dc.contributor.author |
ศิริมาส ไทยวัฒนา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2008-05-28T08:52:03Z |
|
dc.date.available |
2008-05-28T08:52:03Z |
|
dc.date.issued |
2525 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7050 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจะศึกษาแนวคิดทางการศึกษา การจัดการศึกษาในด้านการดำเนินงาน หลักสูตร วิธีการสอนและการสอน ตลอดจนผลของการจัดการศึกษาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มเอกสารเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หนังสือที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงนิพนธ์ขึ้นและหนังสือพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ซึ่งมหามกุฏราชวิทยาลัยได้รวบรวมจัดพิมพ์ขึ้น ผลของการวิจัย 1. สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และอนุชาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้รับการศึกษาทั้งแบบเก่าและวิทยาการสมัยใหม่ ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาการต่างๆ อย่างกว้างขวาง สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาหลังจากออกผนวชจึงได้นำวิธีการสอนและการสอบแบบใหม่ไปทดลองใช้กับการสอนภาษามคธจนได้ผล 2. พระมติเกี่ยวกับการศึกษาทางเห็นว่าการจัดการศึกษาที่ดี ควรทำให้ผู้เรียนมีความรู้ขั้นพื้นฐาน ความสามารถในการประกอบอาชีพและมีความประพฤติดี 3. สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเห็นว่าความรู้ทางโลกและความรู้ทางธรรมควรไปด้วยกัน ดังนั้นจึงจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนและพระสงฆ์ควบคู่กัน 4. การจัดการศึกษาหัวเมืองทรงจัดแบบกระจายอำนาจคือให้ประชาชนแต่ละท้องถิ่นช่วยกันตั้งโรงเรียนภายในวัด และให้คนในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเอง ผลของการจัดการศึกษาแบบนี้ทำให้สามารถขยายการศึกษาได้รวดเร็วและเหมาะกับสภาพของประเทศไทยในสมัยนั้นที่มีภาษาและความเป็นอยู่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น 5. การจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ ทรงตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัยขึ้น โดยดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการที่ประกอบด้วยฝ่ายพระสงฆ์และฝ่ายฆราวาส การดำเนินการแบบนี้ทำให้มหามกุฎราชวิทยาลัยสามารถดำรงอยู่ได้และเจริญก้าวหน้าจนกระทั่งเป็น "มหาวิทยาลัยสงฆ์" ในปัจจุบันนี้ 6.สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเห็นว่าการวางหลักสูตรกับหนังสือแบบเรียนควรจะเป็นแนวเดียวกัน ดังนั้นเมื่อทรงขยายการศึกษาของพระสงฆ์เช่นหลักสูตร "นักธรรม" พระองค์จึงนิพนธ์หนังสือแบบเรียนประกอบหลักสูตรนั้นให้สอดคล้องกัน หนังสือแบบเรียนของพระองค์ยังใช้อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ รากฐานการศึกษาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงวางไว้นับว่ามีประโยชน์แก่การศึกษาของชาติ และศาสนาเป็นอันมาก สมควรที่อนุชนรุ่นหลังจะระลึกถึงพระคุณและเทิดพระเกียรติพระองค์เป็นพระผู้สร้างสรรค์คุณประโยชน์ และความก้าวหน้าให้แก่การศึกษาของชาติไทยพระองค์หนึ่ง |
|
dc.description.abstractalternative |
This research is aimed at the study of the concepts of education, specifically, those concerning educational management, cirriculum formulation, teaching methods and testing techniques, as well as the result of endeavor in the field of education. The research methodology comprises of data collection from documents concerned with education during the King Chulalongkorn period and from the many books written by Somdet and published by Mahamongkut Ratchawitthayalai. The results of the studies may be summarized as follows :- 1. Somdet, being King Rama IV's son (as a brother of King Chulalongkorn) was trained in both traditional and modern education. His knowledge was so abundant and profound that he recognized the importance of education. After his ordaininto monkhood, he used the modern teaching and testing techniques in the Pali language course for the monks in his times. 2. His idea about the education is that the best educational management should enable the students to get the basic knowledge, the career skills and the good conduct. 3. Somdet envisaged that the Dharma knowledge, must get along with the world knowledge. Therefore the education for the people and the monk must be paralleled. 4. Educational management in rural areas was decentralized by him to the local people to establish schools for themselves in Buddhist temples. These schools were, therefore, managed by the local people. By this policy, local education expanded rapidly throughout the country despite the differences in language and life styles of the people. 5. As to the educational management for the monk, he establish Mahamongkul Ratchwitthayalai, an institution that existed and progressed so steadily that it became the first university for the monk and continued to be so until the present time. 6. Somdet also laid down the principles for preparation of lesson books in accordance with the cirriculum. This can be seen by his book written for student trained under the cirriculum called "Nakdharma" These books were so in harmony with cirriculum that they still in use until today. The edudational basis laid down by Somdet is therefore considered very useful to both general and religious education of the nation. We the younger generation should therefore think of him and adore him as one of those who did the useful things to advance the educational field of the nation. |
|
dc.description.sponsorship |
ทุนวิจัยเพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาประสิทธิภาพทางวิชาการ |
en |
dc.format.extent |
14438245 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
วิชรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา, 2403-2464 |
en |
dc.subject |
การศึกษา -- ไทย |
en |
dc.subject |
สงฆ์ -- การศึกษา |
en |
dc.title |
แนวคิดทางการศึกษาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวิชรญาณวโรรส : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|