DSpace Repository

การตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์ ในประเด็นขัดแย้งทางผลประโยชน์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุมพล รอดคำดี
dc.contributor.author สุจิตรา สินทวีวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-12-07T04:24:02Z
dc.date.available 2020-12-07T04:24:02Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9743467173
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71303
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพี่อคึกษาถึงการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์ในประเด็นขัดแย้งทางผลประโยชน์ และสิ่งที่เป็นตัวกำหนดวิธีการตัดสินใจ โดยการเก็บข้อมูลจากชุดคำถามต่อเนื่องที่สร้างขึ้นจากลถานการณ์สมมุติ ผลการศึกษาจากการสอบถามผู้ปฏิบัติงานข่าวในสถานีโทรทัศน์ 6 ช่องที่ออกอากาศในกรุงเทพมหานครรวมทั้งหมด 73 คนพบว่า 1. การตัดสินใจเชิงจริยธรรมในประเด็นขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์มีความแตกต่างหลากหลาย ตามแนวทางและเหตุผลที่ไม่มีใครเหมือนกับใคร อีกทั้งยังเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกายในตัวเอง ซึ่งไม่มีใครล่วงรู้หรือหยั่งถึงได้นอกจากตนเอง ทั้งนี้ แบบแผนการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่ผู้ปฏิบัติงานข่าว โทรทัศน์ส่วนใหญ่ เลือกใช้แบ่งออก เป็น 1.1 การมีทัศนะในด้านบวกต่อผลประโยชน์ เมื่อผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์มีทัศนะในด้านบวกจะตัดสินใจรับผลประโยชน์ โดยตีความหมายเชิงประจักษ์ว่าเป็นสินนํ้าใจ ใช้ค่านิยมทางวัฒนธรรมและสังคมหรือค่านิยมทางตรรกะตามความสอดคล้องของเหตุการณ์พร้อมกับยึดถือหลักการสัมพัทธนิยม และเลือกภักดีต่อตนเองในฐานะที่เป็นผู้ที่เข้าใจในสถานการณ์ที่กำลังเผชิญมากที่สุด 1.2 การมีทัศนะในด้านลบต่อผลประโยชน์ หากผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์มีทัศนะในด้านลบจะเลือกปฏิเสธผลประโยชน์ โดยตีความหมายเชิงประจักษ์เป็นสินบน หรืออาจไม่แน่ใจในเจตนาของผู้เสนอผลประโยชน์และใช้ค่านิยมทางวิชาชีพ พร้อมไปกับการยึดถือหลักการหน้าที่นิยม และเลือกภักดีต่อตนเองในฐานะผู้ที่ได้รับผลโดยตรงจากการตัดสินใจ 2. สิงที่เป็นตัวกำหนดวิธีการตัดสินใจเชิงจริยธรรมได้อย่างชัดเจนที่สุดคือความหมิ่นเหม่ทางจริยธรรมโดยพิจารณาจาก ประเภทของผลประโยชน์ ภาพลักษณ์ของแหล่งข่าว มูลค่าของผลประโยชน์กาละเทศะ ตลอดจนโอกาสในการนำเสนอผลประโยชน์ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ทำความเข้าใจกับความหมิ่นเหม่ทางจริยธรรมได้ดีที่สุด นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์ที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เคยได้รับการเสนอผลประโยชน์จากแหล่งข่าวในประสบการณ์จริง โดยมักเกิดขึ้นภายหลังการทำข่าวเสร็จสิ้นลง และเห็นว่าผลประโยชน์ที่หมิ่นเหม่ต่อการตัดสินใจมากที่สุดคือเงิน ผลการวิจัยยังแลดงถึงปัญหาในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์บางส่วน ได้แก่ การขาดความชัดเจนสมํ่าเสมอทางความคิด การตัดสินใจโดยปราศจากการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน การปราศจากจุดยืนทางความคิด ความลำเอียงเข้าข้างแหล่งข่าวอย่างไม่เสมอภาคกัน การคำนึงถึงประชาชนและสังคมในระดับน้อย การขาดความเข้าใจเรื่องความเป็นกลางในการปฏิบัติงาน และบัญหาการนำหลักจรรยาบรรณไปใช้ในทางปฏิบัติ
dc.description.abstractalternative The main objective of this qualitative research is to study the ethical decision making about conflicts of intcrost of TV rcportcrs and its indicator. A sot of qucstions crcatcd from casc studics is used to collect the information from 73 reporters of 6 television stations broadcasting in Bangkok. Findings revealed that: 1. The ethical decision making is varied according to different styles and reasons of each individual. Besides, it is the inner process that is neither known nor observed to anyone but himself or herself. Therefore, the models of ethical decision making that are applicable to most reporters under study are as follows: 1.1 The positive model. The reporter will accept the interest offered by the source if he or she has good attitudes towards it. The interest is empirically defined as a gift and identified with socio-cuttural or logical values according to the situation. Relativism is used as the ethical pnneiples and self loyalty is chosen because he or she is the only one who most understand the situation. 1.2 The negative model. The reporter will not accept the interest offered by the source It he or she has bad attitude towards it. The interest is empirically defined as a bribe or unable to and identified with professional values. Deontological is used as an ethical principle and self-loyalty is chosen because he or she is directly effected by the decision making. 2. The ethical problem is the obvious indicator of the ethical decision making. The ethical problem is caused by type of the interest, the imago of the sources, the time and place and the opportunity which are the most suitable criteria to understand the ethical problem. According to the questionnaire, most of the reporters admitted that they had been proposed some interest from the source. This usually took place after the completion of the work. For most of them, the interest that is most difficult to make a decision is money.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject นักข่าวโทรทัศน์ -- จรรยาบรรณ
dc.subject สื่อมวลชน
dc.subject การตัดสินใจ
dc.title การตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์ ในประเด็นขัดแย้งทางผลประโยชน์
dc.title.alternative Ethical decision making in the conflicts of interst of TV reporters
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การสื่อสารมวลชน
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record