสำรวจในการศึกษาความต้องการจำเป็น โดยรูปแบบของเคร่าองมือจะเป็นแบบสอบถามเป็นส่วนใหญ่ และเป็นแบบการตอบสนองเดี่ยว นอกจากนี้ยังพบว่าไม่ว่าจะทำการศึกษาความต้องการจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายใด นิยามความต้องการจำเป็นเป็นแบบใด ใช้คำในวัตถุประสงค์แบบใดก็ตาม หรือจะทำการศึกษาความต้องการจำเป็นในเนื้อหาสาระใดพบว่าใช้รูปแบบการตอบสนองเดี่ยว โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปมาตรประมาณค่า ผลการวิจัยเกี่ยวกับขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้พบว่า ขนาดของกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กับประเภทของกลุ่มตัวอย่าง หากเป็นการศึกษาในกลุ่มนักเรียน ส่วนใหญ่ใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดมากกว่า 600 คน ในกลุ่มของครูอาจารย์ใช้กลุ่มตัวอย่างขนาด 101-300 คน และ 301-600 คน สำหรับการวิจัยในกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ใช้กลุ่มตัวอย่างขนาด 301-600 คน นอกจากนี้ยังพบว่าการศึกษากับกลุ่มนักเรียน ผู้ปกครอง และศึกษานิเทศก์ นั้น ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบที่ไม่ใช้โอกาสความน่าจะเป็น ส่วนการศึกษากับกลุ่มครูและผู้บริหาร จะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างง่ายเป็นส่วนใหญ่ ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่าวานวิจัยส่วนใหญ่ทำไม่ครบทั้ง 3 ขั้นตอนตามที่ควรจะเป็นในกระบวนการประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์ (complete needs assessment process) ดำเนินการเพียงขั้นตอนการระบุความต้องการจำเป็น (needs identification) ส่วนอีกสองขั้นตอนที่เหลือ คือ ขั้นตอนของการวิเคราะห์ความต้องการ (needs analysis) และขั้นของประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อระบุความต้องการจำเป็นที่สำคัญที่สุด (needs assessment) ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการดำเนินการ | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to synthesize needs assessment techniques used in students' theses of Faculty of Education in Chulalongkorn University. The research sample consisted of 233 needs assessment-related theses conducted during 2507-2540 B.E. The research instrument was recording form. Data were collected during June-August 2541 B.E. It was found that the amount of theses relating to this topic increased during 2507-2534 B.E. In 2525-2534 B.E., on the average 13 research titles were conducted per year whereas only 2-3 per year were found before 2520 B.E. During 2535-2540 B.E., theses in this topic decreased a little bit with the result of 12 research titles per year. Most of the theses in this area were found in the Department of Audio-Visual Education (25%), Education Administration (19%), and Physical Education (18%). In addition, most of the subject matter conducted in the theses were related to the needs in secondary education level (31%), the needs of organization, community and private agencies (22%), and the needs in elementary education level (20%), respectively. Most theses defined the need as the solution, if unsolved would result in unsatisfactory situation. Ninety three percent of the theses used the terms in research objectives as "want" (52%), " problems and want" (16%), and "state, problem and want" (15%). Only 7 theses (3%) used the word "needs" The subject matter that most students performed were organizing teaching and learning activities (25%), staff development (21%), teaching supervision (19%), and organization development (10%). Most of the theses studied the needs of service providers (76%). They were the needs of teachers (57%), administrators (15%), and supervisors (4%). The rest of them were the needs of service receivers (30%). They consisted of the needs of students (13%), parents (5%), and people (12%). Most of the needs were assessed at the individual level (79%) and organizational level (21%). Moreover, it was also found that approximately 73% were quasi-needs and real-needs (27%), respectively. Data collection techniques used in the theses were questionnaire survey (96%), interview (14%), and group process (1%). Most research employed multi-methods. The research instrument mostly used were questionnaire (91%) and interview schedule (18%). The instruments were mostly single-response format questionnaires (81%), and only 10% were duel-response format. Likert type rating scale was mostly found in the instrument (79%), along with open-ended questions (60%), checklist (31%), respectively. Sixty percent used quantitative data with only 2% using qualitative data. Thirty nine percent or 90 thesis titles used mixed data type (quantitative and qualitative data). As for data analysis, the statistical methods were employed based on the nature of the response format of the instrument. The single-responses format questionnaires with rating scale were analyzed by descriptive statistics, such as mean and standard deviation (43%), frequencies and percentage (17%), and mixed methods-frequencies and percentage (17%). For the open-ended questionnaires, descriptive method or content analysis was employed (29%). Sixty nine percent presented the needs with priority setting while 31% presented with non-prioritized needs. The amount of needs assessment-related theses conducted in each department were not quite different in trends each year. In the Department of Educational Administration, Elementary Education, Audio-Visual Education and Foundation of Education, the number of theses were conducted inconsistently at each period of years. While the number of theses in the Department of Higher Education and Non-formal Education was quite constant. The trend of the number of needs assessment related-theses in the Department of Education Research and Secondary Education was decreased, while those of the Department of Physical Education was increased. When classified the theses by subject matter, it was found that students in all departments mostly studied the needs of service providers, except the Department of Non-formal Education in which the needs of the people were studied. The Department of Elementary Education concentrated more on the needs relating to the development of teaching and learning activities and staff development. The Department of Secondary Education focused on staff development and educational supervision needs. The Department of Educational Research and Art Education emphasized on staff development needs. The Department of Foundation of Education studied the needs of teaching and learning activity organization. Whereas, the Department of Educational Administration studied educational supervision needs. The Department of Physical Education, Higher Education, and Non-formal Education sparsely conducted in variety of needs. Results also showed that most theses, no matter what department or in what year, used questionnaires as a main research instrument with single-response format. It was found that, regardless of whose needs to be assessed, how needs were defined, and what words used inresearch objectives, the instruments employed were single-response format with Likert type rating scale. The findings revealed that the sample size was related to the type of the sample unit. For student population, the sample size was greater than 600 subjects. Whereas in teacher population, the sample size was in the range of 101-300 and 301-600 subjects. For the population of general people, 301-600 sample size was mostly found. In addition, most theses employed non-probability sampling in the population of students, parents and supervisors. Simple random sampling was employed in the population of teachers and administrators. The synthesis results indicated that most of the theses did not employ 3 stages of a complete needs assessment process which should be done. Most theses conducted only the first stage: needs identification stage. The remaining two stages, i.e. needs analysis and needs assessment stages were rarely found in the theses. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยเอกฤทธิ์ ประดิษฐ์สุวรรณ ประจำปี พ.ศ. 2541 | en |
dc.format.extent | 14498618 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- นิสิต | en |
dc.subject | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ | en |
dc.subject | การประเมินความต้องการจำเป็น | en |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ | en |
dc.title | การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็น ในวิทยานิพนธ์ของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย | en |
dc.title.alternative | A synthesis of needs assessment techniques used in students' theses of faculty of Education, Chulalongkorn University | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | wsuwimon@chula.ac.th |