dc.contributor.advisor |
วรวรรณ องค์ครุฑรักษา |
|
dc.contributor.author |
อัญมณี คงเจริญ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T12:38:31Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T12:38:31Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69853 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยประยุกต์ร่วมกับการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment Research) แบบ 3x2 แฟกทอเรียล มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลหลักและอิทธิพลรวมกันของ 2 ปัจจัย อันได้แก่ (1) ประเภทผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในอินสตาแกรมในรูปแบบต่าง ๆ (เอ็นโดมอร์ฟี มีลักษณะ ท้วม และร่าเริง เมโซมอร์ฟี มีลักษณะ เป็นนักกีฬา ร่างกายสมส่วน และใจกว้าง และเอ็กโตมอร์ฟี มีลักษณะ ผอม และโลกส่วนตัวสูง) และ (2)รูปแบบการรีวิว (การทําซีดดิง และการไม่ซีดดิง) ที่ส่งผลต่อ ทัศนคติผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในอินสตาแกรม ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์และความตั้งใจซื้อ โดยเก็บข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาจํานวน 180 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะประเภทผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในอินสตาแกรมที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนรูปแบบในการรีวิวผลิตภัณฑ์บํารุงผิวหน้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไม่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาอิทธิพลร่วมกันพบว่าลักษณะประเภทผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในอินสตาแกรมและรูปแบบในการรีวิวผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่แตกต่างกันมีอิทธิพลร่วมต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เมื่อนำค่าเฉลี่ยของกลุ่มการทดลองออกทั้งหมด 6 กลุ่ม รูปแบบการรีวิวแบบซีดดิงและลักษณะประเภทผู้ทรงอิทธิพลที่มีลักษณะ ผอมและโลกส่วนตัวสูง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มอื่น จึงนำไปประยุกต์ในการสื่อสารการตลาดทางอินสตาแกรม หากต้องการให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาเกิดทัศนคติเชิงบวกและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บํารุงผิวหน้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ควรใช้รูปแบบการรีวิวแบบซีดดิงและลักษณะประเภทผู้ทรงอิทธิพลที่มีลักษณะผอมและโลกส่วนตัวสูง |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this survey research applied with quasi-experimental research study with the objectives that were to examine the main and interaction influences have been focused by two key factors (1) The various characters of Instagram influencer (Endomorphy; chubby, cheerful, Mesomorphy; sporty, healthy, magnanimous, and Ectomorphy; slender, introvert), and (2) The pattern of review (Seeding, and Non-seeding process), impacting to the reaction from customers such as the attitude of Instagram influencer, product, and intention from customer. The trend has been collected and analyzed from one-hundred eighty samples from undergraduate student in the period of April 2020.
According to the research, The differences of personality traits of Instagram influencers impacted through the factors of consumer attitude and purchase intention But the different review patterns didn’t statistically affect to those two factors Whereas the differences of personality traits and review patterns were dually contributed to the consumer attitude and purchasing intention resulting from statistical evaluation. By the highest mean was attributed to seeding review patterns with slender and introvert personality traits So this research has been applied to achieve the ultimate goal of marketing on Instagram by the seeding review patterns with slender and introvert personality traits. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.884 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Business |
|
dc.title |
อิทธิพลของประเภทผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในอินสตาแกรม และรูปแบบการรีวิวผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อ |
|
dc.title.alternative |
The influences of influencers and types of review about organic skin care products on consumer attitude and purchase intention |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิเทศศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.884 |
|