Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพี่อคึกษาถึงการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์ในประเด็นขัดแย้งทางผลประโยชน์ และสิ่งที่เป็นตัวกำหนดวิธีการตัดสินใจ โดยการเก็บข้อมูลจากชุดคำถามต่อเนื่องที่สร้างขึ้นจากลถานการณ์สมมุติ ผลการศึกษาจากการสอบถามผู้ปฏิบัติงานข่าวในสถานีโทรทัศน์ 6 ช่องที่ออกอากาศในกรุงเทพมหานครรวมทั้งหมด 73 คนพบว่า 1. การตัดสินใจเชิงจริยธรรมในประเด็นขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์มีความแตกต่างหลากหลาย ตามแนวทางและเหตุผลที่ไม่มีใครเหมือนกับใคร อีกทั้งยังเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกายในตัวเอง ซึ่งไม่มีใครล่วงรู้หรือหยั่งถึงได้นอกจากตนเอง ทั้งนี้ แบบแผนการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่ผู้ปฏิบัติงานข่าว โทรทัศน์ส่วนใหญ่ เลือกใช้แบ่งออก เป็น 1.1 การมีทัศนะในด้านบวกต่อผลประโยชน์ เมื่อผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์มีทัศนะในด้านบวกจะตัดสินใจรับผลประโยชน์ โดยตีความหมายเชิงประจักษ์ว่าเป็นสินนํ้าใจ ใช้ค่านิยมทางวัฒนธรรมและสังคมหรือค่านิยมทางตรรกะตามความสอดคล้องของเหตุการณ์พร้อมกับยึดถือหลักการสัมพัทธนิยม และเลือกภักดีต่อตนเองในฐานะที่เป็นผู้ที่เข้าใจในสถานการณ์ที่กำลังเผชิญมากที่สุด 1.2 การมีทัศนะในด้านลบต่อผลประโยชน์ หากผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์มีทัศนะในด้านลบจะเลือกปฏิเสธผลประโยชน์ โดยตีความหมายเชิงประจักษ์เป็นสินบน หรืออาจไม่แน่ใจในเจตนาของผู้เสนอผลประโยชน์และใช้ค่านิยมทางวิชาชีพ พร้อมไปกับการยึดถือหลักการหน้าที่นิยม และเลือกภักดีต่อตนเองในฐานะผู้ที่ได้รับผลโดยตรงจากการตัดสินใจ 2. สิงที่เป็นตัวกำหนดวิธีการตัดสินใจเชิงจริยธรรมได้อย่างชัดเจนที่สุดคือความหมิ่นเหม่ทางจริยธรรมโดยพิจารณาจาก ประเภทของผลประโยชน์ ภาพลักษณ์ของแหล่งข่าว มูลค่าของผลประโยชน์กาละเทศะ ตลอดจนโอกาสในการนำเสนอผลประโยชน์ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ทำความเข้าใจกับความหมิ่นเหม่ทางจริยธรรมได้ดีที่สุด นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์ที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เคยได้รับการเสนอผลประโยชน์จากแหล่งข่าวในประสบการณ์จริง โดยมักเกิดขึ้นภายหลังการทำข่าวเสร็จสิ้นลง และเห็นว่าผลประโยชน์ที่หมิ่นเหม่ต่อการตัดสินใจมากที่สุดคือเงิน ผลการวิจัยยังแลดงถึงปัญหาในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์บางส่วน ได้แก่ การขาดความชัดเจนสมํ่าเสมอทางความคิด การตัดสินใจโดยปราศจากการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน การปราศจากจุดยืนทางความคิด ความลำเอียงเข้าข้างแหล่งข่าวอย่างไม่เสมอภาคกัน การคำนึงถึงประชาชนและสังคมในระดับน้อย การขาดความเข้าใจเรื่องความเป็นกลางในการปฏิบัติงาน และบัญหาการนำหลักจรรยาบรรณไปใช้ในทางปฏิบัติ