DSpace Repository

ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อการรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปริณดา ลิมปานนท์ พรหมรัตน์
dc.contributor.author ภูริต สงวนศักดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T13:33:59Z
dc.date.available 2020-11-11T13:33:59Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69974
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีมีรูปแบบงานวิจัยเป็นแบบทดลองเบื้องต้นหนึ่งกลุ่มวัดครั้งเดียว วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรู้เคมีในแต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วย องค์ประกอบความรู้เนื้อหาทางเคมี การประยุกต์ใช้บริบททางเคมี ทักษะการเรียนรู้ระดับสูง และเจตคติต่อเคมีของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานกับเกณฑ์มาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ในเนื้อหาเรื่อง กรด – เบส จำนวน 4 แผน รวมระยะเวลา 6 สัปดาห์ และแบบวัดการรู้เคมีที่มีค่าความเที่ยงด้านพุทธิพิสัย 0.82 และด้านจิตพิสัย 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ t-test ของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ได้จากการหาคะแนนจุดตัดด้วยวิธีการของเบอร์ก ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานมีองค์ประกอบของการรู้เคมีสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทุกองค์ประกอบ  
dc.description.abstractalternative This study was a pre-experimental research with posttest only design. The purpose of this study was to compare the student’s chemical literacy in each component consist of chemical content knowledge, chemical in context, higher-order learning skills and affective aspects, after learning by context-based learning with standard score. The sample was 36 eleventh-grade students from large school in Kanchanaburi. This research was conduct in the first semester of academic year 2019 for 6 weeks. The research instruments were 4 lesson plans of context-based learning in acid – base concept and a chemical literacy test with reliability at 0.82 on cognitive domain and 0.94 on affective domain. The data was analyzed by mean score, standard deviation, paired sample t-test with standard score from cut-off score by berg’s method. The finding revealed that student who learned by context-based learning had chemical literacy higher than standard score at a .05 level of significance in all components.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.746
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อการรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.title.alternative Effects of context-based learning on chemical literacy of upper secondary students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การศึกษาวิทยาศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword การรู้เคมี
dc.subject.keyword การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน
dc.subject.keyword Chemical Literacy
dc.subject.keyword Context-Based Learning
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.746


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record