DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5E ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor จินตวีร์ คล้ายสังข์
dc.contributor.author ภัณฑิรา กัณหาไชย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T13:34:04Z
dc.date.available 2020-11-11T13:34:04Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69981
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5E ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5E ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารวิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  (1) แบบวัดทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (2) แบบวัดประเมินการรู้ทางทัศนะ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ 5E แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกฯ (4) ระบบการเรียนรู้ 5E แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) รูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5E ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ กิจกรรมในห้องเรียน และการประเมินการเรียนรู้ และมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการสร้างความสนใจ ขั้นการสำรวจและค้นหา ขั้นการอธิบาย ลงข้อสรุป และวางโครงร่างอินโฟกราฟิก ขั้นการขยายความรู้  ออกแบบ ปรับปรุง และนำเสนอผลงานอินโฟกราฟิก และขั้นการประเมินผล (2) ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางด้านทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนเฉลี่ยความสามารถทางด้านการรู้ทางทัศนะหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนเฉลี่ยผลงานอินโฟกราฟิกจากการเรียนรูปแบบฯ หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were: (1) to develop the 5E flipped learning model with infographic design process to enhance science process skill and visual literacy of lower secondary school students, and (2) to study the effect of using the 5E flipped learning model with infographic design process to enhance science process skill and visual literacy of lower secondary school students. The sample were grade 7 in Sarawittaya School. The research instruments were: (1) a science process skill test, (2) a visual literacy test, (3) an observation form for Learning 5E Flipped learning model with infographic design process model, and (4) 5E flipped learning model with infographic design process model. The data were analyzed by using descriptive statistics with mean, Standard Deviation and t-test. The result were a follows; (1) the study generated five components comprising: Learning Objective, Learning Activities, Learning Resource, Classroom Activities and Learning Assessment. The study generated five steps were: (1) Engagement; (2) Exploration; (3) Explanation and Create infographic draft; (4) Elaboration, Design, Development and Presentation; and Evaluation., and (2) after the experiment, the average of science process skill ability of the learners was significantly higher than pre-test. The average of visual literacy ability was significantly higher than pre-test. The average score of infographic work was significantly higher than pre-test.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.603
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5E ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.title.alternative Development of 5e flipped learning model with infographic design process to enhance science process skill and visual literacy of lower secondary school students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword FLIPPED LEARNING
dc.subject.keyword 5E INSTRUCTIONAL MODEL
dc.subject.keyword INFIGRAPHIC DESIGN PROCESS
dc.subject.keyword SCIENCE PROCESS SKILL
dc.subject.keyword VISUAL LITERACY
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.603


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record