DSpace Repository

ระบบและกลไกเพื่อการบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนา : การสังเคราะห์ภาพรวมองค์กรกองทุนเพื่อการพัฒนา : รายงานฉบับหลัก

Show simple item record

dc.contributor.author อมรา พงศาพิชญ์
dc.contributor.author เบ็ญจมาศ ศิริภัทร
dc.contributor.author นาถฤดี นาครวาจา
dc.contributor.author สังคม คุณคณากรสกุล
dc.contributor.author จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
dc.contributor.author ประภาส แสนสิงห์
dc.contributor.author อุทัย ดุลยเกษม
dc.contributor.author บัณฑร อ่อนดำ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสังคมและมานุษยวิทยา
dc.contributor.other สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
dc.contributor.other มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา
dc.contributor.other โครงการติดตามและเผยแพร่นโยบายสาธารณะ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
dc.date.accessioned 2006-07-12T03:37:03Z
dc.date.available 2006-07-12T03:37:03Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/703
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินเพื่อสังเคราะห์และเสนอแนะระบบกลไกการบริหารจัดการทุนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยขอบเขตการวิจัยคือ การศึกษาองค์การบริหารจัดการทุนในลักษณะกรณีศึกษา 5 องค์กร คือ (1) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (2) สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา (เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการสภาคาทอลิกเพื่อการพัฒนาเมื่อปลายปี 2543 ในงานวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะศูนย์พัฒนาสังคม) (3) สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง (4) กองทุนสิ่งแวดล้อม และ (5) กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยคือ (1) ศึกษากลไกและแนวทางการบริหารจัดการทุนเพื่อสร้างความยั่งยืนสำหรับชุมชนที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการจัดการกิจกรรมสาธารณะของท้องถิ่นโดยท้องถิ่น เพื่อท้องถิ่น ได้อย่างจริงจัง (2) ศึกษาเปรียบเทียบและประเมินรูปแบบการจัดการทุนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (3) ศึกษาและนำเสนอรูปแบบการจัดการบริหารกองทุนที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย จากการศึกษาเปรียบเทียบทั้ง 5 องค์กร ในประเด็นความเป็นมา ปรัชญาการก่อตั้งและวิสัยทัศน์แหล่งที่มาและจำนวนเงินทุน เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย แนวทางการดำเนินงานการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงกลไกพิจารณาจัดสรรทุนระดับต่าง ๆ ตลอดจนระบบตรวจสอบและประเมินผลพบว่า เมื่อพิจารณาถึงลักษณะกองทุนจะมีกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะด้านและกองทุนที่มีวัตถุประสงค์กว้างครอบคลุมหลายด้าน และเนื่องจากปัจจุบันมีกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะด้านอยู่มากแล้ว คณะวิจัยจึงเสนอรูปแบบกองทุนที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างรอบด้าน วิสัยทัศน์ของกองทุนเพื่อการพัฒนาควร "เป็นกองทุนที่มุ่งเน้นพัฒนาคนและชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว โดยให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาของประเทศเป็นหลัก" วัตถุประสงค์ของกองทุน ควรประกอบด้วย (1) เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนสามารถฟื้นฟู สั่งสมจัดการและใช้ประโยชน์จากทุนของชุมชนโดยการสร้างกลไกกระตุ้นให้คนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองและสังคม โดยเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาคน มุ่งแก้ปัญหาให้ชุมชน และเอื้อหนุนให้เกิดองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง (2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ในระดับต่างๆ ตามประเด็นปัญหาที่หลากหลายและสอดคล้องกับพื้นที่และมิติการพัฒนา (3) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ด้านพัฒนาที่มีผลกระทบต่อนโยบายทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นโดยประชาชนมีส่วนร่วม และ (4) สนับสนุนการดำเนินงานด้านการพัฒนาขององค์กรชุมชน และองค์กรพัฒนาเอกชน แหล่งทุนที่เหมาะสม ควรมาจากงบประมาณแผ่นดิน ขณะเดียวกันควรเปิดโอกาสให้มีการระดมทุนจากภาคเอกชนภายในประเทศทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ตลอดจนการระดมทุนจากต่างประเทศด้วย ขนาดของกองทุนที่เหมาะสมควรอยู่ในขนาดกลางขึ้นไป กล่าวคือ ควรเป็นกองทุนที่มียอดเงินประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยอาจเป็นกองทุนก่อตั้งประมาณ 2,000 ล้านบาท และมีการจัดสรรจากรัฐเพิ่มเติมจนกว่าจะครบตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม การจัดสรรควรมีวงเงินประมาณ 600-800 ล้านบาทต่อปี เพื่อที่จะกระจายให้กับโครงการพัฒนาของประชาชนให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ รูปแบบการสนับสนุนมี 3 ประเภท คือ (1) การสนับสนุนแบบให้เปล่า (Grant) (2) การสนับสนุนทุนแบบกู้ยืม (Loan) และ (3) การสนับสนุนทุนแบบสมทบกองทุนหมุนเวียน (revolving Fund) โครงการกองทุนควรมีกรรมการ 2 ระดับคือ (1) คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาส่วนกลาง ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและเชื่อมประสานเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่รอบด้านที่สอดคล้องกับภูมินิเวศและยุทธศาสตร์การพัฒนาของท้องถิ่น และกำหนดแนวทางการให้การสนับสนุนของกองทุน (2) คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาระดับภูมิภาคหรือระดับท้องถิ่น มีหน้าที่พิจารณาโครงการที่เสนอขอว่าสอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักของกองทุนและยุทธศาสตร์การพัฒนาของท้องถิ่น ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาโครงการระดับท้องถิ่น และอนุมัติโครงการระดับท้องถิ่น โดยคณะกรรมการทั้ง 2 ระดับจะไม่ดำเนินการในโครงการพัฒนา คณะกรรมการทั้ง 2 ระดับ ควรประกอบด้วยผู้แทนภาคีต่าง ๆในพื้นที่ในระดับชาติ และผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการจะต้องได้รับการเสนอชื่อจากภาคีต่าง ๆ ควรมีภาคีอย่างน้อย 3 กลุ่ม คือ ราชการ นักวิชาการ และภาคประชาชน และสัดส่วนของตัวแทนภาคีควรเป็น 1:1:2 ตามลำดับ นอกจากนี้ กองทุนจะต้องมีระบบติดตามตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก เพื่อความโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับจากสาธารณชน en
