DSpace Repository

วัจนลีลาในเพลงรำวงมาตรฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนสิน ชุตินธรานนท์
dc.contributor.author ณัฎฐา ระกำพล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T12:38:17Z
dc.date.available 2020-11-11T12:38:17Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69825
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาวิเคราะห์วัจนลีลาในเพลงรำวงมาตรฐาน (2) สังเคราะห์รูปแบบภาษาวรรณศิลป์ในเพลงรำวงมาตรฐาน (3) ศึกษาการรับรู้และการเข้าใจความหมายในเพลงรำวงมาตรฐานของครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จากเพลงรำวงมาตรฐาน 10 เพลง คือ 1. เพลงงามแสงเดือน  2. เพลงชาวไทย 3. เพลงรำซิมารำ 4. เพลงคืนเดือนหงาย 5. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ 6. เพลงดอกไม้ของชาติ 7. เพลงหญิงไทยใจงาม 8. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า 9. เพลงยอดชายใจหาญ และ10. เพลงบูชานักรบ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth interview) ครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary analysis) ที่เกี่ยวข้องกับรำวงมาตรฐาน วัจนลีลา วรรณศิลป์ และหลักภาษาศาสตร์                    ผลการวิจัย             1. เพลงรำวงมาตรฐานทั้ง 10 เพลง เป็นระดับภาษาแบบกึ่งทางการ โดยลักษณะเด่นทางภาษา พบว่า มีการใช้การโยกย้ายส่วนของประโยคเพื่อเน้นความหมายในทุกเพลง รองลงมาคือ มีการใช้สรรพนามบุรุษที่1,2 และคำลงท้าย และการละคำ โดยมีการใช้คำถามน้อยที่สุด             2. ภาษาวรรณศิลป์ในเพลงรำวงมาตรฐานในด้านทำเนียบภาษา พบว่าปรากฏทำเนียบภาษาคือศัพท์นาฏศิลป์ และศัพท์สังคีต จำนวน 5 เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย และเพลงดอกไม้ของชาติ และพบว่า ศัพท์นาฏศิลป์พบในเพลงรำวงมาตรฐานมากกว่าศัพท์สังคีต ได้แก่ งามแสงเดือน รำมาซิมารำ และดอกไม้ของชาติ โดยศัพท์นาฏศิลป์ที่พบมาก ได้แก่ คำว่า “ฟ้อน รำ ฟ้อนรำ ระบำ ร่ายรำ และนาฏศิลป์”สำหรับศัพท์สังคีต คือเพลงชาวไทย และเพลงคืนเดือนหงาย ได้แก่ คำว่า “ เล่น โบก พริ้ว ประและพรม”              3. การรับรู้และการเข้าใจในเพลงรำวงมาตรฐานของครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าครูผู้สอนมีการรับรู้และเข้าใจในเพลงรำวงมาตรฐานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  
dc.description.abstractalternative This research intended to, (1) analyze the language style in Ramwong Matrathan Songs. (2) to synthesize the form of literary language in Ramwong Matrathan Songs.(3) to study the perception and understanding of meaning in Ramwong Matrathan Songs of Thai Classical dance teachers at the Basic Education. Researcher utilized content analysis to study Ramwong Matrathan Songs were 1. Ngam Sang Duan 2. Chaw Thai 3. Ram si ma ram 4. Ken Dern Ngai 5.Dong jan wan pen 6. Dok mai kong chat 7. Ying Thai Jai Ngam 8. Dong Jan Kwan Fa 9. Yod Shy Jai Han and10. Boo Cha Nak Rop, an in-depth interview with the Thai Classical dance teachers in basic education, and document analysis to process documents related to Ramwong Matrathan Songs, Stylistics, literary language and linguistics.              Findings:               1. 10 Ramwong Matrathan Songs ware consultative style. The most popular Language characteristics were the transposition of sentences to emphasize, followed by using of the pronouns 1,2,postscripts and deletion of word and the least was questions.              2. Literature in Ramwong Matrathan Songs, only 5 songs were the register that 1. Ngam Sang Duan 2. Chaw Thai 3. Ram si ma ram 4. Ken Dern Ngai 5. Dok mai kong chat.The register of classical dance words are Ngam Sang Duan , Ram si ma ram and Dok mai kong chat, “fon, ram, fon ram, ra bum, rai ram, and Nat silp” that more than musical words are Chaw Thai and Ken Dern Ngai, “Len, Bok, Priw, Pra and prom”             3. Perception and understanding in Ramwong Matrathan Songs of Thai classical dance teachers in  basic education, were the same pattern.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.854
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title วัจนลีลาในเพลงรำวงมาตรฐาน
dc.title.alternative Stylistics in ramwong matrathan songs
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword Ramwong Matrathan Songs
dc.subject.keyword Stylistics
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.854


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record