DSpace Repository

ปัจจัยในการเสนอข่าวสารผิดพลาดและการยอมรับของหนังสือพิมพ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุกัญญา สุดบรรทัด
dc.contributor.author อภิชาต ศักดิเศรษฐ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-10-05T04:18:49Z
dc.date.available 2020-10-05T04:18:49Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743342699
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68279
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ รวมถึงการแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้น งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาจากกรณีศึกษาการเสนอข่าวผิดพลาดในหนังสือพิมพ์รายวันในช่วงปี พ.ศ. 2542 รวม 9 ชื่อฉบับรวม 18 กรณี และการสัมภาษณ์เชิงลึกนักหนังสือพิมพ์ระดับบรรณาธิการจากหนังสือพิมพ์ 9 ชื่อฉบับ ผู้ได้รับผลกระทบจากการเสนอข่าวผิดพลาด 9 คน และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน 2 คน ผลการวิจัยพบว่าลักษณะความผิดพลาดในการเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์มี 3 ประเภทคือ 1. การใช้ภาษา 2. การตีความหรือหยิบประเด็น และ 3. การอ้างอิงแหล่งข่าวหรือข้อมูล ปัจจัยที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ ประกอบด้วย นักข่าว แหล่งข่าว เงื่อนไขเวลา และนโยบายองค์กร ทั้งนี้นักข่าวถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความผิดพลาด โดยมีปัจจัยแวดล้อมสำคัญคือ มาตรฐานทางวิชาชีพ และวัฒนธรรมทางสังคม เป็นตัวกำหนด เชื่อมโยงถึงนโยบายองค์กรที่มีบทบาทอย่างสูงในการชี้นำการทำงานของนักข่าว ส่วนแหล่งข่าว หรือเงื่อนไขเวลา เป็นเพียงปัจจัยส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตข่าวสารที่สามารถควบคุมได้โดยนักข่าว สำหรับเงื่อนไขการยอมรับหรือไม่ยอมรับผิดเมื่อหนังสือพิมพ์เสนอข่าวผิดพลาด ขึ้นอยู่กับ จิตสำนึกของนักหนังสือพิมพ์เองเป็นสำคัญ โดยจะพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี ผู้ได้รับผลกระทบนโยบายองค์กร รวมทั้งกฎเกณฑ์ข้อบังคับทางกฎหมายและจริยธรรม โดยรูปแบบที่หนังสือพิมพ์ใช้ในการยอมรับผิดคือ การลงจดหมายโต้แย้ง ประกาศชี้แจง ลงข่าวแก้ไข ล้อมกรอบขออภัย และยุติการเสนอเนื้อหาที่ผิดพลาด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองกับผู้เสียหายเป็นสำคัญ ส่วนรูปแบบการไม่ยอมรับผิดประกอบด้วย การไม่เสนอคำชี้แจงจากผู้โต้แย้ง เสนอข่าวหรือข้อความตอบได้ผู้โต้แย้ง และเสนอข่าวหรือข้อความยืนยันในข้อเท็จจริงเดิมต่อไป ในประเด็นวิธีการป้องกันความผิดพลาดในการเสนอข่าวสาร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ผู้ได้รับผลกระทบ และนักวิชาการ เห็นร่วมกันว่า จะต้องเร่งปรับปรุงมาตรฐานวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักข่าวให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานข่าวอย่างแท้จริง ทั้งนี้ผู้ได้รับผลกระกระทบและนักวิชาการเสนอว่าถึงเวลาที่ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์จะต้องมีใบประกอบอาชีพตามกฎหมาย
dc.description.abstractalternative The main objective of this research was to study the factors of incorrect reporting and the acceptance of the newspapers. The research was designed to collect data by analyzing eighteen incorrect reporting cases from nine Thai daily newspapers published in 1999. Furthermore, data were collected by depth-interview nine editors of those newspapers, nine injured persons and two media academics. The main objective of this research was to study the factors of incorrect reporting and the acceptance of the newspapers. The research was designed to collect data by analyzing eighteen incorrect reporting cases from nine Thai daily newspapers published in 1999. Furthermore, data were collected by depth-interview nine editors of those newspapers, nine injured persons and two media academics. The acceptance or refusal incorrect reporting is importantly depended on journalist’s awareness of facts, injured persons, newspaper policies, legal matters and morality. There are many ways that the newspapers use to express their concern to injured persons, depending on how they negotiate, such as printing an argument letters, corrections, apology from the defendant in newspaper or stop reporting an incorrect issue. On the other hand, they will continue to report or publish that issue and deny to print a defendant’s argument if they believe that it is correct. In the opinions of news editors, injured persons and media academics, they all agree that they should improve a journalistic standard for increasing developing journalists’ knowledge in any field and reporting skill for preventing an incorrect reporting. Moreover, injured persons and media academics suggest that it is time for the journalist to have a license.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ข่าว
dc.subject หนังสือพิมพ์
dc.subject การสื่อข่าวและการเขียนข่าว
dc.subject communications
dc.subject information
dc.title ปัจจัยในการเสนอข่าวสารผิดพลาดและการยอมรับของหนังสือพิมพ์
dc.title.alternative The factors of incorrect reporting and the acceptance of the newspapers
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การหนังสือพิมพ์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record