DSpace Repository

กลยุทธ์การใช้บรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือ ในการสื่อสารการตลาดของขนมขบเคี้ยว

Show simple item record

dc.contributor.advisor พนา ทองมีอาคม
dc.contributor.advisor ปุ่น คงเจริญเกียรติ
dc.contributor.author นฤมล ทองเจริญชัยกิจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-03-04T06:27:26Z
dc.date.available 2021-03-04T06:27:26Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741311648
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72584
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract การศึกษากลยุทธ์การใช้บรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดของขนมขบเคี้ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์และวิธีการดำเนินการของผู้ประกอบการในการนำบรรจุภัณฑ์มาใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดของสินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาดังนี้ เป็นขนมขบเคี้ยวที่แปรรูปจากผลไม้ด้วยกรรมวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ อาหารถนอมด้วยนํ้าตาลและทำแห้ง, อาหารหมักดอง, อาหารถนอมด้วยการฆ่าเชื้อที่มีความร้อนสูงและเบเกอรี่และ ขนมหวาน โดยที่มีผู้ประกอบการเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีผลิตขนมขบเคี้ยวโดยการแปรรูปผลไม้ด้วยวิธีที่กำหนดข้างต้น วิธีการวิจัย ใช้วิธีการเลือกสัมภาษณ์ (Selective Interview) กับผู้ประกอบการซึ่งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดระยองจำนวน 11 กลุ่มและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีจำนวน11 กลุ่มรวมทั้งสิ้น 22 กลุ่ม แล้วนำผลที่ได้มาประมวลผลและจัดหมวดหมู่และนำเสนอผลในรูปของตารางและการพรรณนาความ (Descriptive Method) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่มีสมาชิกกลุ่มอยู่ระหว่าง 11-20คนซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีจำนวนเงินลงทุนอยู่ระหว่าง 5,001-10,000บาท โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 4,001-6,000 บาท มีอัตราส่วนของรายได้ต่อเงินลงทุนมากกว่าร้อยละ 75.00 พบว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40.91 และเป็นวัตถุดิบที่มีอัตราส่วนของรายได้ต่อเงินลงทุนสูงที่สุด ส่วนกรรมวิธีการแปรรูปที่นิยมมากที่สุดคือวิธีการถนอมอาหารด้วยการฆ่าเชื้อที่มีความร้อนสูง คิดเป็นร้อยละ 54.54 การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด พบว่าช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่สำคัญคือสถานที่ประกอบการหรือที่พักอาศัยและงานนิทรรศการ การประชุม สัมมนาต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 90.91 โดยมีประธานและสมาชิกกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าซึ่งเป็นทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวหรือลูกค้าต่างถิ่น พบว่าปัจจัย 3 ประการที่เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์การใช้บรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือในการสื่อสารการตลาดคือกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ช่องทางการจัดจำหน่ายและลักษณะของกลุ่มลูกค้าซึ่งมีการนำเอากลยุทธ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้มาใช้ในการสื่อสารการตลาดกับกลุ่มผู้บริโภค • การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจ เพื่อสร้างความดึงดูดใจให้ผู้บรีโภคตัดสินใจซื้อสินค้า ด้วยการใช้สีสันต่างๆ ทั้งสีของบรรจุภัณฑ์ สีของฉลากและการใช้ภาพประกอบต่างๆ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากต่อการสื่อสารเรื่องความรู้สึกและทัศนคติต่อกลุ่มเป้าหมาย • การใช้ชื่อ/สัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการมาอ้างถึงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งพบว่าร้อยละ 9.09 เป็นการอ้างถึงชื่อเพียงอย่างเดียว ร้อยละ 13.64 เป็นการใช้สัญลักษณ์เพียงอย่างเดียว และร้อยละ 45.45 เป็นการอ้างถึงทั้งชื่อและสัญลักษณ์ • การให้ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าให้กับผู้บริโภคได้รับทราบ กล่าวคือ ร้อยละ 86.36 ระบุชื่อสินค้า ทุกกลุ่มระบุชื่อผู้ผลิต ร้อยละ 22.73 ระบุวันเดือนปีที่ผลิต ร้อยละ 9.09 ระบุวันหมดอายุ ร้อยละ 9.09 ระบุส่วนประกอบ ร้อยละ 40.91 ระบุน้ำหนักสินค้า ร้อยละ 36.36 ระบุ ราคา ร้อยละ 9.09 ระบุข้อความภาษาต่างประเทศ • การใช้สโลแกนหรือคำโฆษณาสินค้าซึ่งมุ่งเน้นไปที่การแสดงสรรพคุณของสินค้าประเภทสินค้าบริโภค คือเน้นที่ความอร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย ซึ่งพบถึงร้อยละ 