Abstract:
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อวิเคราะห์งานเขียนร้อยแก้วภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาบีที่ 5 เขตการศึกษา ในด้านความรู้สึกประทับใจของงานเขียนทั้งฉบับ ด้านสาระขอบเขตของเนื้อหา วิธีการเขียนและการนำเสนอความคิด ลีลา สำนวน ความเหมาะสมของวิธีการเขียนที่สอดคล้องกับประเภทของงานเขียน ความถูกต้องด้านไวยากรณ์ และโครงสร้าง ตัวสะกดการันต์ การใช้วรรคตอน และรูปแบบการเขียน วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาบีที่ 5 ในเขตการศึกษา 9 จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบและเกณฑ์การวิเคราะห์งานเขียนร้อยแก้ว แบบสอบภาษาไทย 3 ชิ้น คือ เรียงความจดหมายสมัครงาน และย่อความ เกณฑ์การวิเคราะห์งานเขียนร้อยแก้วประเภทเรียงความ เกณฑ์การวิเคราะห์งานเขียนร้อยแก้ว ประเภทจดหมายสมัครงาน เกณฑ์การวิเคราะห์งานเขียนร้อยแก้วประเภทย่อความ ข้อมูลที่ได้รับนำมาวิเคราะห์โดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัย ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. งานเขียนเรียงความโดยส่วนรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง พิจารณาในรายละเอียด พบว่า ด้านการเขียนตัวสะกดการันต์ถูกต้อง แต่มีข้อควรปรับปรุง 1-3 แห่ง จัดอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านรูปแบบการเขียนเรียงความประกอบด้วย คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป มีข้อควรปรับปรุง 1-3 แห่ง จัดอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนด้านเนื้อหาสาระมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่แปลกใหม่ มีความชัดเจนและการให้เหตุผลไม่ครบถ้วน จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง 2. งานเขียนจดหมายสมัครงาน โดยส่วนรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง พิจารณาในรายละเอียดพบว่า ด้านการเขียนตัวสะกดการันต์ถูกต้อง จัดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ด้านการใช้วรรคตอนถูกต้องแต่มีข้อควรปรับปรุง 1 -3 แห่ง จัดอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านการเรียบเรียงความคิดและการนำเสนอความคิดมีการเสนอข้อมูลชัดเจนเป็นระเบียบ และเสนอข้อมูลที่อ่านพบหรือบอกที่มาของข้อมูล แต่มีข้อควรปรับปรุง 5 แห่ง จัดอยู่ในเกณฑ์อ่อน 3. งานเขียนย่อความโดยส่วนรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง พิจารณาในรายละเอียด พบว่า ด้านการเขียนสะกดการันต์ถูกต้อง แต่มีข้อควรปรับปรุง 1-3 แห่ง ด้านคุณภาพของสาระและขอบเขตของเนื้อหา สามารถเก็บใจความสำคัญของเรื่องขาดไปบางส่วน จัดอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนด้านรูปแบบการย่อความประกอบด้วยการขึ้นต้น และย่อหน้าถูกต้อง แต่มีข้อควรปรับปรุง 3 แห่ง จัดอยู่ในเกณฑ์อ่อน