dc.description.abstractalternative This research project adopts case studies approach to study existing development funds to assess and recommend model of development funds for civil society. The five cases are: (1) Local Development Institute, (2) Catholic Council of Thailand for Development (with special reference to Centers for Social Development only) (3) Urban Community Development Office, (4) Thailand Environment Fund, and (5) Social Investment Fund.The objectives of the research project are: (1) To study concepts and strategies in fund management, which will lead to sustainable community development through people's participation. (2) Compare and access models of management of development funds, (3) Propose a development fund management model appropriate for Thailand. The five case studies are compare in terms of perception and vision of the fund at the time of the establishment of the funds, historical development, sources and amount of funds, objectives, goals, target groups, development concepts and strategies, changes in funding mechanisms, and monitoring and evaluation systems adopted. The study finds that funds are mostly either designed to support sector-specific projects holistic or integrated development projects, Since it is found that in Thailand sector-specific funds are more numerous in number, this study therefore, recommends that the proposed model for development funds be for funds supporting holistic integrated development. The model recommends that vision of the development fund be to support human and community sustainable development with the goal of addressing national and public interests. The objectives of the fund should follow the vision with the inclusion of support for projects which aim at community strengthening; collaboration between government, business, and civil society groups; promotion of people's participation as well as projects which will have impacts on local and national policies. People's organizations and non-government, non-profit organizations are eligible for support. The fund should be supported by government budgets. However, fund raising from other source at local, national, and international levels is also encouraged. Size of fund should be medium to large with the total sum around 5,000-6,000 million baht. The initial endowment may be at 2,000 million baht and subsequent installments be made until the target is reached. However, annual budget of the fund should be around 600-800 million baht to support projects in every region of the country. Supports are to be in one of 3 forms: grants, loans, and revolving funds. Fund management should be at two levels: national and regional/local. National Development Fund Committee should be responsible for identifying policies and strategies for support, coordinate with other agencies and regional/local committees for support of holistic development suitable to ecosystems and development strategies of the region. Regional/local Development Fund Committees are responsible for assessing projects requesting support and approving projects which meet the criteria and suitable for development strategies of the regions. Committee members at both levels should represent the different development partners and should consist of at least 3 components: government, academicians, and the people. Ratios of committee members should be 1:1:2 respectively. In addition, committee members should not be involved in project activities. Internal and external monitoring systems should be designed and implemented from the beginning. en
dc.description.sponsorship สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย en
dc.format.extent 10979218 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กองทุนเพื่อการพัฒนา en
dc.subject กองทุนเพื่อพัฒนาชุมชน en
dc.subject กองทุน--การบริหาร en
dc.title ระบบและกลไกเพื่อการบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนา : การสังเคราะห์ภาพรวมองค์กรกองทุนเพื่อการพัฒนา : รายงานฉบับหลัก en
dc.title.alternative โครงการวิจัยเรื่อง ระบบและกลไกเพื่อการบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนา : การสังเคราะห์ภาพรวมองค์กรกองทุนเพื่อการพัฒนา : รายงานฉบับหลัก en
dc.title.alternative การสังเคราะห์ภาพรวมองค์กรทุนเพื่อการพัฒนา en
dc.type Technical Report en
dc.email.author Amara.P@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record