DSpace Repository

การเปรียบเทียบปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนิสิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ( 5 ปี) ระหว่างกลุ่มนิสิตวิชาเอกต่างกันที่ผ่านการปฏิบัติการสอน ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author น้ำผึ้ง ศุภอุทุมพร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-03-04T05:17:25Z
dc.date.available 2021-03-04T05:17:25Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72582
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผ่านการปฏิบัติการสอน ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) เปรียบเทียบระดับปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนิสิต ระหว่างกลุ่มนิสิตวิชาเอกต่างกัน 3) เปรียบเทียบระดับปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนิสิต ระหว่างกลุ่มที่ปฏิบัติการสอน ครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับนิสิตกลุ่มที่ปฏิบัติการสอนครั้งที่ 1 ณ สถานศึกษาอื่น และเปรียบเทียบระดับปัญหาระหว่างนิสิตกลุ่มที่กลับมาปฏิบัติการสอน ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในครั้งที่ 2 กับนิสิตกลุ่มที่ออกไปปฏิบัติการสอนครั้งที่ 2 ณ สถานศึกษาอื่น 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับผลการเรียนของนิสิตกับระดับปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2547 (5 ปี) จำนวน 145 คน และอาจารย์นิเทศประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม และฝ่ายมัธยมที่มีประสบการณ์ในการนิเทศนิสิตตั้งแต่หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2547 จนถึงหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552 จำนวน 46 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจปัญหาการปฏิบัติการสอนของนิสิตในสถานศึกษา และแบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์อาจารย์นิเทศ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาในการปฏิบัติการสอนครั้งที่ 1 ของนิสิตแต่ละด้านมีภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และปานกลางส่วนการปฏิบัติการสอนครั้งที่ 2 นิสิตมีปัญหาในระดับน้อยทุกด้าน และมีการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการปฏิบัติการสอนของนิสิตจากอาจารย์นิเทศก์แต่ละวิชาเอก ทั้งประเด็นที่เหมือน และต่างกัน 2) ระดับปัญหาในการปฏิบัติการสอนครั้งที่ 1 ระหว่างนิสิตวิชาเอกต่างกันตามการจัดกลุ่มเปรียบเทียบ 6 กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการปฏิบัติการสอนครั้งที่ 2 มีระดับปัญหาแตกต่างกันเพียง 2 ด้าน จาก 11 ด้าน 3) นิสิตกลุ่มที่ปฏิบัติการสอนครั้งที่ 1 ณ สถานศึกษาอื่น มีระดับปัญหาสูงกว่านิสิตกลุ่มที่ปฏิบัติการสอน ครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 4 ด้าน จาก 11 ด้าน และนิสิตกลุ่มที่กลับมาปฏิบัติการสอน ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในครั้งที่ 2 มีระดับปัญหาสูงกว่านิสิตกลุ่มที่ออกไปปฏิบัติการสอนครั้งที่ 2 ณ สถานศึกษาอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 4 ด้าน จาก 11 ด้าน 4) ระดับผลการเรียนของนิสิตกับระดับปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนิสิตมีความสัมพันธ์กันในระดับน้อยที่สุดในทิศตรงกันข้ามอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to survey the problems and guidelines for solutions in practice teaching of Bachelor’s Degree in education students, Faculty of Education, Chulalongkorn University at Chulalongkorn University Demonstration School 2) to compare problems among groups of students with different majors 3) to compare problems between groups of students who practiced teaching at Chulalongkorn University Demonstration School in the 1st semester and 2nd semester 4) to study the relation between grade levels and problems in practice teaching of education students. The population consists of 145 education students and 46 supervisors of Chulalongkorn University Demonstration School Data were collected by questionnaires and interviews. The results were as follows : 1) The problems in practice teaching of education students in the 1st semester had average in medium and low level and overall had average in low level in the 2nd semester. Also, there are different and similar guidelines for solutions in practice teaching of education students with different major subjects. 2) Overall problems had different level among 6 groups of students with different majors in the 1st semester but 2 out of 11 problems had different level at the .05 level of significance in 2nd semester. 3) Education students who practiced teaching at Chulalongkorn University Demonstration School in 2nd semester had problem level more than those who practiced teaching at Chulalongkorn University Demonstration School in 1st semester, at the .05 level of significance only 4 problems from 11 problems in the 1st semester and 2 problems from 11 problems in the 2nd semester. 4) there is low relation between grade level and problems in practice teaching of education students in the opposite direction and had no the .05 level of significance. en_US
dc.description.budget สนับสนุนโดย เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ พ.ศ. 2552 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject นักศึกษาครู en_US
dc.subject นักศึกษาครู -- การนิเทศ en_US
dc.subject การฝึกสอน en_US
dc.subject การแก้ปัญหา -- การวัด en_US
dc.subject Student teachers en_US
dc.subject Student teachers -- Supervision of en_US
dc.subject Student teaching en_US
dc.subject Problem solving -- Measurement en_US
dc.title การเปรียบเทียบปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนิสิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ( 5 ปี) ระหว่างกลุ่มนิสิตวิชาเอกต่างกันที่ผ่านการปฏิบัติการสอน ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record