DSpace Repository

การเปรียบเทียบความสามารถในการเสิร์ฟแบดมินตัน ระหว่างกลุ่มที่ฝึกสมาธิและกลุ่มที่มีการตั้งเป้าหมาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิลปชัย สุวรรณธาดา
dc.contributor.author เอกรัตน์ ควรศิริ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-10-12T01:53:14Z
dc.date.available 2020-10-12T01:53:14Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743348328
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68519
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการตั้งเป้าหมายและการฝึกสมาธิที่มีผลต่อการเสิร์ฟแบดมินตัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสายน้ำผึ้งปีการศึกษา 2542 จำนวน 45 คน นำมาทดสอบความสามารถในการเสิร์ฟแบดมินตัน โดยใช้แบบทดสอบเสิร์ฟลูกหลัง คอร์ทของพลู เพื่อจัดความสามารถในการเสิร์ฟให้มีค่าใกล้เคียงกันแล้วทำการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 15 คน คือ กลุ่มฝึกเสิร์ฟแบดมินตันควบคู่กับการตั้งเป้าหมาย กลุ่มฝึกเสิร์ฟแบดมินตันควบคู่กับการฝึกสมาธิ และกลุ่มฝึกเสิร์ฟแบดมินตันเพียงอย่างเดียว ทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ทุกกลุ่มได้รับการทดสอบความสามารถในการเสิร์ฟแบดมินตัน ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึก 2 สัปดาห์, 4 สัปดาห์, 6 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ,วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของเซฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการเสิร์ฟแบดมินตัน ระหว่างกลุ่มฝึกเสิร์ฟแบดมินตันควบคู่กับการตั้งเป้าหมายกลุ่มฝึกเสิร์ฟแบดมินตันควบคู่กับการฝึกสมาธิ และกลุ่มฝึกเสิร์ฟแบดมินตันเพียงอย่างเดียว ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึก 2 สัปดาห์, 4 สัปดาห์, 6 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ 2. ความสามารถในการเสิร์ฟแบดมินตันของทั้ง 3 กลุ่ม ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ สูงกว่าความสามารถในการเสิร์ฟแบดมินตัน ก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to compare effects of goal setting and meditation on the service perfomance of badminton. Samples were 45 female students in mathayom suksa four of Saynumpheung school in 1999. They were divided equally into three groups. The first group practiced badminton service for 30 minutes plus 10 minutes of goal setting. The second group practiced badminton service for 30 minutes plus 10 minutes of meditation and the last group practiced badminton service only for 30 minutes. The subjects in three groups practiced 3 days a week for 8 weeks. They were tested on service performance of badminton at the pre-test, 2nd, 4th, 6th and 8th week of the practice period. The obtained data were analized in terms of means and standard deviation. One-way repeated analysis of variance, one-way analysis of variance and Scheffe’ test were employed to determine significant differences of means. The results were as follows: 1. The service performance of badminton among three groups were not significant different at the per-test, after 2nd, 4th, 6th and 8th week test period, at the .05 level. 2. The service perfomance of badminton of three groups were significantly increased after the 8th week test period, at the .05 level.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject สมาธิ
dc.subject เป้าหมาย (จิตวิทยา)
dc.subject แบดมินตัน
dc.title การเปรียบเทียบความสามารถในการเสิร์ฟแบดมินตัน ระหว่างกลุ่มที่ฝึกสมาธิและกลุ่มที่มีการตั้งเป้าหมาย
dc.title.alternative Comparison of service performance of badminton between group with meditation practice and group with goal setting method
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พลศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record