Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพและปัญหาที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ตลอดจนความต้องการที่อยู่อาศัยในอนาคตของอาจารย์และข้าราชการสาย ข ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการกำหนดนโยบายที่ อยู่อาศัยของอาจารย์และข้าราชการสาย ข ในอนาคต ในการศึกษาวิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ โดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ และการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครังนี้คือ อาจารย์และข้าราชการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 362 คน เพื่อหาคำตอบตามวัตถุประสงค์ จึงทำการคัดเลือกเฉพาะกลุ่มที่มีความต้องการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นเร่งด่วนด้านที่อยู่ อาศัยมีจำนวน 187 คน ประกอบด้วยกลุ่มที่มีที่อยู่อาศัยภายนอกจุฬาฯ 162 คน (86.6%) และกลุ่มที่พักอาศัยในหอพักจุฬาฯ 25 คน(13.4%) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า บุคลากรที่มีความต้องการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยใหม่ทั้ง 187 คน กลุ่มที่มหาวิทยาลัยควรให้ความช่วยเหลือด้านเคหะสงเคราะห์แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรกคือ กลุ่มผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ซึ่งปัจจุบันมีที่อยู่อาศัยภายนอกมหาวิทยาลัย มีจำนวน 103 คน (55.0%) สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มผู้ที่มีรายได้รวมมากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน และกลุ่มผู้ที่มีรายได้รวมไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน ทั้ง 2 กลุ่มนอกจากไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยแล้ว ยังมีปัญหาที่อยู่อาศัยปัจจุบันคือ ที่ทั้งของที่อยู่อาศัยไกล ทำให้การเดินทางไปทำงานไม่สะดวก สวัสดิการที่อยู่อาศัยที่ ต้องการจากมหาวิทยาลัยคือการจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้ซื้อผ่อน กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว มี จำนวน 59 คน (31.6%) โดยเฉลี่ยรายไต้รวมมากกว่า 35,000 บาทต่อเดือน ถึงแม้ปัจจุบันมีบ้านพักอาศัยแล้วแต่ก็มีปัญหา คือที่อยู่อาศัยไกลจากมหาวิทยาลัย ทำให้การเดินทางไม่สะดวก หรือมีปัญหาที่อยู่อาศัยปัจจุบันคับแคบหรือสภาพไม่ดี สวัสดิการที่ต้องการจากมหาวิทยาลัยคือ ความช่วยเหลือในต้านจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ กลุ่มที่สามคือ กลุ่มผู้ที่พักอาศัยอยู่ในหอพักจุฬาฯ มีจำนวน 25 คน (13.4%) โดยเฉลี่ยมีรายได้รวมมากกว่า 35,000 บาทต่อเดือนกลุ่มนี้ไม่มีที่อยู่ถาวร มีความเห็นว่าค่าเช่าหอพักปัจจุบันยังสูง สวัสดิการที่อยู่อาศัยที่ต้องการคือ ยังต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดสร้างหอพัก ในมหาวิทยาลัยให้เช่า
แนวทางในการกำหนดนโยบายที่อยู่อาศัยของอาจารย์และข้าราชการสาย ข สามารถดำเนินการไต้ 4 แนวทางคือ (1) นโยบายสำหรับกลุ่มผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย คือ นโยบายต้านสวัสดิการที่อยู่อาศัยให้ซื้อผ่อน ได้แก่ (1.1) เสนอแนะโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ (1.2) เสนอแนะให้มหาวิทยาลัย การเคหะแห่งชาติ และเอกชน ร่วมมือจัดสร้างโครงการที่อยู่อาศัยให้ โครงการข้อ 1.1 และ 1.2 เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ซึ่งมีรายได้รวม ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน (1.3) เสนอแนะโครงการที่อยู่อาศัยของเอกชน (1.4) โครงการจัดสร้างที่อยู่อาศัยโดยเอกชน เช่น ให้เอกชนเช่าที่ดินในเขตพาณิชย์ของจุฬาฯ จัดสร้างอาคารชุดพักอาศัยเพื่อให้เซ้ง โครงการข้อ 1.3 และ 1.4 เหมาะ สำหรับกลุ่มผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ซึ่งมีรายได้รวมมากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน (2) นโยบายสำหรับกลุ่มผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยแล้ว คือ นโยบายด้านสวัสดิการเงินกู้ที่อยู่อาศัย ได้แก่ (2.1) โครงการสวัสดิการเงินกู้เคหะสงเคราะห์จุฬาฯ (2.2) โครงการจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ (3) นโยบายสำหรับกลุ่มผู้ที่พักอาศัยอยู่ในหอพักจุฬาฯ คือ นโยบายด้านสวัสดิการที่พักอาศัยให้เช่า ได้แก่ (3.1) โครงการปรับปรุงตึกแถวบริเวณสวนหลวงซึ่งมหาวิทยาลัยกำลังทำการศึกษาความเป็นไปได้ให้เป็นที่พักอาศัยให้เช่า (3.2) โครงการจัดสร้างหอพักในจุฬาฯ (4) นโยบายจัดบริการรถรับส่ง