63.64 • การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อบอกแหล่งที่มาของสินค้าโดยระบุลักษณะเด่นในท้องถิ่น ซึ่งพบร้อยละ 22.73 และการออกแบบให้บรรจุภัณฑ์มีลักษณะเป็นของขวัญของฝาก ซึ่งพบร้อยละ 27.27 แต่อย่างไรก็ตามพบว่า การสร้างตราสินค้าเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า สร้างความจดจำให้กับผู้บริโภคและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งของกลุ่มแม่บ้านเกษตกรยังมีอยู่น้อยมากคือมีเพียงร้อยละ 9.09 เท่านั้น นอกจากนั้นยังพบว่าไม่มีบรรจุภัณฑ์ใดเลยที่ระบุคำแนะนำในการรับประทาน วิธีการผลิต เครื่องหมาย อย สัญลักษณ์รหัสแท่งหรือบาร์โค้ด และข้อควรระวัง ซึ่งเป็นเรื่องที่สมควรแก่การได้รับการปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้สินค้าของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสามารถขยายเข้าสู่ระบบการค้าสมัยใหม่ได้ (Modern Trade) en_US
dc.description.abstractalternative The study was aimed to find out the snack packaging strategies implemented by the Agricultural Housewife Group who produced snack from preserved local Thai fruits. Methodology used in the study was selective interview conducted by interviewing with 11 groups of Agricultural Housewife Group in Rayong and another 11 groups of Women Agricultural Association in Chantaburi. The result showed that the member of the group is between 11-22 people with the capital money between Baht 5,001-10,000. Income per month is between Baht 4,001-6,000 and the return on investment ratio is more than 75%. Durian is the most popular raw material used (40.91%) due to its highest return on investment. Snack made by pasteurized process is the most popular practice (54.54%). Mainly a leader and members of each group are responsible to handle and manage the distribution channels which mainly are at the member’s accommodation, local exhibitions and seminars (90.91%). Their customers are both local people and visitors from other provinces. There are 3 major factors determining packaging strategies consist of manufacturers, distribution channel and consumers. Packages as a tool in marketing communications are illustrated as follows. ■ Using colors design and create attractive packages and labels to communicate with consumers in terms of attitude and feelings. ■ Using name/logo of the government agency as their promotional m essage in order to create some trusts from customers. Only 9.90% used brand name as a tool whereas only 13.64% used logo design but use of both name/logo was 45.45%. ■ Identifying details as required by the law and regulatory ; Product name (86.36%), Manufacturer (100%), Date of manufacture (22.73%), Expiring date (9.09%), Ingredients (9.09%), Weight (40.91%), Price (36.36%), and Foreign language (9.09%). ■ Using “Good taste, clean and hygienic product” as the slogan or advertising message was found to be 63.64%. ■ Applying and printing well-known or sight-seeing sites in the domestic area on the package in order to memorizing the brand was found to be 22.73% and designing packages as gifts or souvenirs for receivers showed 27.27%. However, the finding shows that only 9.09% of the total packages have their own brand name and logo. Moreover there are no details of instruction/usage, process, mark of Thai FDA (Or.Yo), barcode and caution occur on any snack packages. These findings indicate that those missing details should have been considered and implemented to develop snack package before entering into the modern trade. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การสื่อสารทางการตลาด en_US
dc.subject การบรรจุหีบห่อ en_US
dc.subject ชื่อตราผลิตภัณฑ์ en_US
dc.subject อาหารว่าง en_US
dc.title กลยุทธ์การใช้บรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือ ในการสื่อสารการตลาดของขนมขบเคี้ยว en_US
dc.title.alternative Snack packaging strategies as a tool in marketing communication en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การโฆษณา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pana.T@chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record