dc.contributor.advisor | ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ | |
dc.contributor.author | หฤทัย รามสูต | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-10-05T07:42:03Z | |
dc.date.available | 2020-10-05T07:42:03Z | |
dc.date.issued | 2542 | |
dc.identifier.isbn | 9743342648 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68288 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมด้านเนื้อหาและวิธีการนำเสนอภาพเยาวชน ใน วรรณกรรมสำหรับเยาวชนอายุระหว่าง 14 - 18 ปี ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541 เปรียบเทียบการเสนอภาพของเยาวชนในวรรณกรรมเยาวชนของไทย กับวรรณกรรมเยาวชนที่แปลจาก ภาษาต่างประเทศ และศึกษาถึงปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการเลือกนำเสนอวรรณกรรมเยาวชนทั้งสองประเภท จากทรรศนะและประสบการณ์ของบรรณาธิการสำนักพิมพ์ โดยใช้วิธี การวิเคราะห์เนื้อหาวรรณกรรมที่มีคุณ สมบัติตรงตามที่กำหนดทั้งหมด 146 ชื่อเล่ม ด้วยแนวคิดและวิธีการทางสัญญวิทยา รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก บรรณาธิการสำนักพิมพ์ 5 แห่งที่ตีพิมพ์วรรณกรรมเยาวชนมากที่สุดในตลาดวรรณกรรมเยาวชนของไทย ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเยาวชนของไทยมีจำนวนวรรณกรรมประเภทเรื่องแนวสมจริงมากกว่าเรื่องแนวจินตนาการอย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 83.57 ต่อ ร้อยละ 13.43) ในขณะที่ วรรณกรรมเยาวชนแปลจากภาษาต่างประเทศ มีจำนวนวรรณกรรมทั้งสองประเภทหลักใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 44.30 ต่อร้อยละ 55.70) การเสนอภาพเยาวชนในวรรณกรรมเยาวชนไทย ส่วนใหญ่เสนอเรื่องที่เกิดขึ้นในชนบท ตัวละครเยาวชนส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในชนบทเน้นการแสดงปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นรูปธรรม และเสนอปัญหาซ้ำ ๆ อย่างตรงไป ตรงมาผ่านบทบรรยายหรือตัวละคร การเล่าเรื่องในลักษณะที่ซ้ำรอยเดิมทำให้ไม่เอื้อต่อการพัฒนาตัวละคร นอกจากนั้นยังพบว่าตัวละครเยาวชนและผู้ใหญ่ แสดงบทบาทต่อกันและกันในฐานะ 'ผู้รับ' และ 'ผู้ให้’ ซึ่งทำให้ เยาวชนไทยมักตกเป็นฝ่ายรับ (passive) ของสกานการณ์ ในขณะที่ ในวรรณกรรมเยาวชนต่างประเทศจะแสดงปัญหาอย่างเป็นนามธรรมกว่า และมีความหลากหลายของประเด็นและวิธีการนำเสนอมากกว่า มีการเล่าเรื่องที่ก้าวหน้าและเอื้อต่อการพัฒนาตัวละครมากกว่า โดยตัวละครเยาวชนและผู้ใหญ่มีโอกาสแสดงบทบาทผู้ให้และผู้รับได้เท่าเทียมกัน โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ บรรณาธิการอธิบายปัจจัยเบื้องหลังลักษณะของวรรณกรรมเยาวชนไทยว่า ตลาดวรรณกรรมเยาวชน ไทยยังแคบเนื่องจากนักเขียนยังไม่เข้าใจในเยาวชน จึงมักเสนอเรื่องโดยให้การอบรมสั่งสอนอย่างตรงไปตรงมา เพราะเห็นว่าถูกใจผู้ปกครองและบรรณารักษ์ นอกจากนั้น งานเขียน ลักษณะนี้ยังมีโอกาสได้รับรางวัลมากขึ้นด้วย | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study the condition in forms and contents of the portrayal of youth in children's literature, both Thai and translated ones, which were targeted for young people aged between 14 - 18 and were published in Thailand between 1996 - 1998. Children's books with these attributes (146 issues) were analyzed comparatively; focusing on portrayal of youth in Thai children's literature and in those translated ones from different cultures, using Semiotics Structuralism approach. Furthermore, 5 editors from five most popular publishing houses in Thailand were in-depth interviewed to find the factors that affected the condition and the editors’ decision to publish the books. Research findings showed that Thai children’s literatures were much more in the realistic genres than the fantasy ones (83.57% vs. 13.43 %), meanwhile translated children’s literatures were quite as much in both (44.30% vs. 55.70%). Thai youth in Thai stories were mostly portrayed in countryside set, where they were born and brought up. Most of the stories emphasized on repetitious objective problems caused by external factors, which were presented straightforwardly through narration and dialogues. The lack of progressing in narratives led to the lack of character development. Moreover, it was found that the young and the grown-up characters in Thai children’s literatures always behaved toward each other in the role of 'receiver' and 'giver', which made Thai youth seemed passive in most situations. On the contrary, translated children’s literatures were likely to present more subjective problems and more various in topics and presentation. More progressing in narratives provided more chances of character development. And, the young and the grown-up characters had more equal chances to play the role of either ‘giver’ or ‘receiver’, depending on circumstances. The editors explained that the main factor of Thai children’s literatures’ condition was the writers' lack of understanding in youth, so the stories were written to encourage social and ethical values directly, for they pleased parents and librarians. in addition, this kind of stories tended to have more opportunities to receive national book awards. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | วรรณกรรมสำหรับเด็ก | |
dc.subject | วรรณกรรมสำหรับวัยรุ่น | |
dc.subject | ความสนใจในการอ่าน | |
dc.subject | สัญศาสตร์ | |
dc.subject | การวิเคราะห์เนื้อหา | |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบการเสนอภาพเยาวชนในวรรณกรรมเยาวชนต่างวัฒนธรรม | |
dc.title.alternative | A comparative study on portrayal of youth in children's literature from different cultures | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |