Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาวิเคราะห์วัจนลีลาในเพลงรำวงมาตรฐาน (2) สังเคราะห์รูปแบบภาษาวรรณศิลป์ในเพลงรำวงมาตรฐาน (3) ศึกษาการรับรู้และการเข้าใจความหมายในเพลงรำวงมาตรฐานของครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จากเพลงรำวงมาตรฐาน 10 เพลง คือ 1. เพลงงามแสงเดือน 2. เพลงชาวไทย 3. เพลงรำซิมารำ 4. เพลงคืนเดือนหงาย 5. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ 6. เพลงดอกไม้ของชาติ 7. เพลงหญิงไทยใจงาม 8. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า 9. เพลงยอดชายใจหาญ และ10. เพลงบูชานักรบ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth interview) ครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary analysis) ที่เกี่ยวข้องกับรำวงมาตรฐาน วัจนลีลา วรรณศิลป์ และหลักภาษาศาสตร์
ผลการวิจัย
1. เพลงรำวงมาตรฐานทั้ง 10 เพลง เป็นระดับภาษาแบบกึ่งทางการ โดยลักษณะเด่นทางภาษา พบว่า มีการใช้การโยกย้ายส่วนของประโยคเพื่อเน้นความหมายในทุกเพลง รองลงมาคือ มีการใช้สรรพนามบุรุษที่1,2 และคำลงท้าย และการละคำ โดยมีการใช้คำถามน้อยที่สุด
2. ภาษาวรรณศิลป์ในเพลงรำวงมาตรฐานในด้านทำเนียบภาษา พบว่าปรากฏทำเนียบภาษาคือศัพท์นาฏศิลป์ และศัพท์สังคีต จำนวน 5 เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย และเพลงดอกไม้ของชาติ และพบว่า ศัพท์นาฏศิลป์พบในเพลงรำวงมาตรฐานมากกว่าศัพท์สังคีต ได้แก่ งามแสงเดือน รำมาซิมารำ และดอกไม้ของชาติ โดยศัพท์นาฏศิลป์ที่พบมาก ได้แก่ คำว่า “ฟ้อน รำ ฟ้อนรำ ระบำ ร่ายรำ และนาฏศิลป์”สำหรับศัพท์สังคีต คือเพลงชาวไทย และเพลงคืนเดือนหงาย ได้แก่ คำว่า “ เล่น โบก พริ้ว ประและพรม”
3. การรับรู้และการเข้าใจในเพลงรำวงมาตรฐานของครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าครูผู้สอนมีการรับรู้และเข้าใจในเพลงรำวงมาตรฐานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน